สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๑ - ๗ ต.ค. ๕๙

 10 ต.ค. 2559 11:32 น. | อ่าน 2547
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๔ – ๓๐ ก.ย.๕๙)  
      ในสัปดาห์นี้ไม่มีข่าวในประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นการเมือง (พล.อ.อุดมเดช ถกครม.ส่วนหน้า  นัดแรกแบ่งงานแก้ปัญหาใต้), ประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.) ปัตตานี เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับเทศบาลเมืองปัตตานี และชุมชนชาวจีนจัดงานนิทรรศการไทย-จีน กือดา จีนอ ย้อนรอยถนนสายประวัติศาสตร์), ประเด็นเศรษฐกิจฯ (นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ), ประเด็นการศึกษา (นโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้จะเป็นกลยุทธ์ในการยกระดับและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ทั้งในพื้นที่ทุรกันดาร หรือพื้นที่ที่มีปัญหาเฉพาะ อย่างโรงเรียนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้), ประเด็นยาเสพติด (หนุ่มนราธิวาสและพวก ถูก ปส.สกัดจับยาบ้า ๑.๒ ล้านเม็ด), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (ผู้นำศาสนา จ.ยะลา ชื่นชมยุทธศาสตร์ของแม่ทัพภาค ๔  คนใหม่), ประเด็นการสร้างความเข้าใจฯ (เมื่อ ๕ ต.ค.๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์พิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส และได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดิน), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (พล.อ.ประวิตรฯ นำถกขับเคลื่อนงาน คณะที่ ๕  เร่งแก้ค้ามนุษย์-แรงงานผิดกฏหมาย), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  มอบรางวัลเครือข่ายเยาวชน และสถาบันการศึกษาสืบสานพระราชดำริ), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ นาวิกโยธิน ค่ายจุฬาภรณ์ และคณะ เข้าตรวจโครงการก่อสร้างบ้านประชารัฐร่วมใจเฟส 2 บ้านบือราเป๊ะ หมู่ 3 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎร ที่ได้รับความเดือดร้อน จากคลื่นซัดชายฝั่งจนบ้านเรือนพังเสียหาย) และประเด็นการเยียวยา (ศอ.บต. มอบโฉนดที่ดินให้ ชาว อ.รามัน แก้ปัญหาความเดือดร้อนชาวบ้านไร้ที่ทำกิน)
      จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๔ – ๓๐ ก.ย.๕๙) ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
      เป็นที่น่าสังเกตุว่าในรอบสัปดาห์ สื่อในภูมิภาคอาเซียนและสำนักข่าวระหว่างประเทศ (international news agency) ไม่มีรายงานข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากสถานการณ์ในพื้นที่สงบ ไม่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในรอบสัปดาห์ สอดคล้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวจากสื่อภายในประเทศ พบว่า ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๔ – ๓๐ ก.ย.๕๙)   สรุปได้ว่า สื่อในภูมิภาคอาเซียน และสำนักข่าวระหว่างประเทศ มีพฤติกรรมนำเสนอรายงานข่าวเกี่ยวกับ จชต.ในเชิงลบมากกว่าข่าวเชิงบวก
      อย่างไรก็ตามในรอบสัปดาห์นี้ พบว่า benarnews.org เว็บไซต์ข่าว ที่ได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินงานจากรัฐบาลสหรัฐ มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับ จชต. ๒ ชิ้น คือ การประชุมนัดแรกของ ครม.ส่วนหน้า ซึ่งมีภารกิจหลักในการแก้ปัญหา จชต. และรายงานข่าว การลดกำลังพลของกองทัพในพื้นที่ จชต. และการเพิ่มขึ้นของกองกำลังประจำถิ่น คือ อส. และ ชรบ.

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 2.2826ln(x) + 10.179) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.485ln(x) + 4.1582) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๔ – ๓๐ ก.ย.๕๙)  
      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ

            เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง  

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-09-24

16

6

2.67

2016-09-25

7

2

3.50

2016-09-26

11

4

2.75

2016-09-27

15

3

5.00

2016-09-28

17

1

17.00

2016-09-29

8

7

1.14

2016-09-30

15

4

3.75

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

5.12

2016-10-01

19

1

19.00

2016-10-02

5

0

5.00

2016-10-03

5

2

2.50

2016-10-04

19

3

6.33

2016-10-05

20

5

4.00

2016-10-06

23

4

5.75

2016-10-07

20

4

5.00

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

6.80

หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

            ไม่มีทั้งข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข เป็นเวลา ๒ สัปดาห์แล้ว (๒๔ ก.ย. – ๗ ต.ค.๕๙)
      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -1.247ln(x) + 3.38) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๐๐ (ในสัปดาห์นี้ไม่มีภาพข่าวเชิงลบปรากฏในสื่อ)
      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.9009ln(x) - 0.2639) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๓๓ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน (y = 0.2743ln(x) - 0.2792) โดยในสัปดาห์นี้ มีข่าวเชิงลบในประเด็นการเมืองฯ จำนวน ๓ ข่าว จากที่ไม่มีภาพข่าวเชิงลบในประเด็นการเมืองในสัปดาห์ที่แล้ว (๒๔ – ๓๐ ก.ย.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ พล.อ.อุดมเดช ถกครม.ส่วนหน้านัดแรกแบ่งงานแก้ปัญหาใต้ เป็นต้น สำหรับภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข "นักวิชาการด้านความมั่นคง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวความคิด ครม. ส่วนหน้า ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เคยทำมาแล้ว ตั้งแต่ยุครัฐบาลอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.765ln(x) + 2.8771) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๕๐  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๔ – ๓๐ ก.ย.๕๙) สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ผู้นำศาสนา จ.ยะลา ชื่นชมยุทธศาสตร์ของแม่ทัพภาค ๔ คนใหม่ เป็นต้น  ในสัปดาห์ไม่มีภาพข่าวเชิงลบ ในประเด็น รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.011ln(x) + 4.02) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๕ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลงเช่นเดียวกัน (y = -0.144ln(x) + 0.6155) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๔ – ๓๐ ก.ย.๕๙)  ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ไข่ไก่ล้นตลาดราคาตกต่ำ ในช่วงกินเจ เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
            
ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ ๓ จชต.
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
            ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก

      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      ในสัปดาห์ ไม่มีข่าวในประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นการเมือง (พล.อ.อุดมเดช ถกครม.ส่วนหน้า นัดแรกแบ่งงานแก้ปัญหาใต้), ประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.) ปัตตานี เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับเทศบาลเมืองปัตตานี และชุมชนชาวจีน จัดงานนิทรรศการไทย-จีน กือดา จีนอ ย้อนรอยถนนสายประวัติศาสตร์), ประเด็นเศรษฐกิจฯ (นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ), ประเด็นการศึกษา (นโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จะเป็นกลยุทธ์ในการยกระดับและลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ทั้งในพื้นที่ทุรกันดาร หรือพื้นที่ที่มีปัญหาเฉพาะ อย่างโรงเรียนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้), ประเด็นยาเสพติด (หนุ่มนราธิวาสและพวก ถูก ปส.สกัดจับยาบ้า ๑.๒ ล้านเม็ด), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (ผู้นำศาสนา จ.ยะลา ชื่นชมยุทธศาสตร์ของแม่ทัพภาค ๔ คนใหม่), ประเด็นการสร้างความเข้าใจฯ (เมื่อ ๕ ต.ค.๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์พิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส และได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดิน), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (พล.อ.ประวิตรฯ นำถกขับเคลื่อนงาน คณะที่ ๕ เร่งแก้ค้ามนุษย์-แรงงานผิดกฏหมาย), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  มอบรางวัลเครือข่ายเยาวชน และสถาบันการศึกษาสืบสานพระราชดำริ), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ นาวิกโยธิน ค่ายจุฬาภรณ์ และคณะ เข้าตรวจโครงการก่อสร้างบ้านประชารัฐร่วมใจเฟส 2 บ้านบือราเป๊ะ หมู่ 3 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎร ที่ได้รับความเดือดร้อน จากคลื่นซัดชายฝั่งจนบ้านเรือนพังเสียหาย) และประเด็นการเยียวยา (ศอ.บต. มอบโฉนดที่ดินให้ชาว อ.รามัน แก้ปัญหาความเดือดร้อนชาวบ้านไร้ที่ทำกิน)

      ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค.๕๙ พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.2233ln(x) + 1.4395) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๕ จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย

๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑ – ๗ ต.ค..๕๙
      เป็นที่น่าสังเกตุว่า ในรอบสัปดาห์นี้ สื่อในภูมิภาคอาเซียนและสำนักข่าวระหว่างประเทศ (international news agency) ไม่มีรายงานเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้เนื่องจากสถานการณ์ในพื้นที่สงบ ไม่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในรอบสัปดาห์ สอดคล้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวจากสื่อภายในประเทศ พบว่า ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๔ – ๓๐ ก.ย.๕๙)   สรุปได้ว่า สื่อในภูมิภาคอาเซียน และสำนักข่าวระหว่างประเทศ มีพฤติกรรมนำเสนอรายงานข่าวเกี่ยวกับ จชต. ในเชิงลบมากกว่าข่าวเชิงบวก อย่างไรก็ตามในรอบสัปดาห์นี้ พบว่า benarnews.org เว็บไซต์ข่าว ที่ได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินงานจากรัฐบาลสหรัฐ มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับ จชต. ๒ ชิ้น คือ การประชุมนัดแรกของ ครม.ส่วนหน้า ซึ่งมีภารกิจหลักในการแก้ปัญหา จชต. และรายงานข่าว การลดกำลังพลของกองทัพในพื้นที่ จชต. และการเพิ่มขึ้นของกองกำลังประจำถิ่น คือ อส. และ ชรบ.
      ๕.๑ สำนักข่าวเบนาร์นิวส์ รายงานเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ว่า คณะผู้แทนพิเศษรัฐบาล หรือ ครม.ส่วนหน้า เพื่อแก้ปัญหา จชต. มีการประชุมนัดแรก เมื่อวันที่ ๖ ตค.ที่กรุงเทพฯ พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ในฐานะหัวหน้าคณะครม.ส่วนหน้า เปิดเผยว่า คณะทำงานชุดนี้ ดึงงานบางส่วนจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับการลดความรุนแรงในพื้นที่ มาดำเนินการ ทั้งนี้ ครม.ส่วนหน้า จะใช้พื้นที่ภายในค่ายสุริโยทัย ในจังหวัดปัตตานี เป็นสำนักงาน

(Thai Prime Minister Prayuth Chan-o-cha has appointed a special government delegation for his country’s Deep South, which met Thursday for the first time in Bangkok and will report directly to the junta chief on matters pertaining to the strife-torn region.
The new panel, headed by Deputy Defense Minister Gen. Udomdej Sitabutr, will also take over some duties of the National Security Council (NSC) in an effort to curb violence in the Deep South, Udomdej told reporters in Bangkok on Thursday.
The new delegation met for the first time on Thursday to discuss the scope of its authority, Udomdej said. It will be based at Fort Suriyothai, a military base in Pattani, one of the provinces in the Deep South.)

      มะดารี โต๊ะลาลา ประชาชนในจังหวัดนราธิวาส บอกว่า เขาพอใจที่พลเอกอุดมเดช เป็นหัวหน้าครม.ส่วนหน้า และมีความหวังว่า สถานการณ์ในพื้นที่จะดีขึ้น เพราะพลเอกอุดมเดช เป็นคนตรงไปตรงมา และมีความคิดอ่านที่ดี นอกจากนี้ยังพอใจสมาชิก ครม.ส่วนหน้า อีกอย่างน้อย ๒ คน
      อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของนัสมุดดิน อูมา อดีต สส.นราธิวาส เขามองว่า สมาชิก ครม.ส่วนหน้า ไม่หลากหลายเพียงพอ คือ ไม่มีผู้แทนจากภาคเอกชน ทั้งตัวแทนจากชาวพุทธและมุสลิม

(Madari Tohlala, a resident of Narathiwat, said the appointment of Udomdej as the delegation’s chairman gave him hope that things might get better in the violence-wracked region.
“The chief of the forward government is straight-forward and thoughtful. I think this body is interesting and will improve the situation,” he told BenarNews, adding that locals would also welcome at least two other members of the delegation, whom they view favorably.
But a former Thai parliamentarian suggested that the delegation lacks diversity and is limited in scope.
“Its short-coming is a lack of representatives from the  private sector, either Buddhist or Muslims,” Najnudin Uma, who served as an MP under deposed Prime Minister Thaksin Shinawatra, told Benar News.)
ที่มาข้อมูล; http://www.benarnews.org/english/news/thai/forward-committee-10062016170840.html

      ๕.๒ สำนักข่าวเบนาร์นิวส์ รายงานว่า กำลังทหารในพื้นที่ จชต.ขณะนี้มีจำนวนน้อยที่สุด เทียบกับปี ๒๕๕๐ ซึ่งมีจำนวนทหารในพื้นที่มากที่สุด พันเอกปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค ๔ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังทหารในพื้นที่มีราว ๒ หมื่นคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังทหารในปี ๒๕๕๐ ทั้งนี้เป็นไปตามแผนงาน ทะยอยลดกำลังทหารจากนอกกองทัพภาคที่ ๔ ต่อเนื่องกันหลายปีที่ผ่านมา และลดมากที่สุดในปี ๒๕๕๘ จำนวน ๘ พันคน จนถึงขณะนี้มีกำลังทหารจากนอกกองทัพภาคที่ ๔ ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ จชต. เพียง ๓ กองพันๆ ละ ๘ ร้อยคน
            กองกำลังที่เข้ามาดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่แทนกำลังทหาร คือ เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร หรือ อส. และ ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านหรือ ชรบ. โดยกำลังทั้งหมดทั้งพลเรือน หทาร ตำรวจ มีรวมกันประมาณ ๕ หมื่นคน อย่างไรก็ตามพันเอกปราโมทย์ กล่าวว่า กองพลทหารราบที่ ๑๕ ยังคงมีภารกิจในการดูแลสถานการณ์รายวัน

(Troop levels in Thailand’s conflict-ridden Deep South are at their lowest level since peak deployment nine years ago, through a gradual draw-down accompanied by the shifting of security responsibility to local armed groups.
Current troop strength in the southern border region is just over 20,000, slightly more than half the number of military personnel posted there in 2007, according to a spokesman for the military command in charge of Thailand’s south.
Virtually all troops from the country’s north, northeast and central regional commands have already left the Deep South, according to Col. Pramote Prom-in of the Fourth Army Area.
He said only three battalions of non-local troops remain, each made up of about 800 soldiers, remain in the Muslim-majority region where more than 6,000 people have died since 2004  in violence associated with a separatist insurgency.
The downsizing is balanced by the outsourcing of security duties to local armed units such as the Volunteer Defense Corps (Ar Sar - VDC) and the village defense volunteers (Chor Ror Bor - VDV), Pramote told BenarNews.
The total security presence, including those groups and police, is around 50,000, in an area of 1.7 million residents, 80 percent of whom are Malay-speaking Muslims.
“It will not be a complete replacement as the 15th Infantry Division of the Fourth Army Area command will oversee the day-to-day operation in this region,” Pramote said.
The gradual pullout started in 2011, with the largest draw-down being 8,000 military personnel in 2015 alone, he said.)
ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/english/news/special-reports/Deep-South-troops-10052016164917.html

เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

 

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.