สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๕ - ๑๑ พ.ย. ๕๙

 15 พ.ย. 2559 00:20 น. | อ่าน 2507
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกมีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๒๔ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๔๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙)
      ในสัปดาห์นี้ ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ว่า เวทีพูดคุยสันติภาพเมื่อ ๒๕ ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางไปพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่าง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เกี่ยวกับพื้นที่ปลอดภัย ไม่ประสบผลสำเร็จหรืออย่างไร ถึงยังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ๑๒ จุด ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้), และประเด็นเหตุร้ายวัน (ผกร. ลอบวางระเบิด โปรยตะปูเรือใบ ลอบยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ รถชาวบ้านเสียหายหลายคัน)
      ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ผู้ว่าราชการจังหวัด นำชาวยะลา รวมพลังแปรอักษร รูปช้างเผือก ที่มีตัวเลข ๙ ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี กึกก้อง เพื่อพ่อหลวง ร.๙), ประเด็นยาเสพติด (จับแก๊งค้ายาข้ามชาติ ยึดยาบ้า ๑ หมื่นเม็ด สารภาพรับซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (พระสหายแห่งสายบุรีต้นธารเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา), ประเด็นการศึกษา (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดเวทีวิชาการและนิทรรศการภาคีเครือข่ายทางการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดยะลา โครงการ "เครือข่ายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านภาษาของเด็กในจังหวัดยะลา") และประเด็นกีฬา (สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลฯ เตรียมขยายฐานการสร้างนักกีฬาวอลเลย์บอลรุ่นใหม่ ไปยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เนื่องจากนักกีฬาในเขตพื้นที่ดังกล่าว สนใจเล่นกีฬากันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งกีฬาวอลเลย์บอล)
      จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙) ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
      ประเด็นที่สื่อในภูมิภาคอาเซียนรายงาน เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประเด็นหลักๆ ๓ เรื่อง คือ การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ ๕๓ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งสาระการหารือครอบคลุมความร่วมมือปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดน ปัญหาบุคคลสองสัญชาติและความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์จากอุทกภัยและภัยพิบัติให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวพรมแดนทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ยังมีความคืบหน้าของกระบวนการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลบริหารชายแดนที่ใช้ชื่อว่า AKSEM ภายใต้กระทรวงกลาโหมมาเลเซีย และความพยายามจัดการแก้ปัญหาการลักลอบนำน้ำมันพืช ที่ได้รับการอุดหนุนราคาจากรัฐบาลมาเลเซีย ออกไปขายในประเทศไทย รวมทั้งแผนการจัดเก็บค่าบริการใช้ถนน (Road Charge) สำหรับรถยนต์ต่างประเทศ ที่ผ่านพรมแดนเข้าประเทศมาเลเซีย ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียประกาศว่า จะจัดเก็บรถยนต์ จากประเทศไทยที่ผ่านเข้าประเทศมาเลเซียคันละ ๒๐ ริงกิต โดยคาดว่าจะเริ่มจัดเก็บปลายปี ๒๕๖๐ แต่รัฐบาลท้องถิ่นรัฐเคดาห์มีความเห็นว่า ควรจะเริ่มจัดเก็บตั้งแต่ต้นปีหรืออย่างช้ากลางปี ๒๕๖๐

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.294ln(x) + 20.03) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๒๔ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.761ln(x) + 3.941) ) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๔๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว  

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
            เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-10-29

14

6

2.33

2016-10-30

15

1

15.00

2016-10-31

31

0

31.00

2016-11-01

20

3

6.67

2016-11-02

24

3

8.00

2016-11-03

27

5

5.40

2016-11-04

24

5

4.80

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

10.46

2016-11-05

11

2

5.50

2016-11-06

13

3

4.33

2016-11-07

22

2

11.00

2016-11-08

24

2

12.00

2016-11-09

14

1

14.00

2016-11-10

15

1

15.00

2016-11-11

19

2

9.50

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

10.19

หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

      ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.462ln(x) + 0.9741) กล่าวคือ ในสัปดาห์นี้ไม่มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข จากที่มีข่าวเชิงบวก ๒ ข่าว ในสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙)  ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุขมีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.0768ln(x) - 0.0668) กล่าวคือ ในสัปดาห์ที่แล้ว ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข แต่ในสัปดาห์นี้ มีข่าวเชิงลบ ๑ ข่าว ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ว่า เวทีพูดคุยสันติภาพเมื่อ ๒๕ ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางไปพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่าง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เกี่ยวกับพื้นที่ปลอดภัย ไม่ประสบผลสำเร็จหรืออย่างไร ถึงยังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ๑๒ จุด ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่  ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.424ln(x) + 1.7633) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๔๔  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙) ภาพข่าว ได้แก่ ผกร. ลอบวางระเบิด โปรยตะปูเรือ ลอบยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ รถชาวบ้านเสียหายหลายคัน เป็นต้น

      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙ ไม่มีทั้งภาพข่าวเชิงบวก และภาพข่าวเชิงลบ ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในพื้นที่ข่าว

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙  ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.748ln(x) + 3.0607) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๘๐  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มลดลง (y = -0.346ln(x) + 0.9088) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๖๐  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ออกหมายจับเพิ่ม “แก๊งบึ้มภูเก็ต” แฉเป็นมือวางระเบิด-อยู่ ๓ จชต. เป็นต้น สำหรับภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ การปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนของ "แนวร่วมรุ่นใหม่" และการปฏิบัติการนอกพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เป็นต้น

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙  ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.3395ln(x) + 2.1034) เนื่องจากจำนวนข่าวเชิงบวกที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ มีจำนวนข่าวค่อนข้างต่ำ ดังนั้นถึงแม้จะมีแนวโน้มเพิ่มขั้นแต่ในมิติของจำนวนข่าวเชิงบวกในสัปดาห์นี้ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๙ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.2162ln(x) - 0.1033) จาก ๑ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙)  เป็น ๓ ข่าวในสัปดาห์นี้ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ.๒๕๖๐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ๒๐ ปี มูลค่าประมาณ ๖ แสนล้านบาท ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว. กรุงเทพฯ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ร้องเรียนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และผู้ว่าฯ สตง. เร่งรัดยึดเงิน ๔๓ ล้าน คดีจับเรือขนน้ำมันของบริษัทเชฟรอน เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน รวมถึงเก็บภาษีสรรพสามิตกับภาษีกองทุนน้ำมันด้วย เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล

            ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
            ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙  ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเวทีพูดคุยสันติภาพเมื่อ ๒๕ ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางไปพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่าง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เกี่ยวกับพื้นที่ปลอดภัย ไม่ประสบผลสำเร็จหรืออย่างไร ถึงยังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ๑๒ จุด ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้), และประเด็นเหตุร้ายวัน (ผกร. ลอบวางระเบิด โปรยตะปูเรือ ลอบยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ รถชาวบ้านเสียหายหลายคัน)

      ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ผู้ว่าราชการจังหวัด นำชาวยะลา รวมพลังแปรอักษรรูปช้างเผือก ที่มีตัวเลข ๙ ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี กึกก้อง เพื่อพ่อหลวง ร.๙), ประเด็นยาเสพติด (จับแก๊งค้ายาข้ามชาติ ยึดยาบ้า ๑ หมื่นเม็ด สารภาพรับซื้อจาก ประเทศเพื่อนบ้าน), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (พระสหายแห่งสายบุรีต้นธารเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา), ประเด็นการศึกษา (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดเวทีวิชาการและนิทรรศการภาคีเครือข่ายทางการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดยะลา โครงการ "เครือข่ายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านภาษาของเด็กในจังหวัดยะลา") และ ประเด็นกีฬา (สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลฯ เตรียมขยายฐานการสร้างนักกีฬาวอลเลย์บอลรุ่นใหม่ไปยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เนื่องจากนักกีฬาในเขตพื้นที่ดังกล่าวสนใจเล่นกีฬากันเป็นจำนวนมากรวมทั้งกีฬาวอลเลย์บอล)

      ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙  พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.1682ln(x) + 2.0288) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗ จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้ว (๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙) เล็กน้อย

๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๕ – ๑๑ พ.ย.๕๙
      
ประเด็นที่สื่อในภูมิภาคอาเซียนรายงาน เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประเด็นหลักๆ ๓ เรื่อง คือ การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ ๕๓ ที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งสาระการหารือครอบคลุมความร่วมมือปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดน ปัญหาบุคคลสองสัญชาติและความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวพรมแดนทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ยังมีความคืบหน้า ของกระบวนการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลบริหารชายแดนที่ใช้ชื่อว่า AKSEM ภายใต้กระทรวงกลาโหมมาเลเซีย และความพยายามจัดการแก้ปัญหาการลักลอบนำน้ำมันพืช ที่ได้รับการอุดหนุนราคาจากรัฐบาลมาเลเซีย ออกไปขายในประเทศไทย รวมทั้งแผนการจัดเก็บค่าบริการใช้ถนน (Road Charge) สำหรับรถยนต์ต่างประเทศที่ผ่านพรมแดนเข้าประเทศมาเลเซีย ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียประกาศว่า จะจัดเก็บรถยนต์จากประเทศไทยที่ผ่านเข้าประเทศมาเลเซียคันละ ๒๐ ริงกิต โดยคาดว่าจะเริ่มจัดเก็บปลายปี ๒๕๖๐ แต่รัฐบาลท้องถิ่นรัฐเคดาห์ มีความเห็นว่าควรจะเริ่มจัดเก็บตั้งแต่ต้นปีหรืออย่างช้ากลางปี ๒๕๖๐
      ๕.๑ สื่อมาเลเซียหลายแห่ง ทั้ง bernama สำนักข่าวทางการมาเลเซีย และสื่อพาณิชย์ทั้ง The Star, New Straits Times และ The Malaymail Online รายงานผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย- มาเลเซีย ครั้งที่ ๕๓ ณ กรุงกัวลัมเปอร์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน โดยสื่อทุกสำนักอ้างคำให้สัมภาษณ์ของดาโต๊ะ สรี ฮิสชัมมูดิน บิน ตุนฮุสเซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมร่วมกับคณะผู้แทนรัฐบาลไทยนำโดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดาโต๊ะ สรี ฮิสชัมมูดิน แถลงว่า กระทรวงกลาโหมจะเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของอาชญากรรมข้ามพรมแดน เพื่อป้องกันไม่ให้เงินจากอาชญากรรมผิดกฏหมายไปเป็นเงินทุนสนับสนุนการก่อการร้าย 

      “อาชญากรรมที่เข้าข่ายอาชญกรรมข้ามพรมแดน ก็อย่างเช่น การค้ายาเสพติ การค้ามนุษย์ บ่อนพนันออนไลน์ และการค้าอาวุธ เป็นต้น ธุรกิจใต้ดินเหล่านี้ มีเงินหมุนเวียนมหาศาล และมีโอกาสที่จะไหลไปสู่กลุ่มการร้าย และพวกสุดโต่งนิยมความรุนแรง” รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย แถลงว่า เขาไม่อาจปล่อยเหตุการณ์ที่ว่าเกิดขึ้น ขณะนี้รัฐบาลมาเลเซีย จึงดำรงยุทธศาสตร์การปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดน พร้อมทั้งกระชับความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย พูดถึงงานปราบปรามอาชญากรรข้ามพรมแดนว่า ขณะนี้ได้ถ่ายโอนความรับผิดชอบจากกระทรวงมหาดไทยมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงกลาโหม

(The Defence Ministry will start monitoring trans-border crimes to prevent the proceeds from the activities from funding terrorism. 
Its minister Datuk Seri Hishammuddin Hussein said trans-border crimes usually fell under the purview of the Home Ministry, but would now also be monitored by his ministry.
“These crimes, like drug and human smuggling, online gambling and arms dealing are lucrative and represent an untapped black economy, which could fall into the hands of terrorists and extremists.
“We cannot allow this to happen,” he told a press conference after co-chairing the 53th Ma­­laysia–Thailand General Border Committee Meeting (GBC) along with Thailand Deputy Prime Minister and Defence Minister H.E General Prawit Wongsuwon, here yesterday. Hishammuddin said the strategy to combat trans-border crime was continuing and the authorities were intensifying cooperation and information-sharing with neighbouring countries.)

ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/11/11/transborder-crimes-will-be-monitored-says-hisham-proceeds-from-black-economy-could-be-funding-terror/
http://www.nst.com.my/news/2016/11/187490/mindef-focused-preventing-black-money-reaching-militants

            ๕.๑.๑ สำนักข่าวเบอนามา รายงานว่า พลตรีคงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ได้แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-มาเลเซียว่า รัฐบาลของทั้งสองประเทศ ได้รับทราบความก้าวหน้าของความร่วมมือด้านต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งกลไกความร่วมมือทางด้านการจัดการภัยพิบัติและอุทกภัย เพื่อให้การจัดการช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งความร่วมมือทางด้านการจัดการภัยพิบัติเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือบริหารจัดการพรมแดน

(Malaysia and Thailand have agreed to expand their border cooperation to include aspects in disaster management.
Thailand's defence ministry spokesman Maj Gen Kongcheep Tantrawich said the matter was agreed to, following the two-day General Border Committee meeting in Kuala Lumpur, which ended yesterday.
"The two countries acknowledged the progress of cooperation including in flood and disaster assistance with the setting up of a cooperation mechanism to better assist people during emergency situations," he said in a statement here.....)
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1301138

      ๕.๒ New Straits Times สื่อภาษาอังกฤษของประเทศมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ว่า ร่างกฏหมายองค์กรบริหารความมั่นคงพรมแดนมาเลเซีย ที่ใช้ชื่อย่อว่า Aksem คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในสัปดาห์หน้า ดาโต๊ะ นูร์ แจ๊สลัน โมฮัมเหม็ด รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย พูดถึงสาระสำคัญของร่างกฏหมายฉบับนี้ว่า มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความมั่นคงตามแนวพรมแดนมาเลเซีย-ไทย หลังจากนั้นจึงจะนำวิธีการจัดการแบบเดียวกันไปปฏิบัติที่พรมแดนทางด้าน ซาราวัค-กาลิมันตัน และซาบาห์-กาลิมันตัน รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย อธิบายเพิ่มเติมว่า Aksem เป็นหน่วยงานที่จะรับผิดชอบการบริหารจัดการความมั่นคงตามแนวชายแดนทั้งประเทศ โดยที่เจ้าหน้าที่ทั้งหมดรายงานตรงต่อหัวหน้าหน่วยสูงสุดเพียงคนเดียว ซึ่งการจัดแบบนี้จะช่วยให้ราบรื่นมากขึ้น

(The Malaysian Border Security Agency (Aksem) Act is likely to be tabled at Parliament next week. Deputy Home Minister Datuk Nur Jazlan Mohamed said the Act will strengthen enforcement of security controls along the Malaysia-Thailand border, and will soon be expanded to the Sarawak-Kalimantan and Sabah Kalimantan borders. "Our aim is for Aksem to take over land border controls nationwide," he said at the Parliament lobby today. Nur Jazlan added that under Aksem, all officers in border control agencies will report to one commander. "Aksem will make border operations much smoother," he said.)
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/11/187445/aksem-act-be-tabled-parliament-next-week

      ๕.๓ ปัญหาการลักลอบนำน้ำมันพืชที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมาเลเซียไปยังประเทศไทย เป็นประเด็นที่สื่อมาเลเซียให้ความสำคัญสะท้อนจากจำนวนข่าวของสำนักข่าว bernama และ New Straits Times รวม ๓ ชิ้น ทั้งนี้เหตุผลที่สื่อมาเลเซียให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ เนื่องจากการลักลอบขนน้ำมันพืชไปขายในประเทศไทย ทำให้รัฐบาลมาเลเซียเสียประโยชน์ เพราะน้ำมันพืชเหล่านี้ รัฐบาลมาเลเซียให้เงินอุดหนุน เพื่อช่วยเหลือชาวมาเลเซียให้บริโภคน้ำมันพืชในราคาถูก ดังนั้นการลักลอบนำไปขายในประเทศไทย จึงเสมือนรัฐบาลมาเลเซียนำเงินภาษีมาช่วยเหลือผู้บริโภค ในประเทศไทยด้วย สำนักข่าว bernama รายงานเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายนว่า ประธานสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคมาเลเซียเสนอความเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารชายแดนทุกหน่วยงานรวมทั้งทหารควรทำงานแบบบูรณาการ พร้อมทั้งเสนอให้มีการระบุข้อความบนบรรจุภัณฑ์น้ำมันพืชขนาดน้ำหนัก ๑ กิโลกรัม ให้ชัดเจนว่า “สำหรับบริโภคในประเทศมาเลเซียเท่านั้น” เพื่อสนับสนุนมาตรการบังคับใช้กฏหมาย รวมทั้งควรมีการทบทวนการออกใบอนุญาติกับผู้ประกอบการบรรจุน้ำมันพืชเพื่อค้าปลีก ทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบนำน้ำมันพืชไปขายต่างประเทศ

(Malaysian Consumers' Protection Association (PPPM) president Datuk Mohd Firdaus Abdullah said enforcement at the border must be carried out in an integrated manner, involving several departments, agencies and the military.
He proposed that the 1kg cooking oil in polybag should only be allowed for local consumption and labeled accordingly to facilitate enforcement.The mechanism in issuing licence for packaging of subsidised cooking oil should also be reviewed to prevent leakages.)
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1299618​

            ๕.๓.๑ New Straits Times รายงานเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน อ้างคำให้สัมภาษณ์ของอธิบดีกรมการค้าภายในสหกรณ์และการบริโภค แห่งรัฐกลันตัน ระบุว่าในปีนี้ มีการจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบนำน้ำมันพืชออกไปขายต่างประเทศจำนวน ๑๗ คน ได้ของกลาง ๖๑,๙๖๔ กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า ๑๗๐,๐๐๐ ริงกิต ทั้งหมดจับกุมได้ที่ใกล้พรมแดนไทย

The Kelantan Domestic Trade, Cooperatives and Consumerism Ministry has seized more than RM170,000 worth of cooking oil in a series of operations in the state this year. Its director, Datuk Abdul Ghani Harun, said 17 people, including three cooking oil suppliers, were detained for questioning during the campaign. He said most of the cooking oil was seized in Pasir Mas, Kota Baru and Tanah Merah – all of which are close to the border with Thailand. "The cooking oil was seized either from vehicles suspected of belonging to smugglers, or in premises. The total amount is 61,964 kg,"
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/11/186712/kelantan-keeping-close-eye-cooking-oil-suppliers-near-border-areas

            ๕.๓.๒ สำนักข่าว bernama รายงานเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน อ้างแหล่งข่าวระบุว่า ปัญหาการลักลอบขนน้ำมันพืชออกไปขายในประเทศไทยโดยเฉพาะชายแดนทางด้านรัฐเปอร์ลิส เกิดจากปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่รัฐ และพบว่าการลักลอบส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบกองทัพมด คือ ใช้คนลักลอบขนผ่านพรมแดนกว่าสี่ถึงห้าเที่ยว และสาเหตุที่เจ้าหน้าที่ เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ก็อาจเป็นไปได้ว่า เจ้าหน้าที่อาจสงสารไม่อยากจับกุม หรือไม่ก็รับสินบน

(Weak controls and lack of strict enforcement at the Malaysia-Thailand border in Perlis are among the main causes for the easy smuggling of subsidised cooking oil into the neighbouring country.
It is learnt that apart from organised smuggling syndicates, the subsidised item is being smuggled into Thailand by 'ant soldiers' who will transport small quantities of the commodity via four to five trips daily.
A source who declined to be named said there were two possibilities that contributed to the smuggling activity namely, the authorities were not taking action due to 'pity' or there were elements of corruption involving organised syndicates.....)
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1300668

      ๕.๔ New Straits Times รายงานเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ว่า มุขมนตรีแห่งรัฐกลันตันมีความประสงค์ให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนจากรถยนต์ต่างประเทศที่เข้าประเทศมาเลเซียทางพรมแดนที่ติดกับประเทศไทย เร็วกว่ากำหนดที่รัฐบาลกลางวางแผนที่จะจัดเก็บในช่วงปลายปี ๒๕๖๐ แต่มุขมนตรีแห่งรัฐกลันตันมีความเห็นว่า ควรดำเนินการจัดเก็บตั้งแต่ต้นปี หรืออย่างช้าไม่เกินกลางปี ๒๕๖๐

Kedah state government hopes to implement the Road Charge (RC) system on foreign-registered vehicles entering Malaysia through its two border entrances earlier than the date proposed by the Transport Ministry. Deputy Transport Minister Datuk Ab Aziz Kaprawi announced on Tuesday that the RC system will be in force in the state by the end of next year. Kedah Menteri Besar Datuk Seri Ahmad Bashah Md Hanipah said that the state welcomes the plan, but hopes it will be implemented by early next year, or the middle of next year at the latest. “Why must we wait until the end of (2017)? We (would like) it to be implemented earlier,” he said after launching the Bukit Banyan Township project here this morning.
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/11/187537/kedah-raring-implement-road-charge-foreign-registered-vehicles

เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

 

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.