
๑. บทสรุปผู้บริหาร
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก แต่ข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน (คนร้ายประกบยิงชาวยะลาดับ)
ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ตอบโจทย์ทหารมีไว้ทำไม แท็กซี่ตอบแทนให้นั่งรถฟรี), ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต (กรมการศาสนา ยกย่อง ๑๖๐ ผู้ทำคุณประโยชน์พุทธศาสนา) , ประเด็นการศึกษา (บิ๊กน้อยลุยปัตตานี ยกระดับคุณภาพการศึกษา เขตพิเศษเฉพาะกิจ จชต.), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (จับมือระเบิดก่อเหตุพื้นที่ปัตตานี), ประเด็นกีฬา (เอซี ดัน ไทย เป็นฮับขนไก่เอเชีย), ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (ขยายเวลาซื้อไฟชีวมวล ๓ จชต. เปิดยื่นข้อเสนอเป็น ๑๕-๓๐ มิ.ย.นี้), และประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ไฟไหม้ป่าพรุที่นราธิวาสมอดแล้วดำเนินคดี ๑๐ ราย)
จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
ประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อมวลชนอาเซียนรายงานในรอบสัปดาห์นี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่า ไม่ปรากฏรายงานข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสื่อมวลชนอาเซียนแม้แต่ชิ้นเดียว
๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙
๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก (y = -2.362ln(x) + 20.179) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.4956ln(x) + 1.894) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙)
๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง
วัน/เดือน/ปี |
จำนวนข่าวเชิงบวก (1) |
จำนวนข่าวเชิงลบ (2) |
ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2) |
2016-05-14 |
18 |
1 |
18.00 |
2016-05-15 |
24 |
2 |
12.00 |
2016-05-16 |
13 |
5 |
2.60 |
2016-05-17 |
20 |
0 |
- |
2016-05-18 |
20 |
1 |
20 |
2016-05-19 |
13 |
2 |
6.50 |
2016-05-20 |
14 |
9 |
1.56 |
ค่าสัดส่วนฯ เฉลี่ย |
10.11 |
||
2016-05-21 |
14 |
6 |
2.33 |
2016-05-22 |
18 |
1 |
18.00 |
2016-05-23 |
13 |
1 |
13.00 |
2016-05-24 |
8 |
2 |
4.00 |
2016-05-25 |
12 |
6 |
2.00 |
2016-05-26 |
15 |
2 |
7.50 |
2016-05-27 |
21 |
1 |
21.00 |
ค่าสัดส่วนฯ เฉลี่ย |
9.69 |
หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย
๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙
๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ไม่มีทั้งข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลงเพียงเล็กน้อย (y = -0.124ln(x) + 0.9369) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ คนร้ายประกบยิงชาวยะลาดับ เป็นต้น
๓.๓ ประเด็นการเมือง
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.22ln(x) + 0.7526) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.3943ln(x) - 0.3523) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ซุเปอร์โพล 2 ปี คสช. คนยังหนุน บิ๊กตู่ นั่งนายกฯ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ เจิมศักดิ์ ขอคิดด้วยฅน: สองปี คสช.ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ปรองดอง มืดมน เป็นต้น ในภาพรวมข่าวในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับจชต. มีความถึ่ค่อนข้างต่ำ
๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.155ln(x) + 1.4215) ในขณะที่ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ จับมือระเบิดก่อเหตุพื้นที่ปัตตานี เป็นต้น
๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างคงที่ (y = 0.0159ln(x) + 3.0427) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.1068ln(x) - 0.0493) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙) โดยข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ มีความถี่ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ขยายเวลาซื้อไฟชีวมวล ๓ จชต. เปิดยื่นข้อเสนอเป็น ๑๕-๓๐ มิ.ย.นี้ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ น้ำยางสดขาดตลาดพ่อค้าพล่านแห่แย่งซื้อชาวสวนช้ำใจแล้งนานครึ่งปีเลื่อนเปิดกรีด-แห้วราคายางดีดขึ้น เป็นต้น
๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙
๓.๑๐.๑ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera (www.aljazeera.com)
๓.๑๐.๒ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org) อย่างไรก็ตาม มีข่าวการจัดประชุมในหัวข้อเกี่ยวในประเด็นด้านมนุษยธรรม (World Humanitarian Summit) ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่อง “การสร้างความพร้อม ในการป้องกันความขัดแย้ง (Preparedness and Conflict Prevention) ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๔ พ.ค.๕๙ ณ กรุงอิสตันบูล ประเทศตรุกี
ที่มา: http://www.oic-oci.org/oicv3/topic/?t_id=11225&t_ref=4413&lan=en
๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/news)
๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/)
๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand) อย่างไรก็ตาม ปรากฏภาพข่าว “กดดันรัฐบาลทหารให้หยุดการทรมาน และการอุ้ม (Press Junta to End Torture, ‘Disappearances’: Laws Urgently Needed to Criminalize Cruel Practices)
ที่มา: https://www.hrw.org/news/2016/05/24/thailand-press-junta-end-torture-disappearances
๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าวที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้
ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (คนร้ายประกบยิงชาวยะลาดับ)
ประเด็นที่ส่งผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวใน ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ตอบโจทย์ทหารมีไว้ทำไม แท็กซี่ตอบแทนให้นั่งรถฟรี), ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต (กรมการศาสนา ยกย่อง ๑๖๐ ผู้ทำคุณประโยชน์พุทธศาสนา) , ประเด็นการศึกษา (บิ๊กน้อยลุยปัตตานี ยกระดับคุณภาพการศึกษา เขตพิเศษเฉพาะกิจ จชต.), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (จับมือระเบิดก่อเหตุพื้นที่ปัตตานี), ประเด็นกีฬา (เอซี ดัน ไทย เป็นฮับขนไก่เอเชีย), ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (ขยายเวลาซื้อไฟชีวมวล ๓ จชต. เปิดยื่นข้อเสนอเป็น ๑๕-๓๐ มิ.ย.นี้), และ ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ไฟไหม้ป่าพรุที่นราธิวาสมอดแล้วดำเนินคดี ๑๐ ราย)
๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)
จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวก และเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว โดยในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙ พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย (y = -0.312ln(x) + 2.5976) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ มีระดับความรุนแรงมากขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๒๑ – ๒๗ พ.ค.๕๙
ในสัปดาห์นี้ไม่พบประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสื่อภาษาอังกฤษในสื่อประเทศสมาชิกอาเซียน
เกณฑ์ในการอ่านกราฟเส้น
ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์ |
ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์ |
มากกว่า 2.00 |
เพิ่มมาก |
1.10 – 2.00 |
เพิ่มค่อนข้างมาก |
0.60 – 1.00 |
เพิ่มในระดับหนึ่ง |
0.10 – 0.50 |
เพิ่มเล็กน้อย |
0.02 – 0.09 |
เพิ่มเพียงเล็กน้อย |
0.00 – 0.01 |
ค่อนข้างคงที่ |
(-0.01) – 0.00 |
ค่อนข้างคงที่ |
(-0.09) – (-0.02) |
ลดเพียงเล็กน้อย |
(-0.50) – (-0.10) |
ลดเล็กน้อย |
(-1.00) – (-0.60) |
ลดในระดับหนึ่ง |
(-2.00) – (-1.10) |
ลดค่อนข้างมาก |
น้อยกว่า (– 2.00) |
ลดมาก |
Comment