สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๒๙ ต.ค. - ๔ พ.ย. ๕๙

 07 พ.ย. 2559 20:53 น. | อ่าน 2613
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกมีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น แต่ความถี่ของข่าวเชิงลบไม่แตกต่างจากสัปดาห์ที่แล้ว (๒๒ – ๒๘  ต.ค.๕๙) มากนัก
      ในสัปดาห์นี้ ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ ประเด็นสิทธิมนุษยชน (นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยเหตุคนร้ายก่อเหตุวางระเบิด ในจังหวัดปัตตานีหลายจุดนั้น เนื่องจากรัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เนื่องจากยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่), ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ผกร. ก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในหลายพื้นที่ของ จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และ จ.สงขลา เมื่อคืนวันที่ ๒ พ.ย.๕๙ ทั้งหมดรวม ๑๙ เหตุการณ์) และ ประเด็นอาชญากรรมในพื้นที่ (หนุ่มชาว อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เปิดรับซื้อเศษยาง ขณะนอนพักผ่อนบนแคร่ ถูกมือปืนย่องออกจากป่า จ่อยิงหัว ๒ นัด ตายคาที่ สาเหตุเป็นไปได้ทั้งอริตามล้างแค้น หรือคนร้ายหวังสร้างสถานการณ์) 
      ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ยืนยันการพูดคุยสันติสุข มีความก้าวหน้าแน่นอน และเรายังไม่ได้ไปเสียท่าใคร), ประเด็น รปภ.ชีวิต/ทรัยพ์สิน (โฆษก กอ.รมน.ระบุระเบิดป่วนจังหวัดชายแดนใต้ ผู้ก่อเหตุหวังทำลายระบบสาธารณูปโภคให้ประชาชนเดือดร้อน ยันไม่เกี่ยวข้อง ครม.ส่วนหน้าลงพื้นที่), ประเด็นการเมือง (พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ในฐานะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมคณะทำงานทั้ง ๗ กลุ่ม ได้ร่วมกันเดินทางไป จ.ปัตตานี เพื่อติดตามสถานการณ์และรับฟังการชี้แจงส่วนราชการ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ที่คณะทำงานลงพื้นที่พร้อมกันทั้งคณะ), ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ (ครม.ไฟเขียวรถไฟทางคู่ ๓ เส้นทางแล้ว), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (ยะลาผนึกกำลังจัดทำแผนรักษาความปลอดภัยโรงเรียน สร้างขวัญกำลังใจ-ป้องกันซ้ำรอยเหตุครู กศน. ถูกยิง), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ชาวอำเภอหนองจิกกว่า ๔๐๐ คน รวมพลังต่อต้านรุนแรงชายแดนใต้), ประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิต (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ เปิดทำเลตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลม), ประเด็นยาเสพติด (กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด โชว์ผลงานรวบแก๊งยา ขนยาบ้า ๒ แสนเม็ด ยาไอซ์ ๑๒ กก.จาก สปป.ลาว สู่ภาคใต้ตอนล่าง), ประเด็นการศึกษา (สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี เป็นประธานการประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน จ.ปัตตานี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔), ประเด็นกระบวนการยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิฯ วอนประชาชน เป็นพยานคดีความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้), ประเด็นกีฬา (นายกสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลฯ เตรียมขยายฐานการสร้างนักกีฬาวอลเลย์บอลรุ่นใหม่ ไปยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) และประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (พระเมตตาที่สุดในชีวิต วาเด็ง พระสหายแห่งลุ่มน้ำสายบุรี)
      จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๒ – ๒๘  ต.ค.๕๙) ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
      ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ การก่อเหตุไม่สงบในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพี่อสร้างพื้นที่ข่าว (news exposure) เป็นเทคนิคที่ยังมีประสิทธิภาพ ดังผลที่เกิดขึ้นในห้วงสัปดาห์นี้ ซึ่งพบว่าเหตุการณ์ผู้ก่อความไม่สงบ ลงมือก่อเหตุรุนแรง 17 แห่ง ในพื้นที่ 7 อำเภอของสามจังหวัด ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา โดยเริ่มต้นเมื่อเวลาประมาณ 21.30 น. ของคืนวันพุธจนถึงเวลา 07.00 น. เช้าวันพฤหัสบดี ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และได้รับบาดเจ็บ 4 คน ได้รับความสนใจจากสำนักข่าวระหว่างประเทศ (AFP และ Reuters ) เช่นเดียวกับองค์กรสื่อมวลชนในมาเลเซีย สิงคโปร์ และ benarnews.org เว็ปไซต์ข่าว ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานรัฐบาลอเมริกัน
      ส่วนประเด็นข่าวอื่นๆ เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ คือ Anadolu Agency สำนักข่าวของประเทศตุรกี รายงานบทวิเคราะห์ การจับกุมตัวชาวไทยมุสลิม ที่มีพื้นเพจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มากกว่าหนึ่งร้อยคน เป็นการกระทำที่เข้าข่ายคุกคาม ทำให้องค์กรเยาวชนมุสลิม เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศแทรกแซง การกระทำของรัฐบาลไทย
      นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่สื่อมาเลเซียรายงาน การลักลอบนำเข้าน้ำมันพืช จากประเทศมาเลเซีย เข้ามาจำหน่ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากน้ำมันพืชมาเลเซีย ได้รับเงินชดเชยราคาจากรัฐบาลมาเลเซีย ส่งผลให้ราคาถูกกว่าน้ำมันพืช ที่ผลิตในประเทศไทย จึงทำให้แรงจูงใจลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 3.9514ln(x) + 12.819) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว  (๒๒ – ๒๘ ต.ค.๕๙) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.3784ln(x) + 2.819) อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของความถี่เกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ดังนั้น จำนวนข่าวเชิงลบในสัปดาห์นี้ กับสัปดาห์ที่แล้ว จึงไม่แตกต่างกันมากนัก

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
            เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-10-22

14

2

7.00

2016-10-23

17

2

8.50

2016-10-24

18

5

3.60

2016-10-25

15

6

2.50

2016-10-26

19

2

9.50

2016-10-27

23

1

23.00

2016-10-28

18

8

2.25

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

8.05

2016-10-29

14

6

2.33

2016-10-30

15

1

15.00

2016-10-31

31

0

31.00

2016-11-01

20

3

6.67

2016-11-02

24

3

8.00

2016-11-03

27

5

5.40

2016-11-04

24

5

4.80

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

10.46

      หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

      ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.0509ln(x) + 0.4084) ในช่วงต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ตามในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ จำนวนข่าวลดลง ส่งผลให้จำนวนข่าวในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๖๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว  (๒๒ – ๒๘ ต.ค.๕๙)  ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ยืนยันการพูดคุยสันติสุข มีความก้าวหน้าแน่นอน และเรายังไม่ได้ไปเสียท่าใคร เป็นต้น และยังคงไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข ในสัปดาห์นี้

      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่  ๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.137ln(x) + 1.8889) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๖  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๒ – ๒๘ ต.ค.๕๙) ภาพข่าว ได้แก่ ผกร. ก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในหลายพื้นที่ของ จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และ จ.สงขลา เมื่อคืนวันที่ ๒ พ.ย.๕๙ ทั้งหมดรวม ๑๙ เหตุการณ์ เป็นต้น

       ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.2584ln(x) + 0.4636) อย่างไรก็ตาม เป็นการเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ดังนั้นจำนวนข่าวเชิงบวกจึงลดลงเฉลี่ยร้อยละ ๑๔ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๒ – ๒๘ ต.ค.๕๙) ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.1078ln(x) - 0.1225) จากเดิมไม่ปรากฏภาพข่าวเชิงลบมาเป็นเวลา ๒ สัปดาห์แล้ว (๑๕ – ๒๘ ต.ค.๕๙) ในสัปดาห์นี้ เริ่มปรากฏภาพข่าวเชิงลบ อย่างไรก็ตามมีเพียง ๑ ข่าว เท่านั้น ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ในฐานะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมคณะทำงานทั้ง ๗ กลุ่ม ได้ร่วมกันเดินทางไป จ.ปัตตานี เพื่อติดตามสถานการณ์และรับฟังการชี้แจงส่วนราชการ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ที่คณะทำงานลงพื้นที่พร้อมกันทั้งคณะ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ให้หลัง พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร นำ ครม.ส่วนหน้า ลงพื้นที่ปัตตานีพบปะผู้นำศาสนา ได้เกิดเหตุระเบิดป่วนใต้กลางดึกของวันเดียวกัน ในพื้นที่ สงขลา นราธิวาส และปัตตานี เป็นต้น

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙  ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.3419ln(x) - 0.629) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๐๐  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๒ – ๒๘ ต.ค.๕๙) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.032ln(x) + 0.2995) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๐  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ โฆษก กอ.รมน.ระบุระเบิดป่วนจังหวัดชายแดนใต้ ผู้ก่อเหตุหวังทำลายระบบสาธารณูปโภคให้ประชาชนเดือดร้อน ยันไม่เกี่ยวข้อง ครม.ส่วนหน้าลงพื้นที่ เป็นต้น สำหรับภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ สถานการณ์ที่ ๓ จังหวัด ยังเร่าร้อนไปด้วย เสียงปืน เสียงระเบิด หลังระเบิดแสวงเครื่องที่ ตลาดโต้รุ่ง จ.ปัตตานี ตามมาด้วยความสูญเสียของชีวิตชาวไทยพุทธ  เป็นต้น

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙  ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.0747ln(x) + 0.7091) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๑ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๒ – ๒๘ ต.ค.๕๙) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเช่นกัน (y = 0.0983ln(x) - 0.1054) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๐ (จากเดิมไม่มีข่าวเชิงลบ ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ในสัปดาห์นี้ มีข่าวเชิงลบ ๑ ข่าว) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ครม.ไฟเขียวรถไฟทางคู่ ๓ เส้นทาง แล้ว เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ โรงสีปัดกดราคา ยันรับซื้อข้าวตามกลไกตลาด เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
            ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙  มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล ๑ ประเด็นข่าว ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ ส.ต.ท. ใช้เอ็ม ๑๖ กราดยิงเพื่อนตำรวจเสียชีวิต ๒ นาย บาดเจ็บ ๑๖ ยอมมอบตัวคาดปมเครียดสะสมขอย้ายไม่ได้
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน

            ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙  มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ๑ ประเด็นข่าว ได้แก่ นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยเหตุคนร้ายก่อเหตุวางระเบิด ในจังหวัดปัตตานีหลายจุดนั้น เนื่องจากรัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เนื่องจากยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.

            ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙  ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ ประเด็นสิทธิมนุษยชน (นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยเหตุคนร้ายก่อเหตุวางระเบิด ในจังหวัดปัตตานีหลายจุดนั้น เนื่องจากรัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่), ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ผกร. ก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในหลายพื้นที่ของ จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และ จ.สงขลา เมื่อคืนวันที่ ๒ พ.ย.๕๙ ทั้งหมดรวม ๑๙ เหตุการณ์) และประเด็นอาชญากรรมในพื้นที่ (หนุ่มชาว อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เปิดรับซื้อเศษยาง ขณะนอนพักผ่อนบนแคร่ ถูกมือปืนย่องออกจากป่า จ่อยิงหัว ๒ นัดตายคาที่ สาเหตุเป็นไปได้ทั้งอริตามล้างแค้น หรือคนร้ายหวังสร้างสถานการณ์)

      ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นการการพูดคุยเพื่อสันติสุข (พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ยืนยันการพูดคุยสันติสุขมีความก้าวหน้าแน่นอน และเรายังไม่ได้ไปเสียท่าใคร), ประเด็น รปภ.ชีวิต/ทรัยพ์สิน (โฆษก กอ.รมน.ระบุระเบิดป่วนจังหวัดชายแดนใต้ ผู้ก่อเหตุหวังทำลายระบบสาธารณูปโภคให้ประชาชนเดือดร้อน ยันไม่เกี่ยวข้อง ครม.ส่วนหน้าลงพื้นที่), ประเด็นการเมือง (พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ในฐานะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมคณะทำงานทั้ง ๗ กลุ่ม ได้ร่วมกันเดินทางไป จ.ปัตตานี เพื่อติดตามสถานการณ์และรับฟังการชี้แจงส่วนราชการ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ที่คณะทำงานลงพื้นที่พร้อมกันทั้งคณะ), ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ (ครม.ไฟเขียวรถไฟทางคู่ ๓ เส้นทางแล้ว), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (ยะลาผนึกกำลังจัดทำแผนรักษาความปลอดภัยโรงเรียน สร้างขวัญกำลังใจ-ป้องกันซ้ำรอยเหตุครู กศน. ถูกยิง), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ชาวอำเภอหนองจิกกว่า ๔๐๐ คน รวมพลังต่อต้านรุนแรงชายแดนใต้), ประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิต (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ เปิดทำเลตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลม), ประเด็นยาเสพติด (กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด โชว์ผลงานรวบแก๊งยา ขนยาบ้า ๒ แสนเม็ด ยาไอซ์ ๑๒ กก.จาก สปป.ลาว สู่ภาคใต้ตอนล่าง), ประเด็นการศึกษา (สำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี เป็นประธานการประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน จ.ปัตตานี พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔), ประเด็นกระบวนการยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิฯ วอนประชาชนเป็นพยานคดีความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้), ประเด็นกีฬา  (นายกสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลฯ เตรียมขยายฐานการสร้างนักกีฬาวอลเลย์บอลรุ่นใหม่ ไปยังจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) และประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (พระเมตตาที่สุดในชีวิต วาเด็ง พระสหายแห่งลุ่มน้ำสายบุรี)

       ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.-๔ พ.ย.๕๙  พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.084ln(x) + 1.9903) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑ จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้ว (๒๒ – ๒๘ ต.ค.๕๙) เล็กน้อย

๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๒๙ ต.ค.- ๔ พ.ย.๕๙
      
การก่อเหตุไม่สงบในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพี่อสร้างพื้นที่ข่าว (news exposure) เป็นเทคนิคที่ยังมีประสิทธิภาพ ดังผลที่เกิดขึ้นในห้วงสัปดาห์นี้ ซึ่งพบว่าเหตุการณ์ผู้ก่อความไม่สงบลงมือก่อเหตุรุนแรง 17 แห่ง ในพื้นที่ 7 อำเภอของสามจังหวัด ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา โดยเริ่มต้นเมื่อเวลาประมาณ 21.30 น.ของคืนวันพุธจนถึงเวลา 07.00 น. เช้าวันพฤหัสบดี ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และได้รับบาดเจ็บ 4 คน ได้รับความสนใจจากสำนักข่าวระหว่างประเทศ (AFP และ Reuters ) เช่นเดียวกับองค์กรสื่อมวลชนในมาเลเซีย สิงคโปร์ และ benarnews.org เว็ปไซต์ข่าว ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานรัฐบาลอเมริกัน
      ส่วนประเด็นข่าวอื่นๆ เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ คือ Anadolu Agency สำนักข่าวของประเทศตุรกี รายงานบทวิเคราะห์ การจับกุมตัวชาวไทยมุสลิม ที่มีพื้นเพจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มากกว่าหนึ่งร้อยคน เป็นการกระทำที่เข้าข่ายคุกคาม ทำให้องค์กรเยาวชนมุสลิมเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศแทรกแซงการกระทำของรัฐบาลไทย
      นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่สื่อมาเลเซียรายงาน การลักลอบนำเข้าน้ำมันพืชจากประเทศมาเลเซีย เข้ามาจำหน่ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากน้ำมันพืชมาเลเซีย ได้รับเงินชดเชยราคาจากรัฐบาลมาเลเซีย ส่งผลให้ราคาถูกกว่าน้ำมันพืชที่ผลิตในประเทศไทย จึงทำให้มีแรงจูงใจลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย
      ๕.๑ สำนักระหว่างประเทศ คือ AFP และ Reuters รวมทั้งสื่อในอาเซียน คือ Bernama , The Star สื่อมาเลเซีย และ The Straits Times สื่อสิงคโปร์ รวมทั้ง benarnews เว็ปไซต์ข่าว ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอเมริกัน รายงานข่าว เหตุการณ์คนร้ายก่อเหตุลอบวางระเบิด วางเพลิง และใช้อาวุธปืนทำร้ายเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและทหาร รวม ๑๗ จุดในพื้นที่ ๗ อำเภอของ ๓ จังหวัด คือ สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ ๒๑.๓๐ น.วันที่ ๒ พฤศจิกายน ถึงเช้าวันที่ ๓ พฤศจิกายน เป็นเหตุให้มีผู้มีเสียชีวิต ๓ คน และได้รับบาดเจ็บ ๔ คน
      สื่อต่างประเทศหลายแห่ง เชื่อมโยงเหตุก่อความรุนแรง ครั้งนี้กับการประชุมนัดแรก ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหน้า หรือ คปต.สน.ที่มี พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้า เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ดังที่ปรากฏในรายงานข่าวของ Straits Times

(At least six attacks hit Pattani, Songkhla and Narathiwat provinces on the same day that Deputy Defence Minister Udomdej Sitabutr visited the insurgency-plagued region to begin the work of a "front command Cabinet" formed recently to hasten decision-making./ Straits Times)

และรายงานข่าวของสำนักข่าว AFP
(The attacks appeared timed to coincide with a day trip to the south by Udomdej Sitabutr, a former army chief who was recently appointed minister for the troubled region./ AFP)

      รายงานข่าวของ Straits Times อ้างความเห็นของนายฮากิม พงติกอ ผู้ประสานงานองค์กรประชาสังคม ที่ใช้ชื่อว่า Patani Viewers วิจารณ์คณะกรรมการ คปต.ส่วนหน้าว่า ส่วนใหญ่เป็นอดีตนายทหาร และไม่มีสักคน ที่เป็นคนในพื้นที่ พร้อมทั้งวิจารณ์ว่า คปต.สน.ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจสถานการณ์ในพื้นที่ รวมทั้งไม่เข้าใจวัฒนธรรมปาตานี (Patani)
      ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตุว่า มีการใช้คำว่า Patani ในรายงานข่าวพร้อมคำอธิบายว่า เป็นคำที่คนในพื้นที่ จชต. ใช้เรียกดินแดนแห่งนี้ ซี่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุลต่านก่อนที่จะถูกสยามผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสยามเมื่อกว่าศตวรรษ ที่ผ่านมา

 (Bangkok's creation of a 13-man "Cabinet" for the heavily militarised region has been criticised by locals, as most of its members are military officers and none is from the region itself. "They don't know the situation of Patani, and they don't know the culture of Patani," Mr Hakim Pongtigor, a coordinator of advocacy group Patani Viewers, told The Straits Times. "Patani" is used by locals to describe the region, which used to be part of a sultanate until it was annexed by then Siam a century ago./ Straits Times)

      เป็นที่น่าสังเกตุว่า รายงานข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศ เกี่ยวกับเหตุรุนแรงใน จชต. แทบทุกชิ้น จะมีข้อความหนึ่งย่อหน้า ที่เชื่อมโยงให้เห็นว่า เป็นความรุนแรง ที่เกิดจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ดังข้อความต่อไปนี้

-Insurgents in Thailand's predominantly Malay-Muslim south have been fighting for self-determination for well over a decade in a war that has claimed over 6,700 lives since 2004./ Straits Times

      (กลุ่มกบฏติดอาวุธในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ที่มีประชากรมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ เป็นส่วนใหญ่ จับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล เพื่อสิทธิในการกำหนดใจตนเอง นานกว่าทศวรรษ หรือตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๖,๗๐๐ คน/ Straits Times)

-The latest attacks took place in Narathiwat and Pattani province, two of three Muslim-majority provinces in predominantly Buddhist Thailand where a separatist insurgency has been raging since 2004, and in neighbouring Songkhla province./Reuters

      (การโจมตีครั้งล่าสุด ที่นราธิวาส และปัตตานี สองจังหวัดที่มีประชากรมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ ในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ทั้งสองจังหวัดนี้ และสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน เป็นพื้นที่ที่กลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนจับอาวุธต่อสู้รัฐบาลมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗/ Reuters)

-More than 6,600 people -- the majority civilians -- have died in a 12-year insurgency across the country’s southernmost provinces bordering Malaysia as Muslim rebels fight for greater autonomy from the Buddhist-majority state./ AFP

      ในช่วง ๑๒ ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายในพื้นที่ จชต.มากกว่า ๖,๖๐๐ คน กลุ่มกบฎมุสลิมในดินแดนที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเอง เป็นอิสระจากประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ/ AFP
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1298873
http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/wave-of-attacks-in-thai-south-kills-three
http://www.thestar.com.my/news/regional/2016/11/04/three-shot-dead-in-night-of-violence-in-thai-south/
http://www.thestar.com.my/news/regional/2016/11/03/three-dead-in-thai-south-night-of-violence/
http://www.themalaymailonline.com/world/article/three-dead-in-thai-south-night-of-violence
http://www.thestar.com.my/news/world/2016/11/03/insurgent-bomb-and-gun-attacks-kill-three-in-southern-thailand/

      ๕.๒ Vietnam News Ageny (VNA) สำนักข่าวทางการเวียดนาม และ Bernama สำนักข่าวทางการมาเลเซีย รายงานว่า ตำรวจไทยได้ยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัย ในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤศจิกายน หลังจากมีข้อมูลข่าวกรองว่า มีโอกาสที่คนร้าย จะก่อเหตุคาร์บอมส์ โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของพลตำรวจโทฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ระบุว่า จากข้อมูลข่าวกรองและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศ เช่น Massad ของอิสราเอล ไม่พบว่ามีหน่วยปฏิบัติการ (cell) ของกลุ่มก่อการร้ายต่างประเทศในประเทศไทย ดังนั้น โอกาสที่จะมีการก่อเหตุร้าย หากจะเกิดขึ้นน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจาก จชต.มากกว่า กลุ่มก่อการร้ายจากต่างประเทศ

(The authorities were of the view that possible attacks are most likely related to extremist groups in the southern region of the country rather than foreign terrorist networks. Thitira Nongpharpitak, Chief of the Central Investigation Bureau (CIB), said security throughout Bangkok has been beefed up after the alert. He also directed the Crime Suppression Division (CSD) to work closely with the Metropolitan Police Bureau (MPB) to monitor the movements of suspicious individuals. CIB has also contacted Mossad, an Israeli intelligence agency, and affirmed that there were no reports on foreign terrorism cells in Thailand.)
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/11/185956/thailand-beefs-security-bangkok​

      ๕.๓ สำนักข่าว Anadolu Agency ของประเทศตุรกี รายงานเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม โดยดอน ปาทาน สื่อมวลชนอิสระและนักวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในชื่อบทความว่า Global response needed to arrest of Thai Muslim youth หรือประชาคมโลก จำเป็นต้องมีปฏิกิริยาต่อการจับกุมเยาวชนไทยมุสลิม โดยเนื้อหาของบทความชิ้นนี้ ตั้งข้อสังเกตุต่อการจับกุมเยาวชนมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงเดือนตุลาคม จำนวนกว่า ๑๐๐ คน เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้องค์กรเยาวชนและนักศึกษามุสลิม ที่ใช้ชื่อว่า Permas ต้องออกมาเคลื่อนไหว ยื่นหนังสือเรียกร้องต่อผู้แทนองค์การสหประชาชาติ เนื่องจากพวกเขากังวลต่อการดำเนินการของหน่วยงานความมั่นคง และเป็นห่วงว่าเยาวชนมุสลิมจาก จชต. อาจตกเป็นแพะรับบาปจากเหตุการณ์รุนแรงในอนาคต พร้อมทั้งเรียกร้องให้สหประชาชาติ ติดตามการบังคับใช้กฏหมายในประเทศไทย และขอให้คณะมนตรีความมั่นคง มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพ ดูแลความปลอดภัยของประชาชน และสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน ในพื้นที่ จชต.

(The group said it is “seriously concerned about the state's security policies as there is a likelihood that Patani people may be further targeted and made scapegoats for future violence during Thailand's unstable political situation”. It called on the UN to monitor law enforcement in Thailand and its Security Council to take part in the peace process to “secure the safety of the people and bring sustainable peace to the region".)
ที่มาข้อมูล; http://aa.com.tr/en/analysis-news/analysis-global-response-needed-to-arrest-of-thai-muslim-youth/674921

      ๕.๔ สำนักงานศุลกากรรัฐเปอร์ลิส จับกุมการลักลอบนำน้ำมันพืช ที่ได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาลมาเลเซีย เข้าไปในประเทศไทยในช่วง ๑๐ เดือนแรกของปีนี้ได้ จำนวน ๖,๖๙๐ กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า ๙ หมื่นริงกิต หรือประมาณ ๙ แสนบาท ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียประเมินว่า รัฐบาลได้รับความเสียหายจากการลักลอบนำน้ำมันพืชที่ผลิตในมาเลเซียออกไปขายในประเทศเพื่อนบ้านปีละประมาณ ๕๔๐ ล้านริงกิตหรือ ประมาณ ๕,๔๐๐ ล้านบาท ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลมาเลเซีย จึงประกาศหยุดให้เงินอุดหนุน เพื่อทำให้ราคาน้ำมันพืชต่ำกว่าราคาที่แท้จริง ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน นี้
ที่มาข้อมูล : http://www.bernama.com/bernama/v8/ge/newsgeneral.php?id=1298879

เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

 

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.