สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๑๘ - ๒๔ มี.ค ๖๐

 27 มี.ค. 2560 14:06 น. | อ่าน 2357
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวกมีความถี่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบมีความถี่ลดลง ร้อยละ ๒๒ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว 
      ประเด็นข่าวเชิงลบ สรุปได้ดังนี้ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) โจรใต้ประกบยิงอดีต รองสวป. ดับสยองขณะไปละหมาด, ๒) ประกบยิง รปภ.ธนาคารยะรัง บาดเจ็บสาหัส, ๓) ซุ่มยิง ผช.ผู้ใหญ่บ้าน ที่ยะลาสาหัส แข็งใจขี่ จยย. ขอความช่วยเหลือ, และ ๔) ป่วน! ติดระเบิดบึมเสาไฟฟ้ายะลาหัก ๑ ต้น คาดสร้างสถานการณ์)
      ในส่วนของประเด็นเชิงบวก สรุปได้ดังนี้ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน ได้แก่ ๑) บุกจับแกนนำอาร์เคเคคาบ้าน, ๒) ชีวิตมีแต่หนี-ลูกไม่ได้เรียน ผู้เห็นต่างรายที่ ๕ โทรมอบตัว แม่ทัพภาค ๔, และ ๓) จับสิบล้อลอบขน ๒๗ โรฮีนจา), ประเด็นการเมือง ได้แก่ ๑) บิ๊กตู่ เตรียมยก ครม.ศก. ลุย พื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, ๒) คสช.ลุยใต้ จัดเวทีพลังงาน ยันไม่ใช่บทสรุปสร้างโรงไฟฟ้า และ ๓) ครม. เห็นชอบช่วย ๑๒ จว.ใต้ ลดหย่อนส่งเงินสมทบ, ประเด็นกีฬา (แผนพัฒนานักกีฬาเยาวชนแดนใต้เน้นเด็กท้องถิ่น-มุ่งสร้างเอกลักษณ์), ประเด็นยาเสพติด (มทภ.๔ ปล่อยแถวกำลัง ๓ ฝ่าย ออกกวาดล้างยาเสพติด), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิด อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา บรมราชินีนาถ ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภักดี อ.บันนังสตา จ.ยะลา), ประเด็นการศึกษา (ศธ .เตรียมจัดชุมนุมลูกเสือชายแดนใต้ครั้งที่ ๑๒), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (สปส.จ่อคืนเงินสมทบชาวใต้ ๑๒ จว.), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (เสียงหลังอุทกภัย ๔๐ ปีมติชน – ๔๐ ร.ร.ใต้ รับหนังสือ ฟื้นการอ่าน), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (เปิดโมเดลการเคหะฯ ดึงเอกชนสร้างเมืองราชการ), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (เหนือ;สิทธิเสมอภาคดอกไม้ร้อยดอกบาน วันสตรีสากล)
      จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย

ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ สรุปได้ดังนี้
      สัปดาห์นี้ไม่พบรายงานข่าวหรือบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และพบว่า มีเฉพาะสื่อมาเลเซีย ที่รายงานข่าวเกี่ยวกับ จชต. โดยมีประเด็นข่าว ดังต่อไปนี้
      - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงชายแดนมาเลเซีย-ไทย กำลังจัดทำแผนการปรับปรุงแนวรั้วบริเวณพรมแดนทั้งสองประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เมื่อปี ๒๕๕๘ ทั้งนี้แผนการดังกล่าว จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชายแดนมาเลเซีย-ไทย ต่อไป
      -ตำรวจไทยจับกุมนักค้ายาเสพติดชาวมาเลเซียได้พร้อมเฮโรอีน น้ำหนัก ๖๕ กิโลกรัม ได้ที่ อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ขณะขับรถยนต์ขนยาเสพติดมุ่งหน้า อ.หาดใหญ่ โดยมีจุดหมายปลายทาง ที่เกาะปีนัง มาเลเซีย
      - รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมหาดไทยมาเลเซีย เปิดเผยว่า ตำรวจมาเลเซียกว่า ๑๐ คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ที่ถูกควบคุมตัวภายหลังมีการค้นพบค่ายพักพิงชาวโรฮีนจา พร้อมหลุมฝังศพกว่า ๑๐๐ ศพ ที่ชายแดนปาดังเบซาร์ตรงข้าม อ.สะเดา เมื่อปี ๒๕๕๘ ได้รับการปล่อยตัวแล้ว เนื่องจากไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงพอ ที่จะดำเนินคดี
      ทางด้าน benarnews.org สื่อที่ได้รับเงินทุนดำเนินงานจากหน่วยงานรัฐบาลอเมริกัน อ้างแหล่งข่าวหน่วยงานความมั่นคงของไทยระบุว่า สภาองค์กรนำ (DPP) ของขบวนการบีอาร์เอ็น มีมติแต่งตั้งให้ นายดูนเลาะห์ แวมะนอ อดีตครูใหญ่ปอเนาะญิฮาด เป็นประธานสภาองค์กรนำคนใหม่แทนนายสะแปอิง บาซอ ซึ่งเสียชีวิต เมื่อกลางเดือนมกราคม ๒๕๖๐

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.1795ln(x) + 13.163) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.438ln(x) + 3.5746) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๒๒ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
            เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

 ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2017-03-11

17

7

 2.43

2017-03-12

23

1

 23.00

2017-03-13

8

0

 8.00

2017-03-14

8

2

 4.00

2017-03-15

8

2

 4.00

2017-03-16

17

5

 3.40

2017-03-17

14

5

 2.80

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

 6.80

2017-03-18

17

3

 5.67

2017-03-19

7

2

 3.50

2017-03-20

6

0

 6.00

2017-03-21

24

1

 24.00

2017-03-22

25

1

 25.00

2017-03-23

26

7

 3.71

2017-03-24

14

3

 4.67

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

10.36

หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

      ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข จากที่มีข่าวเชิงบวกจำนวน ๑ ข่าว ในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) ไม่มีข่าวเชิงลบในประเด็นพูดคุยเพื่อสันติสุข ในสัปดาห์นี้


      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.5625ln(x) - 0.3692) กล่าวคือ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) มีข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน จำนวน ๒ ข่าว แต่ในสัปดาห์นี้ มีจำนวน ๗ ข่าว ภาพข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) โจรใต้ประกบยิงอดีต รองสวป. ดับสยองขณะไปละหมาด, ๒) ประกบยิง รปภ.ธนาคารยะรัง บาดเจ็บสาหัส, ๓) ซุ่มยิง ผช.ผู้ใหญ่บ้านที่ยะลาสาหัส แข็งใจขี่ จยย. ขอความช่วยเหลือ, และ ๔) ป่วน! ติดระเบิดบึมเสาไฟฟ้ายะลาหัก ๑ ต้น คาดสร้างสถานการณ์

      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.3108ln(x) - 0.7873) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.371ln(x) + 1.1668) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๘๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมือง ได้แก่ ๑) บิ๊กตู่ เตรียมยก ครม.ศก. ลุย พื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, ๒) คสช.ลุยใต้ จัดเวทีพลังงาน ยันไม่ใช่บทสรุปสร้างโรงไฟฟ้า และ ๓) ครม. เห็นชอบช่วย ๑๒ จว.ใต้ ลดหย่อนส่งเงินสมทบ เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ความน่ากังวลในสถานการณ์คัดค้านการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.2123ln(x) - 0.4671) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.527ln(x) + 1.2342) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๖๗ ภาพข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ฯ ได้แก่ ๑) บุกจับแกนนำอาร์เคเคคาบ้าน, ๒) ชีวิตมีแต่หนี-ลูกไม่ได้เรียน ผู้เห็นต่างรายที่ ๕ โทรมอบตัว แม่ทัพภาค ๔, และ ๓) จับสิบล้อลอบขน ๒๗ โรฮีนจา เป็นต้น สำหรับภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ๕ ผู้ต้องหา แหกห้องขังโรงพักยะลา ไร้ร่องรอย เป็นต้น

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.708ln(x) + 3.7734) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๖ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.018ln(x) + 0.3896) อย่างไรก็ตามในมิติของจำนวนข่าว ในสัปดาห์นี้มีจำนวนข่าวเชิงลบเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑)​ พณ. เร่งผลักดันสินค้าจีไอ ครบ ๗๗ จังหวัดภายในปี ๖๐ เพิ่มรายได้ชุมชน, ๒) มาเลย์กว้านซื้อลูกปลากะพงเตือนเกษตรกรไทยเร่งปรับตัว และ ๓)​ แก้ปัญหา นาร้าง ภาคใต้ตอนล่าง เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ซื้อก๊าซมาเลย์ขึ้นโรงไฟฟ้าใหม่จะนะ รัฐดิ้นแก้ปมถ่านหินกระบี่เลื่อนยาว เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
      ๓.๗ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
            ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล ที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
            ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ สรุปได้ดังนี้
      ประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) โจรใต้ประกบยิงอดีต รอง สวป. ดับสยองขณะไปละหมาด, ๒) ประกบยิง รปภ.ธนาคารยะรัง บาดเจ็บสาหัส, ๓) ซุ่มยิง ผช.ผู้ใหญ่บ้านที่ยะลาสาหัส แข็งใจขี่ จยย. ขอความช่วยเหลือ, และ ๔) ป่วน! ติดระเบิดบึมเสาไฟฟ้ายะลาหัก ๑ ต้น คาดสร้างสถานการณ์
ในส่วนของประเด็นเชิงบวก สรุปได้ดังนี้

  1. ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน ได้แก่ ๑) บุกจับแกนนำอาร์เคเคคาบ้าน, ๒) ชีวิตมีแต่หนี-ลูกไม่ได้เรียน ผู้เห็นต่างรายที่ ๕ โทรมอบตัว แม่ทัพภาค ๔, และ ๓) จับสิบล้อลอบขน ๒๗ โรฮีนจา
  2. ประเด็นการเมือง ได้แก่ ๑) บิ๊กตู่ เตรียมยก ครม.ศก. ลุย พื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, ๒) คสช.ลุยใต้ จัดเวทีพลังงาน ยันไม่ใช่บทสรุปสร้างโรงไฟฟ้า และ ๓) ครม. เห็นชอบช่วย ๑๒ จว.ใต้ ลดหย่อนส่งเงินสมทบ
  3. ประเด็นกีฬา ได้แก่ แผนพัฒนานักกีฬาเยาวชนแดนใต้เน้นเด็กท้องถิ่น-มุ่งสร้างเอกลักษณ์
  4. ประเด็นยาเสพติด ได้แก่ มทภ.๔ ปล่อยแถวกำลัง ๓ ฝ่าย ออกกวาดล้างยาเสพติด
  5. ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ ได้แก่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิด อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา บรมราชินีนาถ ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภักดี อ.บันนังสตา จ.ยะลา
  6. ประเด็นการศึกษา ได้แก่ ศธ .เตรียมจัดชุมนุมลูกเสือชายแดนใต้ ครั้งที่ ๑๒
  7. ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ สปส.จ่อคืนเงินสมทบชาวใต้ ๑๒ จว.
  8. ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน ได้แก่ เสียงหลังอุทกภัย ๔๐ ปีมติชน – ๔๐ ร.ร.ใต้ รับหนังสือ ฟื้นการอ่าน
  9. ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล ได้แก่ เปิดโมเดลการเคหะฯ ดึงเอกชนสร้างเมืองราชการ
  10. ประเด็นสิทธิมนุษยชน ได้แก่ เหนือ;สิทธิเสมอภาคดอกไม้ร้อยดอกบาน วันสตรีสากล

    ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

          จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วน และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว โดยในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐ พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  (y = 0.1752ln(x) + 1.9411) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๑ – ๑๗ มี.ค.๖๐) จากระดับผลกระทบดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย

    ๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๔ มี.ค.๖๐
          สัปดาห์นี้ไม่พบรายงานข่าวหรือบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และพบว่า มีเฉพาะสื่อมาเลเซีย ที่รายงานข่าวเกี่ยวกับ จชต. โดยมีประเด็นข่าว ดังต่อไปนี้
          -รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงชายแดนมาเลเซีย-ไทย กำลังจัดทำแผนการปรับปรุงแนวรั้วบริเวณพรมแดนทั้งสองประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อปี ๒๕๕๘ ทั้งนี้แผนการดังกล่าวจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชายแดนมาเลเซีย-ไทย ต่อไป
          -รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงชายแดนมาเลเซีย-ไทย กำลังจัดทำแผนการปรับปรุงแนวรั้วบริเวณพรมแดนทั้งสองประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อปี ๒๕๕๘ ทั้งนี้แผนการดังกล่าวจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชายแดนมาเลเซีย-ไทย ต่อไป
          -รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมหาดไทยมาเลเซีย เปิดเผยว่า ตำรวจมาเลเซียกว่า ๑๐ คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ที่ถูกควบคุมตัวภายหลังมีการค้นพบค่ายพักพิงชาวโรฮีนจา พร้อมหลุมฝังศพกว่า ๑๐๐ ศพ ที่ชายแดนปาดังเบซาร์ตรงข้าม อ.สะเดา เมื่อปี ๒๕๕๘ ได้รับการปล่อยตัวแล้ว เนื่องจากไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงพอ ที่จะดำเนินคดี
          ทางด้าน benarnews.org สื่อที่ได้รับเงินทุนดำเนินงานจากหน่วยงานรัฐบาลอเมริกัน อ้างแหล่งข่าวหน่วยงานความมั่นคงของไทยระบุว่า สภาองค์กรนำ (DPP) ของขบวนการบีอาร์เอ็น มีมติแต่งตั้งให้นายดูนเลาะห์ แวมะนอ อดีตครูใหญ่ปอเนาะญิฮาด เป็นประธานสภาองค์กรนำคนใหม่แทนนายสะแปอิง บาซอ ซึ่งเสียชีวิต เมื่อกลางเดือนมกราคม ๒๕๖๐

          ๕.๑ benarnews.org รายงานเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ว่า สภาองค์กรนำของขบวนการบีอาร์เอ็น มีมติแต่งตั้งนายดูเลาะห์ แวมะนอ เป็นผู้นำคนใหม่แทนนายสะแปอิง บาซอ ซึ่งเสียชีวิตในวัย ๘๖ ปี ด้วยอาการป่วยจากโรคหวาน เมื่อสองเดือนก่อน
          เบนาร์นิวส์ อ้างแหล่งข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงของไทยระบุว่า การประชุมสภาองค์กรนำ (DPP) จัดที่โรงเรียนปอเนาะ มัดราซะห์ อัลดะวะห์ อิสลามียะห์ ปอเนาะ ศรีปัรมัย บ้านปัรมาตัง ซุงไก ถนนกำปงฮูตัน อำเภอปาเสปูเต๊ะ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ภายหลังการเสียชีวิตของนายสะแปอิง บาซอ หนึ่งสัปดาห์
    ขบวนการบีอาร์เอ็น เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่มีกองกำลังติดอาวุธมากที่สุด ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประมาณ ๖ พันคน
    อย่างไรก็ตามเบนาร์นิวส์ระบุว่า รายงานข่าวชิ้นนี้ ไม่สามารถหาคำยืนยันได้จากกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลไทย

    (Barisan Revolusi Nasional (BRN), the largest of the armed separatist groups in Thailand’s Deep South, appointed a new leader to replace Sapae-ing Baso who died two months ago, Thai security sources said Monday. At a meeting in Kelantan, Malaysia, the BRN’s governing council (DPP) named Doonloh Wae-mano (alias Abdullah Wan Mat Noor), a former principal of a school in the Deep South who is wanted in Thailand on insurgency-related charges, as its new chairman. He takes over from Sapae-ing, the chairman of the council and “spiritual leader” of the rebel group who died at age 86 of complications from diabetes on Jan. 10, sources told BenarNews. Doonloh was promoted a week after Sapae-ing’s death to the chairmanship from the rank of secretary on the six-member council of the highly secretive BRN, which was established in 1960 and whose number of fighters stands today around 6,000, according to Thai military officials.
    The governing council, also known as the Al Shura, appointed Doonloh during a meeting at the Al Dawah Islamiyah Madrassa in Kelantan on Jan. 17, a Thai security official told Benar on condition of anonymity. The information could not be immediately confirmed on the rebel side.)

          "ดูนเลาะ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการของสภาองค์กรนำ DPP ในปี 2559 ดังนั้น เขาจึงเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นผู้นำที่อยู่เบื้องหลังการปฏิบัติการที่ก่อความไม่สงบรุนแรงขององค์กร นับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2559 เขากลายเป็นผู้นำอันดับสองของ BRN ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่เขาจะได้รับการแต่งตั้งเป็นประธาน" ซาคารี อาบูซา ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ และอาจารย์ประจำ National War College กรุงวอชิงตัน กล่าวแก่เบนาร์นิวส์อีกว่า
          “ในช่วงสองปีที่ผ่านมา BRN ได้สูญเสียผู้นำบุคคลสำคัญสองคน คือ นายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ และ นายสะแปอิง บาซอ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม สองแห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และถือเป็นบุคคลสำคัญมีอิทธิพลต่อลูกศิษย์และครูมากมาย"
          ส่วนดูนเลาะนั้น เขาตั้งข้อสังเกตุว่า "เราไม่รู้ว่าฐานผู้สนับสนุนของเขาเป็นอย่างไร" แต่ดูนเลาะ "เป็นคนรุ่นเดียวกัน"
          "ผมยังกังวลว่า การเปลี่ยนแปลงของ BRN ในระดับแกนนำ ผู้นำรุ่นใหม่จะนิยมใช้ความรุนแรงหนักขึ้นกว่าเดิม" อาบูซากล่าว
          ทางด้านแหล่งข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงของไทย ให้ความเห็นว่า นายดูนเลาะห์เป็นผู้นำสายเหยี่ยว ที่ขึ้นมากุมการนำในขบวนการบีอาร์เอ็น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการสร้างสันติสุข ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการร่วมกัน ระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มมาราปาตานี
          แหล่งข่าวด้านความมั่นคง ยังระบุด้วยว่า มาราปาตานีไม่มีอำนาจควบคุม RKK ในพื้นที่ และนายดูนเลาะห์ ผู้นำสายเหยี่ยวก็มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข

    (“Abdullah Wan Mat Noor [Doonloh] was appointed the DPP’s Secretary in 2016, so he is as known a quantity as a shadowy insurgency that delights in the secrecy its inner workings can have. Since September 2016, he has been the BRN’s number two, so it seems normal that he would be appointed chairman,”  Zachary Abuza, an expert on the Thai Deep South and professor at the National War College in Washington, told BenarNews.
    The BRN has lost two of its most prominent leaders in the past two years – Jekumar Kuteh and Sapae-ing Baso – who were headmasters at two of the most prominent Shaafi Islamic boarding schools (madrassas) in the Deep South and whose “influence over students and teachers was very deep,” according to Abuza.
    Of Doonloh, he observed, “we don’t know how broad based his support is,” but Doonloh “is of the same generation.”
    “I am still concerned about a generational change within the BRN that brings a more hardline leadership to the fore,” Abuza added.

    Doonloh is a BRN hardliner whose ascension to the organization’s top spot could threaten peace efforts between Thailand and MARA Patani, according to a source in Thai military intelligence.
    “MARA Patani does not seem to be able to control militants RKK on the ground. Abdullah Wan Mat Noor is hardcore and he would likely not agree with the peaceful solution,” the intelligence official who also requested anonymity told BenarNews.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/english/news/thai/brn-leader-03202017163737.html

    หมายเหตุ ; เป็นที่น่าสังเกตุว่า รายงานข่าวของ benarnews.org ชิ้นนี้ เป็นข่าวเจาะ (exclusive) และมีข้อมูลรายละเอียดมากที่สุด มีการระบุรายละเอียดกระทั่งสถานที่จัดประชุม DPP ในรัฐกลันตัน ขณะที่รายงานข่าวเรื่องเดียวกัน โดยศูนย์ข่าวอิศรา มีลักษณะเป็นข่าวลือ

          ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตุว่า benarnews เป็นสำนักข่าวที่มีรายงานข่าวเกี่ยวกับ จชต. กระบวนการพูดคุยสันติสุข และความเคลื่อนไหวของขบวนการฯ มากที่สุดแห่งหนึ่ง และมีข้อมูลแหล่งข่าวหน่วยงานความมั่นคงของไทยที่น่าเชื่อถือ เช่นก่อนหน้านี้ benarnews เป็นสำนักข่าวแรก ที่ออกมาระบุว่า หนึ่งในคนร้ายที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียจับกุมตัวได้พร้อมอุปกรณ์ประกอบระเบิดหลายรายการ ที่ปาเสมัส รัฐกลันตัน เมื่อปลายเดือนมกราคม คือ นายอุสมาน เจ๊ะอาหมง เป็นแกนนำปฏิบัติการทางทหารของบีอาร์เอ็น ในจังหวัดยะลา
    โดยในรายงานข่าวชิ้นนั้น benarnews ก็อ้างแหล่งข่าวทางทหารของไทย

    (Six men arrested in Northeast Malaysia last month on suspicion of possessing bomb-making materials were involved in a bomb-plot targeting Thailand’s insurgency-wracked Deep South, Thai security officials said Thursday.
    Three of the six who were arrested on Jan. 15 in Pasir Mas in Kelantan state – just across the border from the Deep South – were Thai citizens who included a member of the Barisan Revolusi Nasional (BRN), one of the region’s rebel groups, two Thai security officials told BenarNews on condition of anonymity.
    “The man is Uzman Jeh-umong, 40 years of age. He has a record being the leading militant under the cell of Deng Aweji,” said the official, referring to a BRN commander in Yala.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/english/news/thai/bomb-plot-02022017170825.html?searchterm:utf8:ustring=Thai+arrested+in+Kelantan

          ๕.๒ สำนักข่าว bernama, New Straits Times และ Malaysiakini รายงานเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคมว่า ตำรวจ สภ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ได้เฝ้าติดตามนักค้ายาเสพติด ๓ วัน จนกระทั่งสามารถจับกุมนักค้ายาเสพติดชาวมาเลเซียได้พร้อมเฮโรอีน น้ำหนัก ๖๕ กิโลกรัม ขณะเดินทางด้วยรถยนต์พร้อมคนไทยอีกคนมุ่งหน้า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ก่อนที่จะเดินทาสงต่อไปยัง จ.สตูล เพื่อขนถ่ายยาเสพติดไปยังปลายทางที่เกาะปีนัง มาเลเซีย
    ตำรวจบอกว่า ผู้ต้องหาทั้งสองคน ให้ปากคำว่ารับจ้างขนยาเสพติดมาจากต้นทางที่ จ.อยุธยา
    สำหรับเฮโรอีนของกลางที่จับกุมได้ มีตราสัญญลักษณ์ Double UO Globe ซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดในประเทศลาว
     

    (Following three days of surveillance, Thai police have detained a Malaysian and seized 65kg of heroin bound for Penang.

    The heroin was found inside a car the Malaysian man and his Thai accomplice were travelling in, at the Nakhon Si Thammarat province today.
    When the police intercepted the duo at 7.30am in the Tham Pannara district, they also stumbled on a stash of 300,000 ‘Yaba’ pills hidden inside the vehicle.
    “The suspects intended to ferry the drugs to Hatyai and then to Satun in southern Thailand, before smuggling the drugs to its final destination in Penang,” Tham Pannara police chief, Col Prawit Kheisawai told Bernama in a telephone interview.
    He said the Malaysian man who was from Penang had a Thai wife who lived in the Satun province.
    Prawit said the police received a tip-off on today’s drug smuggling attempt using the southern route and waited at the pre-determined location for three days.
    “After waiting for three days, the police swung into action when the car finally emerged, seizing the heroin which was packed in five bags,” he said, adding that the duo confessed they were paid to transport the drugs from Ayutthaya to Hatyai.
    The duo had picked up the drugs from Ayutthaya in central Thailand, said Prawit.
    He said the seized heroin carried the popular ‘Double UO Globe’ logo, which is associated with notorious drug syndicates in Laos)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1340513
    http://www.malaysiakini.com/news/376677​
    http://www.nst.com.my/news/2017/03/223495/thai-police-arrests-msian-seize-65kg-heroin-bound-penang​

          ๕.๓ สำนักข่าว bernama และ astroawani.com รายงานเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ว่า ดาโต๊ะเสรี ชาห์ฮีดาน กัสซิม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงชายแดนกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำการศึกษาโดยละเอียดเกี่ยวกับแผนการปรับปรุงรั้วและกำแพงกั้นเขตแดนระหว่างมาเลเซียและไทย เพื่อจัดทำรายละเอียดว่า ส่วนไหนควรมีการดำเนินการก่อสร้างใหม่และส่วนไหนควรดำเนินการซ่อมแซม ทั้งโครงการจัดทำรั้วและกำแพงตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศไทย ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ปีที่แล้ว
    ทั้งนี้แผนงานโครงการดังกล่าว จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาร่วมกันของคณะกรรมาการชายแดนมาเลเซีย-ไทย ก่อนที่จะนำไปสู่การพิจารณาอนุมัติในขั้นตอนสุดท้าย

    (A comprehensive study will be conducted on the proposal to construct security fencing along the country's border, said Minister in the Prime Minister's Department, Datuk Seri Shahidan Kassim.
    He said the study would be conducted by the Home Ministry with the cooperation of the relevant government agencies on whether to repair or replace the existing wall fencing along the border.
    "The proposal has been approved by the Cabinet on March 11 last year," he said when winding up the debate on the pledge of loyalty on the speech by the Yang di-Pertuan Agong in Parliament, Thursday.
    On the proposed construction of the 5.35 kilometre single layer border fencing along the Malaysia-Thailand (MALTHAI) border fencing, Shahidan said the matter was still at the discussion stage by the secretariat of both countries. "The proposal will be tabled at the MALTHAI Land Border Committee (LBC) meeting before it is finalised," he said.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1340926
    http://english.astroawani.com/malaysia-news/government-study-proposal-security-fencing-along-border-areas-136577​

          ๕.๔ malaysiakini และ freemalaysiaonline รายงานเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ว่า นายอาหมัด ซาฮิด ฮามิดี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมหาดไทย ได้มีหนังสือตอบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์เกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินคดีขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจา จากกรณีที่มีการพบค่ายกักกัน และหลุมฝังศพชาว โรฮีนจากว่า ๑๐๐ ศพ ที่ปาดังเบซาร์ตรงข้ามกับอำเภอสะเดา จ.สงขลา เมื่อปี ๒๕๕๘ ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปล่อยตัวตำรวจที่เป็นผู้ต้องหาในคดีนี้กว่า ๑๐ คน แล้วเนื่องจาก ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ที่จะดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มนี้
    สำหรับผู้ต้องหาอื่นในคดีนี้ มีชาวต่างชาติอีก ๔ คน เป็นชาวบังกลาเทศ ๑ คน พม่า ๒ คน ถูกตัดสินลงโทษระหว่าง ๓ ถึง ๑๐ ปี ส่วนผู้ต้องหาอีกคนซึ่งเป็นคนไทย กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาคดี

    (Policemen detained over involvement in human trafficking camps and mass graves discovered in Perlis have been released due to lack of “strong evidence”.
    Deputy Prime Minister Ahmad Zahid Hamidi, who is also home minister, in a written reply to Sim Chee Keong (DAP-Bukit Mertajam) in Parliament today, said a dozen cops were released.
    Sim had asked for the status of the investigation into the camps and 139 graves found in the jungles of Wang Kelian in May 2015. Police also rescued about 30 people left behind in the camps.
    “Twelve police personnel, suspected of being involved in the migrant trafficking syndicate, were detained under the Atipsom (Anti-Trafficking In Person and Anti-Smuggling of Migrants) Act and Poca (Prevention of Crime Act). “However, they were released because there was no strong evidence to charge them with the offence,” said Zahid.
    However, he said four foreigners had been arrested and charged with human trafficking. One is a citizen of Bangladesh, two from Myanmar and one from Thailand.
    All had been convicted and sentenced to jail terms of three to 10 years each, except the Thai accused, who was still under trial, he said.)
    ที่มาข้อมูล; http://www.freemalaysiatoday.com/category/nation/2017/03/20/12-cops-held-over-wang-kelian-human-trafficking-case-freed/
    http://www.malaysiakini.com/news/376377

    เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

    ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

    ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

    มากกว่า 2.00

    เพิ่มมาก

    1.10 – 2.00

    เพิ่มค่อนข้างมาก

    0.60 – 1.00

    เพิ่มในระดับหนึ่ง

    0.10 – 0.50

    เพิ่มเล็กน้อย

    0.02 – 0.09

    เพิ่มเพียงเล็กน้อย

    0.00 – 0.01

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.01) – 0.00

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.09) – (-0.02)

    ลดเพียงเล็กน้อย

    (-0.50) – (-0.10)

    ลดเล็กน้อย

    (-1.00) – (-0.60)

    ลดในระดับหนึ่ง

    (-2.00) – (-1.10)

    ลดค่อนข้างมาก

    น้อยกว่า (– 2.00)

    ลดมาก

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.