สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๓๐ ก.ค. - ๕ ส.ค. ๕๙

 08 ส.ค. 2559 16:08 น. | อ่าน 2582
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๑ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. ก็มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒๙ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ ก.ค.๕๙)  
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. มักกะสัน บุกจับกุม น.ส.นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ หรือน้องเมย์ พร้อมส่งตัวไปดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ สภ.เมืองนราธิวาส โดยมีต้นเหตุจากการโพสต์เรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับ พลทหารวิเชียร เผือกสม) และ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (โจรใต้วางบึ้มป่วน ๓ จว. จนท.-ชาวบ้านบาดเจ็บอื้อ)
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (เขต-ฮาน่านำทีม 7 สีล่องใต้มอบความสุขให้พี่น้องปัตตานี), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ รุ่นที่ 5 ประจำปี 2559), ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน (ทหารบุกจับแนวร่วมโจรใต้ มือประกอบระเบิดคาร์บอมบ์), ประเด็นยาเสพติด (มหกรรมรวมพลสมาชิกทูบีนัมเบอร์วัน โชว์ผลงานป้องกันปัญหายาเสพติดปี 59), และประเด็นสิทธิมนุษยชน (ปคม.ช่วยต่างด้าวเหยื่อค้ามนุษย์)
      จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น  ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๔๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ ก.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้วลดลงในระดับหนึ่ง
      ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางมากที่สุด คือ การเดินทางเยือนประเทศไทยของรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Dr Ahmad Zahid Hamidi ในระหว่างวันที่ ๔-๕ สิงหาคม เพื่อหารือและกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับรัฐบาลไทย ตามด้วยประเด็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและนักวิชาการแสดงความกังวลต่อปัญหาการลักลอบนำอาวุธปืนจากประเทศไทยเข้ามาเลเซีย ซึ่งสื่อระหว่างประเทศ (International news agency) คือ สำนักข่าว AFP ให้ความสนใจรายงานประเด็นนี้ และเหตุร้ายรายวัน กรณีเหตุลอบวางระเบิดที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -4.758ln(x) + 22.919) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๑ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.9913ln(x) + 0.4169) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒๙ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ ก.ค.๕๙)  

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
      เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-07-23

24

2

12.00

2016-07-24

20

1

20.00

2016-07-25

20

0

20.00

2016-07-26

12

2

6.00

2016-07-27

14

7

2.00

2016-07-28

16

2

8.00

2016-07-29

13

3

4.33

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

10.33

2016-07-30

10

1

10.00

2016-07-31

10

6

1.67

2016-08-01

17

11

1.55

2016-08-02

12

12

1.00

2016-08-03

10

5

2.00

2016-08-04

8

3

2.67

2016-08-05

15

1

15.00

ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

4.84

หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
            
ในสัปดาห์นี้ ไม่ปรากฏข่าวในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.4351ln(x) + 0.1457) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒๕ ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ โจรใต้วางบึ้มป่วน ๓ จว. จนท.-ชาวบ้านบาดเจ็บอื้อ เป็นต้น

      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -1.618ln(x) + 5.7685) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๓  ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.8206ln(x) - 0.1195) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๕๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ ก.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ สมชัยขอบคุณ ผู้ว่าฯปัตตานี รณรงค์ประชามติเต็มที่ เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ มือมืดขึ้นป้าย ๓ จชต.ป่วนประชามติท้าทาย เป็นต้น

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.3461ln(x) + 0.8773) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๓ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ ไม่ปรากฏภาพข่าวข่าวเชิงลบ มากว่า ๒ สัปดาห์แล้ว ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ทหารบุกจับแนวร่วมโจรใต้ มือประกอบระเบิดคาร์บอมบ์ เป็นต้น

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.221ln(x) + 2.4697) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๙ ในขณะข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.1035ln(x) + 0.028) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๐ สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่  บิ๊กบี้ดันยุทธศาสตร์แรงงานจังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ เครือข่าย ประชาชนปกป้องอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติเภตรา-ตะรุเตา นำโดย นายสมยศ โต๊ะหลัง แกนนำพร้อมคณะ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีคัดค้านการถอนสภาพพื้นที่อุทยานแห่งชาติเภตรา-ตะรุเตา กว่า 4,000 ไร่ เพื่อใช้สร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา หรือแลนบริดจ์ เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
      ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ ๑ ข่าว ได้แก่ กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. มักกะสัน บุกจับกุม น.ส.นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ หรือน้องเมย์ พร้อมส่งตัวไปดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่สภ.เมืองนราธิวาสโดยมีต้นเหตุจากการโพสต์เรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับ พลทหารวิเชียร เผือกสม น้าชาย ที่เสียชีวิตจากการโดนซ้อมในการฝึกทหารใหม่ที่ค่ายเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อปี 2554
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน

            ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
            ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าว ที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้

ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. มักกะสัน บุกจับกุม น.ส.นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ หรือน้องเมย์ พร้อมส่งตัวไปดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ สภ.เมืองนราธิวาส โดยมีต้นเหตุจากการโพสต์เรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับ พลทหารวิเชียร เผือกสม) แบะ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (โจรใต้วางบึ้มป่วน ๓ จว. จนท.-ชาวบ้านบาดเจ็บอื้อ) ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (เขต-ฮาน่านำทีม 7 สีล่องใต้มอบความสุขให้พี่น้องปัตตานี), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ รุ่นที่ 5 ประจำปี 2559), ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน (ทหารบุกจับแนวร่วมโจรใต้ มือประกอบระเบิดคาร์บอมบ์), ประเด็นยาเสพติด (มหกรรมรวมพลสมาชิกทูบีนัมเบอร์วัน โชว์ผลงานป้องกันปัญหายาเสพติดปี 59), และประเด็นสิทธิมนุษยชน (ปคม.ช่วยต่างด้าวเหยื่อค้ามนุษย์)

      ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๓๐ ก.ค. – ๕ ส.ค.๕๙  พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวม มีแนวโน้มลดลง (y = -0.659ln(x) + 2.9787) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๔๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ ก.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้วลดลงในระดับหนึ่ง

. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ ก.ค.๕๙
      ๕.๑ ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ   
            ๕.๑.๑
 ในสัปดาห์นี้ ในเว็บไซด์ Aljazeera ไม่มีรายงานข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
            ๕.๑.๒  ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org)
            ๕.๑.๓  ในสัปดาห์นี้ เว็บไซด์ United Nations ไม่มีรายงานข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
            ๕.๑.๔  ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/)
            ๕.๑.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ที่ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch
            ๕.๑.๖ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Time (http://www.time.com
      ๕.๒ ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางมากที่สุด คือ การเดินทางเยือนประเทศไทยของรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Dr Ahmad Zahid Hamidi ในระหว่างวันที่ ๔-๕ สิงหาคม เพื่อหารือและกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับรัฐบาลไทย ตามด้วยประเด็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและนักวิชาการแสดงความกังวลต่อปัญหาการลักลอบนำอาวุธปืนจากประเทศไทยเข้ามาเลเซีย ซึ่งสื่อระหว่างประเทศ (International news agency) คือ สำนักข่าว AFP ให้ความสนใจรายงานประเด็นนี้ และเหตุร้ายรายวัน กรณีเหตุลอบวางระเบิดที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี
            ๕.๒.๑ การเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Dr Ahmad Zahid Hamidi ในระหว่างวันที่ ๔ และ ๕ สิงหาคม เป็นประเด็นข่าวที่สื่อมวลชนมาเลเซีย ให้ความสนใจรายงานข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยรวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด โดยเฉพาะสำนักข่าว bernama ของทางการมาเลเซีย เริ่มรายงานตั้งแต่ก่อนวันเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อปูพื้นให้ข้อมูลประเด็นหารือกับรองนายกรัฐมนตรีไทย ดร.วิษณุ เครืองาม และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
      ทั้งนี้ ภายหลังการหารือ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เปิดเผยว่า การหารือกับรองนายกรัฐมนตรีไทย ทั้งสองฝ่ายตกลงกระชับความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น ในทุกประเด็น โดยเฉพาะการจัดการความมั่นคงตามแนวพรมแดนของทั้งสองประเทศ การจัดการแก้ไขปัญหาคนสองสัญชาติ ความร่วมมือติดตามอาชญากรที่ก่ออาชญากรรมในประเทศมาเลเซียและหลบหนีเข้ามาซ่อนตัวในประเทศไทย และการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างกัน รวมทั้งการจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ และการลักลอบขนยาเสพติดและอาวุธปืนเข้าประเทศมาเลเซีย
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/08/163328/malaysia-thailand-agree-cooperate-cross-border-security-issues​
                  http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1269687
                  http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/malaysia-seeks-cooperation-to-hunt-criminals-hiding-in-thailand-dpm-says
      ประเด็นผลการหารือแนวทางแก้ปัญหาคนไทยที่ถือสัญชาติ คือ ไทยและมาเลเซีย สำนักข่าวเบอนามา อ้างสื่อมวลชนว่า มักจะพูดถึงกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ฉวยโอกาสความเป็นคนสองสัญชาติหลบเข้าไปซ่อนตัวในประเทศมาเลเซีย หลังก่อเหตุไม่สงบในพื้นที่ จชต.ซึ่งประเด็นนี้ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย บอกว่า ยินดีให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหากับรัฐบาลไทย และได้ขอให้รัฐบาลจัดทำบัญชีรายชื่อคนไทยที่ถือสัญชาติมาเลเซียพร้อมด้วยข้อมูลแสดงอัตตลักษณ์บุคคล (biometic details) เพื่อทำการตรวจสอบกับบุคคลสองสัญชาติ ซึ่งผิดกฏหมายมาเลเซีย เช่นกัน เพราะกฏหมายมาเลเซียไม่อนุญาติให้ถือสัญชาติอื่น ควบคู่สัญชาติมาเลเซีย ทั้งนี้ คณะทำงานร่วมสองประเทศจะมีการหารือรายละเอียดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวในที่การประชุมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ภายในสิ้นปี ๒๕๕๙
      ประเด็นความร่วมมือแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการค้ามนุษย์ และการลักลอบขนยาเสพติดและอาวุธเข้าประเทศมาเลเซีย รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เปิดเผยว่า มาเลเซียจะมีการสร้างแนวรั้วตามแนวพรมแดนเพิ่มขึ้น และได้แจ้งให้รองนายกรัฐมนตรีไทยทราบถึงการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการปัญหาชายแดนของมาเลเซียและขอให้ฝ่ายไทยร่วมมือปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดน
      ประเด็นข้อหารือเรื่องการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างกันที่ประชุมเห็นชอบตามที่ฝ่ายนมาเลเซียเสนอ โดยที่ขณะนี้มีนักโทษไทยในมาเลเซีย ๗๙๙ คน และนักโทษมาเลเซียในประเทศไทย ๗๙ คน
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1269985
                  http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/provide-list-of-dual-citizens-together-with-biometric-details-dpm-urges-tha
      รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เปิดเผยว่า มีการหยิบยกเรื่องความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับการก่อการร้าย โดยเฉพาะ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า รัฐอิสลามหรือ IS ขึ้นมาหารือกับรองนายกรัฐมนตรีของไทยด้วย เนื่องจากขณะนี้มีข้อมูลว่า สมาชิกกลุ่ม IS ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเข้ามาเลเซีย ขณะเดียวกันสมาชิกลุ่ม IS ในมาเลเซียก็ใช้ไทยเป็นทางผ่านเดินทางไปประเทศที่สาม
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/08/163106/cross-border-crime-counter-terrorism-among-key-issues-zahids-thailand-visit​
            ๕.๒.๒ หลายฝ่ายกังวลกับปัญหาการลักลอบนำเข้าอาวุธปืนจากประเทศไทยเข้าประเทศมาเลเซียและเป็นต้นเหตุของการก่อคดีอาชญากรรมด้วยอาวุธปืน ซึ่งมีสถิติเพิ่มสูงขึ้น
      สำนักข่าว bernama รายงานว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซียนายนาจิบ ตุน ราซัค ได้กล่าวในระหว่างการประชุมผู้บริหารระดับสูงของพรรค UMNO เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฏาคม แสดงความกังวลกับปัญหาการลักลอบนำเข้าอาวุธปืนจากประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คดีการใช้อาวุธปืนประทุษร้ายจนถึงแก่ชีวิตเพิ่มสูงขึ้นในประเทศมาเลเซีย
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1267780​

      สำนักข่าว benama และmalaymailonline.com รายงานความเห็นของ Akhbar Satar ผู้อำนวยการสถาบันอาชญากรรมและอาชญวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Help วิจารณ์มาตรการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมตามแนวพรมแดนมาเลเซีย-ไทย ว่า หย่อนยานพร้อมทั้งอ้างประสบการณ์ของเขาเองที่เพิ่งเดินทางผ่านพรมแดนไปที่อำเภอหาดใหญ่ว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจสอบหรือตวจค้นตัวเขาเลย และยังอ้างอีกว่าตัวเขาเองได้รับข้อมูลว่า แก๊งค์อาชญากรในมาเลเซียสามารถติดต่อสั่งซื้ออาวุธปืนเถื่อนจากประเทศไทยซึ่งพร้อมส่งถึงที่อยู่ผู้สั่งซื้อในมาเลเซีย พร้อมทั้งระบุว่าเส้นทางลักลอบนำเข้าอาวุธปืนจากผ่านทางอำเภอสุไหงโกลก เข้า Rantau Panjang ในรัฐกลันตัน และทางด่านปาดังเบซาร์ เข้ามาเลเซียทางด้าน Wang Kelis ในรัฐเปอร์ลิส
      Akhbar เสนอแนะรัฐบาลมาเลเซีย ว่า ควรมีนโยบายจำกัดระยะเวลาการทำงานของข้าราชการที่ชายแดนให้ทำงานได้ไม่เกิน ๓ ปี หลังจากนั้นให้ย้ายไปทำงานที่อื่นเพื่อป้องกันมิให้ข้าราชการเหล่านี้สร้างอิทธิพล คุ้นเคยกับเครือข่ายอาชญากร
ที่มาข้อมูล ; http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/militants-may-hire-hitmen-armed-with-smuggled-guns-criminologist-warns#sthash.VcFw32yM.dpuf​

      ปัญหาการลักลอบนำเข้าอาวุธปืนเถื่อนจากประเทศไทยเข้าประเทศมาเลเซีย ได้กลายเป็นประเด็นที่สำนักข่าวระหว่างประเทศ คือ AFP ให้ความสนใจนำเสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหานี้ โดย AFP ได้รายงานโดยอ้างข้อมูลจากอดีตอาชญกรที่เคยเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าอาวุธปืน ไปยังมาเลเซีย ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ Bukit Kayu Hitam อาชญากรคนนี้บอกว่าการลักลอบนำเข้าอาวุธปืน ไม่ใช่เรื่องยากเย็นเพราะที่ด่าสนตรวจคนเข้าเมืองไม่มีอุปกรณ์เอกซเรย์ตรวจจับโลหะและอาวุธปืน พร้อมทั้งมีคำแนะนำว่า การเดินทางเป็นหมู่คณะพร้อมกับครอบครัว เจ้าหน้าที่มักจะไม่ตรวจค้น นอกจากนี้อาวุธปืนยังอาจซ่อนไปในรถบรรทุกที่ผ่านเข้าประเทศมาเลเซียวันละหลายร้อยคัน และการลักลอบนำเช้าของผิดกฏหมายยิ่งง่ายมากยิ่งขึ้นถ้ารู้จักเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง และรู้ว่าเจ้หาน้าที่คนไหนติดสินบนได้ ก็รอโอกาสเดินทางเข้ามาเลเซียในช่วงที่เจ้าหน้าที่คนนั้นเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่
ที่มาข้อมูล ; http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/ex-underworld-member-shares-simple-rules-on-smuggling-guns​
            ๕.๒.๓ ศาลอุทธรณ์กลางมาเลเซียพิพากษาเพิ่มโทษจำคุกผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์ ๒ คนที่ร่วมกันนำพาชาวพม่าเข้าเมืองผิดกฏหมาย สำนักข่าว bernama และ Malaysiakini.com รายงานว่าศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาเพิ่มโทษผู้ต้องหา ๒ คนในข้อหากระทำความผิดค้ามนุษย์ลักลอบนำชาวพม่าลักลอบผ่านพรมแดนทางด้าน Kubang Pasu ในรัฐเคดาห์เมื่อเดือนมิถุนายนปี ๒๕๕๘ คดีนี้ผู้ต้องหาหนึ่งในสองคนเป็นคนไทยชื่อ Abdullah Bueto วัย ๓๙ ปี ซึ่งก่อนหน้าศาลชั้นต้นในรัฐเคดาห์มีคำพิพากษาจำคุก ๓ ปี แต่อัยการยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณืในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีคำพิพากษาต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ เพื่มโทษจำคุกเป็น ๖ ปี
ที่มาข้อมูล; https://www.malaysiakini.com/news/350992
            ๕.๒.๔ malaymailonline รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ Mohd Affandi Abu Bakar กงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา ระบุว่า ในรอบครึ่งแรกของปีนี้ ยังไม่พบว่ามีการลักลอบค้ามนุษย์นำพาแรงงาต่างชาติโดยเฉพาะพม่าและโรฮิงญา ผ่านพรมแดนทางด้านประเทศไทยเข้าประเทศมาเลเซีย
      กงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจ.สงขลา ระบุว่า กรณีการจับกุมชาวพม่าจำนวน ๖๐ คนที่ถูกขบวนการค้ามนุษย์นำมาหลบซ่อนตัวที่ปาดังเบซาร์ ก่อนหาโอกาสลักลอบเข้าประเทศมาเลเซีย ช่วงต้นเดือนสิงหาคม เป็นเพียงกรณีเดียวที่ได้รับรายงานในปี ๒๕๕๙
ที่มาข้อมูล ; http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/no-human-smuggling-at-border-since-january-says-diplomat
            ๕.๒.๕ เหตุร้ายรายวัน สำนักข่าว bernama และ new straits times รายงานเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ว่า เกิดเหตุระเบิด ๓ จุด ตอนเช้าที่อ.โคกโพธิ์ ปัตตานี อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และอ.กาบัง จ.ยะลา เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๘ คน
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1268908
                  http://www.themalaymailonline.com/world/article/three-bomb-blasts-in-southern-thailand-injures-eight
                  http://www.nst.com.my/news/2016/08/162517/eight-injured-three-bomb-explosions-southern-thailand
      สำนักข่าว bernama รายงานเหตุลอบวางระเบิด ๓ จุด ตอนเช้าวันที่ ๑ สิงหาคม ที่อ.เจาะไอร้อง อ.ระแงะ และอ.สุงไหงโกลก จ.นราธิวาส เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ๒ คน
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1268451
                  http://www.nst.com.my/news/2016/08/162238/two-killed-three-bomb-explosions-narathiwat
            ๕.๒.๖ องค์กรพัฒนาเอกชนมาเลเซียชื่อ Sisters in Islam เรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซีย เอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาผู้ชายมาเลเซียแอบเข้ามาสมรสในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย อย่างไม่ถูกต้องตามกฏหมายอิสลามประเทศมาเลเซีย SIS ระบุว่า ประมาณร้อยละ ๓๒ ของผู้ชายมาเลเซียที่เข้ามาสมรสอย่างลับๆในประเทศไทย ไม่ได้กลับไปจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฏหมายที่ประเทศมาเลเซีย
      ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เชิญผู้แทนคณะกรรมการกลางอิสลาม ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมหารือเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
ที่มาข้อมูล ; https://www.malaysiakini.com/news/351147
                  http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/sis-welcomes-government-initiative-to-curb-malaysians-marrying-in-thailand​
            ๕.๒.๗ หนังสือพิมพ์ Straits Times ในสิงคโปร์ รายงานว่า สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ไม่อนุมัติรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แผนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน เส้นทางสงขลา-สตูล ระยะทางกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร เนื่องจากประชาชนในพื้นที่คัดค้านกระบวนการจัดทำรายงาน โดยอ้างว่า ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลประทบไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการรับฟังความคิดเห็น                                             

เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น
 

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

 

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.