
๑. บทสรุปผู้บริหาร
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ทั้งข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในช่วงต้นสัปดาห์ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวันมีความถี่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว
ข่าวเชิงลบ ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ค่อนข้างมาก ยังคงเป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (โจรใต้ลอบบึ้ม ๘ จุดดึกยันเช้าปัตตานีป่วน และรัวยิงนักข่าว - เพื่อนดับกลางสวนยางยะลา เป็นต้น)
สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นยาเสพติด (ไทย-มาเลย์ ทลายข่ายยายึดไอซ์ ๖๐๐ ล้าน), ประเด็นการศึกษา (ม.๔๔ ปฏิรูปการศึกษา), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (ตำรวจขอศาลออกหมายจับ ๒๖ คนร้ายบุก ร.พ.เจาะไอร้อง), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (ผบ.ทบ.ลงใต้), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และ ความสมานฉันท์ (เสริมพลังเยาวชนปลุกสำนึกพลเมือง) และประเด็นการเยียวยา (ฝังศพสิบตำรวจตรี สภ.จะแนะ ที่ถูกซุ่มโจมตีดับ)
ประเด็นข่าวเกี่ยวกับ จชต. ที่สื่อมวลชนอาเซียนรายงาน ได้แก่ การสร้างสถานการณ์ใช้ระเบิดขนาดเล็กก่อเหตุ ๘ จุด ช่วงเวลากลางคืนวันที่ ๓๐ และช่วงเช้าวันพฤหัสบดีทึ่ ๓๑ มีนาคม ในพื้นที่เขตเทศบาลอยะหริ่ง จ.ปัตตานี เป็นประเด็นเกึ่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการรายงานในสื่อภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นจำนวนชิ้นมากที่สุด ทั้งสื่อมาเลเซีย สิงคโปร์ และสำนักข่าวระดับโลก คือ Reuters ตามมาด้วยประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการป้องกันชายแดนมาเลเซีย-ไทย เพื่อป้องกันการลักลอบขนสินค้าผิดกฏหมายและการเข้าเมืองผิดกฏหมาย รวมทั้งความร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระหว่างตำรวจไทยและมาเลเซีย ซึ่งในรอบสองสัปดาห์ มีการจับกุมชาวมาเลเซีย ขณะขนส่งยาเสพติดทางรถไฟและรถยนต์มุ่งหน้าประเทศมาเลเซีย ได้รวม ๒๓ คน ได้ของกลางยาเสพติดมูลค่าร่วมหมื่นล้านบาทตามมูลค่าตลาดในยุโรป
๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.
๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ทั้งข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๙ – ๒๕ มี.ค.๕๙)
๒.๒ ระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI) ที่เกิดขึ้นจากแนวโน้มความถี่ข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
เนื่องจากในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ทั้งข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา (๑๙ – ๒๕ มี.ค.๕๙) อย่างไรก็ตามในช่วงต้นสัปดาห์ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีความถี่ค่อนข้างสูง ส่งให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวกเฉลี่ย (Average Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้มี (+๑.๗๓) ลดลงจากเดิม ซึ่งมีค่าเท่ากับ (+๒.๓๑) ในสัปดาห์ที่แล้ว
การลดลงของระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว
๒.๓ เปรียบเทียบการรับรู้ของข่าวในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – เม.ย.๕๙
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงลบ ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ค่อนข้างมาก ยังคงเป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (โจรใต้ลอบบึ้ม ๘ จุดดึกยันเช้าปัตตานีป่วน และรัวยิงนักข่าว - เพื่อนดับกลางสวนยางยะลา เป็นต้น)
สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นยาเสพติด (ไทย-มาเลย์ ทลายข่ายยายึดไอซ์ ๖๐๐ ล้าน), ประเด็นการศึกษา (ม.๔๔ ปฏิรูปการศึกษา), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (ตำรวจขอศาลออกหมายจับ ๒๖ คนร้ายบุก ร.พ.เจาะไอร้อง), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (ผบ.ทบ.ลงใต้), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และ ความสมานฉันท์ (เสริมพลังเยาวชนปลุกสำนึกพลเมือง) และประเด็นการเยียวยา (ฝังศพสิบตำรวจตรี สภ.จะแนะ ที่ถูกซุ่มโจมตีดับ)
๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙
๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ไม่มีข่าวเชิงลบในประเด็นนี้ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๙ – ๒๕ มี.ค.๕๙) ภาพข่าวที่ปรากฏส่วนใหญ่ จะเป็นการแถลงข่าวของ รมว.กห. เพื่อชี้แจงว่า เหตุร้ายรายวันในพื้นที่ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ไม่มีผลต่อความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ โดยในภาพรวมความถี่ในประเด็นนี้ มีความถี่ค่อนข้างต่ำ
๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๙ – ๒๕ มี.ค.๕๙) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ โจรใต้ลอบบึ้ม ๘ จุดดึกยันเช้าปัตตานีป่วน และรัวยิงนักข่าว - เพื่อนดับกลางสวนยางยะลา เป็นต้น
๓.๓ ประเด็นการเมือง
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างคงที่ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๙ – ๒๕ มี.ค.๕๙) อย่างไรก็ตามภาพข่าวทั้งเชิงบวกและลบ ในประเด็นนี้ มีความถี่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ บิ๊กป๊อกแจงเบื้องหลังเด้ง ๔ ผู้ว่าฯ เป็นต้น สำหรับภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ การวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา จชต. ของรัฐบาลปัจจุบัน เป็นต้น
๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างคงที่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๙ – ๒๕ มี.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ตำรวจขอศาลออกหมายจับ ๒๖ คนร้ายบุก ร.พ.เจาะไอร้อง เป็นต้น ในสัปดาห์นี้ไม่มีข่าวเชิงลบในประเด็นนี้
๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ทั้งข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มการลดลงมากกว่าข่าวเชิงลบ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๙ – ๒๕ มี.ค.๕๙) อย่างไรก็ตามข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ มีความถี่ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ อบจ.ยะลาหนุนจัดงาน “ยะล้ายะลาแฟร์” หอค้าช่วยผลักดันเศรษฐกิจก้าวหน้า เป็นต้น สำหรับภาพข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ ได้แก่ การคุ้มครองพันธุ์พืช – GMO เป็นต้น
๓.๖ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๗ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙
๓.๑๐.๑ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera (www.aljazeera.com)
๓.๑๐.๒ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org)
๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/apps/news/search.asp)
๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/ ) อย่างไรก็ตามมีข่าวที่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์เชิงบวกกับหน่วยงานด้านความมั่นคงไม่มากก็น้อย กล่าวคือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ให้การสนับสนุนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ส่งนักเรียนนายร้อยร่วมการแข่งขันความรู้กฎหมาย ว่าด้วยการขัดกันด้วยอาวุธครั้งที่ 15
ที่มา: http://www.icrc.or.th/gallery/821
๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand)
๓.๑๑. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๒๖ มี.ค. – ๑ เม.ย.๕๙
การสร้างสถานการณ์ใช้ระเบิดขนาดเล็กก่อเหตุ ๘ จุด ช่วงเวลากลางคืนวันที่ ๓๐ และช่วงเช้าวันพฤหัสบดีทึ่ ๓๑ มีนาคม ในพื้นที่เขตเทศบาลอยะหริ่ง จ.ปัตตานี เป็นประเด็นเกึ่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการรายงานในสื่อภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นจำนวนชิ้นมากที่สุด ทั้งสื่อมาเลเซีย สิงคโปร์ และสำนักข่าวระดับโลก คือ Reuters ตามมาด้วยประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการป้องกันชายแดนมาเลเซีย-ไทย เพื่อป้องกันการลักลอบขนสินค้าผิดกฏหมายและการเข้าเมืองผิดกฏหมาย รวมทั้งความร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระหว่างตำรวจไทยและมาเลเซีย ซึ่งในรอบสองสัปดาห์ มีการจับกุมชาวมาเลเซีย ขณะขนส่งยาเสพติดทางรถไฟและรถยนต์มุ่งหน้าประเทศมาเลเซีย ได้รวม ๒๓ คน ได้ของกลางยาเสพติดมูลค่าร่วมหมื่นล้านบาทตามมูลค่าตลาดในยุโรป
๓.๑๑.๑ เหตุการณ์ผู้ก่อเหตุรุนแรง ลอบวางระเบิดขนาดเล็กในพื้นที่เทศบาล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี รวม ๘ จุด ในช่วงกลางคืนวันที่ ๓๐ ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๒ คน และเสียชีวิต ๒ คน
สื่อที่รายงานข่าวเหตุการณ์นี้ ประกอบด้วยสื่อมาเลเซีย คือ The Star, Bernama , Straits Times สื่อสิงคโปร์, Reuters และ benarnews.org สื่อที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ
รายงานทุกชิ้น อ้างคำให้สัมภาษณ์ของพันเอกยุทธนาม เพชรม่วง รองโฆษกกอ.รมน. ภาค ๔ สน. วิเคราะห์พฤติการณ์และแรงจูงใจของ ผกร.ว่า ใช้ระเบิดขนาดเล็กที่เรียกว่า ไปป์บอมส์ และกระทำอย่างเร่งรีบ แรงจูงใจของการก่อเหตุ จึงน่าจะมีเป้าประสงค์ ต้องการแสดงให้สาธารณะได้รับรู้ว่า พวกเขา (ผกร.) ยังมีตัวตนในพื้นที่
(Col. Yuthanam Petmuang, a deputy spokesman for the regional headquarters of the Internal Security Operations Command (ISOC 4), said insurgents had carried out the attacks using pipe-bombs.
“The bombs used were small ones – not powerful – and they were planted in a hurry. The attacks were just done by insurgents who wanted to have public recognition that they still exist,” Yuthanam told reporters./ benarnews.org)
ที่มา ; http://www.benarnews.org/thai/news/TH-violence-03312016144003.html
http://www.benarnews.org/english/news/thai/rebel-attacks-03312016153449.html
http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1230477
http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/one-dead-dozens-wounded-in-wave-of-bombs-in-south-thailand
http://www.thestar.com.my/news/regional/2016/03/31/one-dead-thailand-bomb-blast/
๓.๑๑.๒ สำนักข่าวเบนาร์นิวส์ รายงานเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ว่า เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเหตุป่วนใต้วันครบรอบการสถาปนาบีอาร์เอ็น 22 ราย โดยมีรายละเอียดดังนี้ เมื่อวันศุกร์ (1 เม.ย. 2559) นี้ ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภาค 4 ส่วนหน้า เจ้าหน้าที่ได้แถลงความคืบหน้าการหาตัวสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่ก่อเหตุรุนแรงในวันครบรอบ 56 ปี ของขบวนการบีอาร์เอ็น เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา มาดำเนินคดีว่า ขณะนี้ได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยไว้เพื่อการสอบสวน 22 ราย ออกหมายจับแล้ว 2 ราย และกำลังจะออกหมายจับอีก 26 หมาย
ทั้งนี้ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้ก่อเหตุยิงและวางระเบิดในพื้นที่หลายแห่งของจังหวัดยะลา และนราธิวาส โดยมีเหตุการณ์สำคัญๆ สามเหตุการณ์ คือ การบุกเข้าไปใช้โรงพยาบาลเจาะไอร้อง เพื่อใช้เป็นฐานยิงโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4816 ที่อยู่ติดกัน การลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่บริเวณสะพานบ้านยานิง ใกล้โรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เพื่อสกัดกั้นการที่เจ้าหน้าที่จะเข้าช่วยเหลือเหตุการณ์ยึดโรงพยาบาล และการโจมตีชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยสถานีรถไฟ หน่วยปฏิบัติการพิเศษนราธิวาส 31 ซึ่งตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟเจาะไอร้อง
ที่มา ; http://www.benarnews.org/thai/news/TH-violence-04012016123551.html
๓.๑๑.๓ สำนักข่าวเบอนามา ของทางการมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม อ้างคำให้สัมภาษณ์ของดาโต๊ะนูร์ จ๊าสลัน โมฮัมเหม็ด รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยมาเลเซีย บอกว่า ทางการมาเลเซียกำลังติดตั้งเสาไฟฟ้าตลอดแนวชายแดนมาเลเซีย-ไทย ตั้งแต่ปาดังเบซาร์ถึงบูกิตกายูฮิตัมในรัฐเคดาห์ เพื่อเตรียมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ซึ่งเป็นหนึ่งมาตรการป้องกันแนวชายแดนไม่ให้มีการลักลอบขนสินค้าผิดกฏหมายและการลักลอบเข้าเมือง นอกจากนี้รัฐบาลมาเลเซียยังมีแผนปรับปรุงรั้วกั้นพรมแดนซี่งบางส่วนจะถูกปรับปรุงเป็นกำแพง ในปี ๒๕๕๘ ตลอดแนวพรมแดนรัฐเคดาห์ กลันตัน และเปรัค มีการสถิติการจับกุมสินค้าหนึภาษีคิดเป็นมูลค่ารวม ๔๒.๗ ล้านริงกิต และจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองได้ ๘๘๘ คน ขณะที่สองเดือนแรกของปีนี้ จับกุมสินค้าหนีภาษีได้จำนวน ๓.๓ ล้านริงกิต และจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองได้ ๑๖๙ คน
๓.๑๑.๔ สื่อมาเลเซีย คือ The Star และ Bernama รายงานข่าวการจับกุมชาวมาเลเซีย ๒ คน ขณะขับรถยนต์ป้ายทะเบียนไทย ๒ คัน ซุกซ่อนยาบ้าน้ำหนักรวม ๒๘๒ กิโลกรัมได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จ.สงขลา
สื่อมาเลเซีย อ้างเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยระบุว่า ชาวมาเลเซียทั้งสองคนน่าจะใช้มาเลเซีย เป็นจุดพักยาเสพติดเพื่อรอลักลอบส่งออกไปยังจุดหมายประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งยาเสพติดที่ถูกจับกุมได้จะมีมูลค่าสูงถึง ๖๐๐ ล้านริงกิต พร้อมกันนั้นตำรวจไทยยังระบุด้วยว่า ยาเสพติดที่จับกุมได้ ที่ด่านสะเดาน่าจะผลิตจากโรงงานในประเทศเพื่อนบ้านติดกับไทย และยาบ้าที่ตำรวจไทยจับกุมได้จากชาวมาเลเซีย ๒๑ คน ขณะลำเลียงโดยเส้นทางรถไฟและรถยนต์เข้ามาเลเซีย คิดเป็นมูลค่ารวม ๔๐๐ ล้านริงกิตก็คาดว่า ผลิตที่แหล่งเดียวกัน
ทั้งนี้ ในการแถลงข่าวการจับกุมที่กรุงเทพฯ ดาโต๊ะม็อกตา โมฮัมเหม็ด ชารีฟ ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลมาเลเซีย ได้เดินทางมาร่วมแถลงข่าวด้วย ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมาเลเซียว่า ตำรวจมาเลเซียและไทยได้ประสานงานแลกเปลี่ยนข่าวสารกันจนสามารถจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายใหญ่ได้ ๒๓ คนภายในสองสัปดาห์ พร้อมทั้งระบุว่าขณะนี้ตำรวจทั้งสองประเทศมีข้อมูลผู้ที่อยู่เบื้องหลังขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติรายใหญ่แล้ว มีทั้งคนไทยและมาเลเซีย
ที่มา; http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/03/31/thai-police-ice-move-by-two-malaysians-to-smuggle-282kg-of-drugs/
http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1230335
Comment