แข่งเชิดสิงโตไม่ได้มีแค่ที่นครสวรรค์

 19 ส.ค. 2559 16:36 น. | อ่าน 4606
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+

      การเชิดสิงโต เป็นประเพณีการเต้นรำอย่างหนึ่ง ในวัฒนธรรมจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ที่ผู้แสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโตในชุดสิงโต การเชิดสิงโตปกติจะแสดงในเทศกาลตรุษจีนและในเทศกาลทางประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาของชาวจีนอื่น ๆ การเชิดสิงโต อาจแสดงในโอกาสสำคัญ เช่น งานเปิดตัวธุรกิจ งานเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ หรืองานสมรส หรืออาจใช้เชิดชูเกียรติแขกพิเศษในชุมชนของชาวจีน การเชิดสิงโตพบได้ทั่วไปในประเทศจีน แต่ที่อื่นในโลก มักพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต เวียดนาม และ อินโดนีเซีย สำหรับการเชิงสิงโต ในประเทศไทยเป็นที่รู้จักของคนไทยมาช้านาน...แม้กระทั่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีชุมชนชาวจีน ก็มีการเชิดสิงโต...ถึงขั้นที่มีการแข่งขันการเชิดสิงโตนานาชาติเลยทีเดียว

เชิดสิงโตนานาชาติ ความหลากหลายของวัฒนธรรม ณ จุดใต้สุดของประเทศ
      การเชิดสิงโต เป็นประเพณีการเต้นรำอย่างหนึ่ง ในวัฒนธรรมจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ที่ผู้แสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโตในชุดสิงโต การเชิดสิงโตปกติจะแสดงในเทศกาลตรุษจีนและในเทศกาลทางประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาของชาวจีนอื่น ๆ การเชิดสิงโต อาจแสดงในโอกาสสำคัญ เช่น งานเปิดตัวธุรกิจ งานเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ หรืองานสมรส หรืออาจใช้เชิดชูเกียรติแขกพิเศษในชุมชนของชาวจีน การเชิดสิงโตพบได้ทั่วไปในประเทศจีน แต่ที่อื่นในโลก มักพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต เวียดนาม และ อินโดนีเซีย สำหรับการเชิงสิงโต ในประเทศไทยเป็นที่รู้จักของคนไทยมาช้านาน...แม้กระทั่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีชุมชนชาวจีน ก็มีการเชิดสิงโต...ถึงขั้นที่มีการแข่งขันการเชิดสิงโตนานาชาติเลยทีเดียว

การเชิดสิงโตกับการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม

      คนไทย ไม่ว่าจะอยู่อาศัยในภาคไหน เหนือ ใต้ ออก ตก ต้องรู้จัก และคุ้นเคยกับเทศกาลตรุษจีน  ซึ่งเป็นเทศกาลที่อยู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว...สัญลักษณ์ของวันตรุษจีน หลายๆ คน คงนึกถึงสีแดง เสียงประทัด ซองอั๋งเปา ฯลฯ และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย ในเทศกาลตรุษจีน ก็คือ “ขบวนแห่เชิดสิงโต” อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่มิใช่เทศกาลตรุษจีน ก็จะมีโอกาสได้เห็นการเชิดสิงโต ในงานมงคลต่างๆ ของชาวไทยเชื้อสายจีน ไม่ว่าจะเป็นงานขึ้นบ้านใหม่ งานเปิดกิจการ และอื่นๆ เป็นต้น
      เมื่อเวลาผ่านไป การเชิดสิงโต ในแต่ละที่จะมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมขึ้น ยกตัวอย่างเช่น มาเลเซียไม่ยึดถือท่าเท้าแบบดั้งเดิม แต่ต้องเชิดให้มีลีลาเหมือนกับหมาพันธุ์พุดเดิ้ล หรือไม่ก็เหมือนแมว หรือทำเป็นมาตรฐานการแข่งขันกีฬาขึ้นมา มีการเชิดบนเสาดอกเหมย (เสาต่างระดับที่มีฐานกลมเล็กๆ อยู่ตรงปลาย เพื่อให้ผู้เชิดปีนป่ายได้) เป็นต้น
      ในการแสดงชุดหนึ่งๆ ในการเชิดสิงโตนั้น อย่างต่ำก็จะมีคนตีกลอง 1 คน คนตีฉาบ 2 คน ตีถาดเหล็กคนนึง คนเชิดสิงโตก็ใช้ 2 คน ที่หัวกับหางรวมแล้วก็ 6 คน ซึ่งคณะเล็กๆ คณะหนึ่ง ก็จะมีคนอยู่ในนั้นประมาณ 15 คนขึ้นไป    
      การเชิดสิงโตเป็นตัวแทนที่สื่อถึงความเป็นมงคล ดังนั้นคนที่อยู่ในรุ่นเก่า หรือกลางเก่ากลางใหม่ ก็มักจะนิยมชมชอบการแสดงเชิดสิงโตอยู่ไม่เสื่อมคลาย   

แข่งสิงโตนานาชาติ ณ จังหวัดใต้สุดของประเทศ

      ในประเทศไทย การเชิดสิงโต ได้ถูกพัฒนาเป็นกีฬา การแข่งขัน โดยจัดให้มีขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส ในลักษณะการแข่งขันนานาชาติ สำหรับการแข่งขันที่ผ่านมาล่าสุด ถือว่าเป็นการแข่งขันนานาชาติครั้งที่ 5  ซึ่งจัดขึ้นในงานสมโภชองค์เจ้าแม่โต๊ะโมะ ปีที่ 64 บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ประชาชนทั้งในและต่างพื้น ที่ร่วมชมกิจกรรม มีทีมสิงโต 14 ทีม จาก 5 ประเทศเข้าร่วมแข่งขัน ประกอบด้วย ประเทศไทย จีน มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย การจัดงานได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมุ่งให้การแข่งขันเชิดสิงโตนานาชาติ เป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันไปสู่การแข่งขันในระดับอาเซียนในอนาคต ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทย และประเทศในประชาคมอาเซียน รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ อ.สุไหงโก-ลก และ จ.นราธิวาส ให้รู้จักอย่างแพร่หลาย
      การเชิดสิงโต มีจุดกำเนิดจากประเทศจีน ต่อจากนั้นแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันออก และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีการปรับแต่ง หรือปรับปรุงตามแนวคิดหรือวัฒนธรรมพื้นฐานของแต่ละประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังดำรงความเป็นการเชิดสิงโต ...ซึ่งเป็นจุดร่วมในการดึงผู้คนในหลายๆ พื้นที่ หลายๆ ภูมิภาค มารวมตัวกันเพื่อแข่งขัน โดยมีการเชิดสิงโตเป็นจุดศูนย์กลาง...และเป็นจุดเชื่อมของคนจากหลากหลายภูมิภาค ในทำนองเดียวกัน หากเราทำความเข้าใจว่า ภายใต้วัฒนธรรมที่แตกต่างนั้น เราก็สามารถเห็นถึงจุดร่วมระหว่างวัฒนธรรมได้...ก็เป็นการไม่ยากนัก ที่จะดึงคนจากหลากหลายกลุ่ม หลากหลายพื้นที่ให้เข้ามาสมานฉันท์กันได้ เฉกเช่น การเชิดสิงโต ณ จังหวัดใต้สุดของประเทศไทย
แหล่งที่มาข้อมูล :
1. https://th.wikipedia.org/wiki/การเชิดสิงโต
2. หนังสือพิมพ์ข่าวสด
3. http://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?NewsID=9550000008862
4. http://contentcenter.prd.go.th/contentviewfullpage.aspx?folder=926&subfolder=&contents=61531

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.