วันอังคารที่ 06 มิถุนายน พ.ศ.2566 peaceMOVING FORWORD TO PEACE
logo

สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๑๔ - ๒๐ พ.ค.๕๙

 23 พ.ค. 2559 16:31 น. | อ่าน 3126
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก และข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลงค่อนข้างมาก
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (โจรใต้ลอบบึ้มทหาร รปภ.ครู บาดเจ็บ ๔ นายคารถหุ้มเกราะ และ โจรใต้ขี่รถ จยย.ใช้เอ็ม.๑๖ และ ๑๑ มม. ยิงทหารได้รับบาดเจ็บคาด่านตรวจ) และ ประเด็นสิทธิมนุษยชน ยูพีอาร์เป็นกลไกยูเอ็น แต่ขับเคลื่อนด้วยประชาชนในประเทศ (เวทีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหรือยูพีอาร์ (UPR - Universal Periodic Review) รอบประเทศไทย))
      ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวใน ประเด็น ยาเสพติด (ให้ออก จ.ส.ต. ขนยาบ้า ๖ แสนเม็ด), ประเด็นการศึกษา (บิ๊กน้อยยกระดับการศึกษาชายแดนใต้ ชู ปี ๒๕๕๙ สู่มิติใหม่เดินหน้าประเทศไทย), ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (โพลชายแดนใต้หนุนเจรจาสันติภาพ), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (แจ่วบองอีสาน สู่ทหารชายแดนใต้), ประเด็นกีฬา (ภารกิจสุดท้าทาย ความหวังครั้งใหม่ ยูธโอลิมปิก) และประเด็นการเมือง (ปฏิทินการประขาสัมพันธ์ร่าง รธน. ก่อนชี้ชะตาประชามติ)ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวใน ประเด็น ยาเสพติด (ให้ออก จ.ส.ต. ขนยาบ้า ๖ แสนเม็ด), ประเด็นการศึกษา (บิ๊กน้อยยกระดับการศึกษาชายแดนใต้ ชู ปี ๒๕๕๙ สู่มิติใหม่เดินหน้าประเทศไทย), ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (โพลชายแดนใต้หนุนเจรจาสันติภาพ), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (แจ่วบองอีสาน สู่ทหารชายแดนใต้), ประเด็นกีฬา (ภารกิจสุดท้าทาย ความหวังครั้งใหม่ ยูธโอลิมปิก) และประเด็นการเมือง (ปฏิทินการประขาสัมพันธ์ร่าง รธน. ก่อนชี้ชะตาประชามติ)
      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น  ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙  ) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
      ประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อมวลชนอาเซียนรายงานในรอบสัปดาห์นี้ ปรากฏในสื่อมาเลเซีย เท่านั้นและมีเพียง ๒ ประเด็น คือ เหตุการณ์ผู้ก่อความไม่สงบลอบวางระเบิดทหารขณะลาดตระเวณในพื้นที่อำเภอมายอ เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บ ๔ นาย และอีกเหตุการณ์หนึ่ง เป็นเหตุคนร้ายขี่จักรยานยนต์ประกบและใช้อาวุธปืนยิงชายมาเลเซียวัย ๒๘ ปี จากปีนัง เสียชีวิตขณะขีมอเตอร์ไซค์กลับโรงแรมที่พัก ในอำเภอหาดใหญ่ 

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก (y = -7.115ln(x) + 34.231) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมาก (y = -1.103ln(x) + 5.9131) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙)  

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
      เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง
 

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-05-07

31

4

7.75

2016-05-08

20

4

5.00

2016-05-09

39

13

3.00

2016-05-10

43

3

14.33

2016-05-11

16

2

8.00

2016-05-12

14

6

2.33

2016-05-13

15

3

5.00

ค่าสัดส่วนฯ เฉลี่ย

6.49

2016-05-14

18

1

18.00

2016-05-15

24

2

12.00

2016-05-16

13

5

2.60

2016-05-17

20

0

-

2016-05-18

20

1

20.00

2016-05-19

13

2

6.50

2016-05-20

14

9

1.56

ค่าสัดส่วนฯ เฉลี่ย

10.11

หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

      ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.107ln(x) + 0.4069) ในขณะที่ข่าวเชิงลบในประเด็นนี้ มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยเช่นเดียวกัน (y = -0.232ln(x) + 0.5602) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวกได้แก่  โพลชายแดนใต้หนุนเจรจาสันติภาพ เป็นต้น ในสัปดาห์นี้ ไม่มีภาพข่าวเชิงลบในประเด็นนี้  โดยในภาพรวม ความถี่ในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีความถี่ค่อนข้างต่ำ

      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.229ln(x) + 1.7698) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่  โจรใต้ลอบบึ้มทหาร รปภ.ครู บาดเจ็บ ๔ นายคารถหุ้มเกราะ และ โจรใต้ขี่รถ จยย.ใช้เอ็ม.๑๖ และ ๑๑ มม. ยิงทหารได้รับบาดเจ็บคาด่านตรวจ ป็นต้น

      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างคงที่ (y = 0.0129ln(x) + 0.4054)ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย (y = -0.195ln(x) + 0.4938) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่  ปฏิทินการประขาสัมพันธ์ร่าง รธน. ก่อนชี้ชะตาประชามติ เป็นต้น ไม่มีภาพข่าวเชิงลบ ในสัปดาห์นี้ ในภาพรวมข่าวในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับจชต. มีความถึ่ค่อนข้างต่ำ

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลงเพียงเล็กน้อย (y = -0.093ln(x) + 1.0243) ในขณะที่ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่  คุมเข้ม ครู - นร.ปัตตานี รับมือโจรใต้ และ ชุดอีโอดีตรวจเหตุบึ้มบันนังสตา เป็นต้น

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก (y = -2.023ln(x) + 7.8549) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.479ln(x) + 1.3625) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙) โดยข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ มีความถี่ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่  ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผยกระแสนักลงทุนตบเท้าเข้านิคมฯ ยางพารา เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่  แล้ง! ดอกไม้แพงรับวันวิสาขบูชา ราคาพุ่ง ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มเท่าตัว เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
            ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ ๑ ประเด็น ได้แก่ “ยูพีอาร์เป็นกลไกยูเอ็น แต่ขับเคลื่อนด้วยประชาชนในประเทศ (เวทีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหรือยูพีอาร์ (UPR - Universal Periodic Review) รอบประเทศไทย)”
      
๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.

            ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙
             ๓.๑๐.๑ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera (www.aljazeera.com)
             ๓.๑๐.๒  ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org) อย่างไรก็ตาม มีข่าวการจัดประชุมร่วมเป็นครั้งแรก ระหว่าง สภาปราชญ์แห่ง OIC (The OIC Wise Persons Council (WPC)) กับ คณะฑูตพิเศษของกลุ่มเลขาธิการทั่วไป (SESGs) ในช่วงวันที่ ๑๗ – ๑๘ พ.ค.๕๙ ในหัวข้อ “รูปแบบการปฏิบัติการของกลไกการขจัดความขัดแย้ง และ สร้างสันติภาพ ของ OIC รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการดำเนินการด้านการฑูตเชิงป้องกัน
ที่มา: http://www.oic-oci.org/oicv3/topic/?t_id=11205&t_ref=4407&lan=en  
             ๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/news)
             ๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/)
             ๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand)

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าวที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้
ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (โจรใต้ลอบบึ้มทหาร รปภ.ครู บาดเจ็บ ๔ นายคารถหุ้มเกราะ และ โจรใต้ขี่รถ จยย.ใช้เอ็ม.๑๖ และ ๑๑ มม. ยิงทหารได้รับบาดเจ็บคาด่านตรวจ) และ ประเด็นสิทธิมนุษยชน (ยูพีอาร์เป็นกลไกยูเอ็น แต่ขับเคลื่อนด้วยประชาชนในประเทศ (เวทีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหรือยูพีอาร์ (UPR - Universal Periodic Review) รอบประเทศไทย))
      ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวใน ประเด็น ยาเสพติด (ให้ออก จ.ส.ต. ขนยาบ้า ๖ แสนเม็ด), ประเด็นการศึกษา (บิ๊กน้อยยกระดับการศึกษาชายแดนใต้ ชู ปี ๒๕๕๙ สู่มิติใหม่เดินหน้าประเทศไทย), ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (โพลชายแดนใต้หนุนเจรจาสันติภาพ), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (แจ่วบองอีสาน สู่ทหารชายแดนใต้), ประเด็นกีฬา (ภารกิจสุดท้าทาย ความหวังครั้งใหม่ ยูธโอลิมปิก) และประเด็นการเมือง (ปฏิทินการประขาสัมพันธ์ร่าง รธน. ก่อนชี้ชะตาประชามติ)

      ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวก และเชิงลบในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๑๔ – ๒๐ พ.ค.๕๙  พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย (y = -0.225ln(x) + 2.5647) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ มีระดับความรุนแรงมากขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย

. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ มีเฉพาะสื่อมาเลเซียที่รายงานข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒ เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดรถหุ้มเกราะที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บ ๔ นาย และเหตุการณ์ชาวมาเลเซียถูกคนร้ายใช้มอเตอร์ไซค์ประกบยิง เสียชีวิต ที่ หาดใหญ่
      ๕.๑ สำนักข่าวเบอนามา ของทางการมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ว่า เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดหนัก ๕๐ กิโลกรัม ที่บริเวณไหล่ทางบนถนนในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้ทหารได้รับบาดเจ็บ ๔ นาย ส่วนรถหุ้มเกราะที่ทหารทั้งสี่นายใช้ลาดตระเวณตรวจเส้นทางได้รับความเสียหยายอย่างหนัก ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรมายอ บอกว่า คนร้ายมุ่งระเบิดโจมตีกำลังทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวณ ภายหลังผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเดินทางออกจากอำเภอมายอ
ที่มาข้อมูล http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1246213
      
๕.๒ สื่อสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษในมาเลเซีย ๒ ฉบับคือ the star และ new straits times รายงานเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ว่า ชายวัย ๒๘ ปีชาวมาเลเซียที่มีถิ่นพำนักบนเกาะปีนัง ได้ถูกคนร้ายขับมอเตอร์ไซค์ประกบยิงเมื่อเวลาประมาณตีสามครึ่ง บนถนนผดุงภักดี ในอำเภอหาดใหญ่ นายโมฮัมหมัด นิซัม ผู้เสียชีวิต ปรกติทำงานอยูที่สิงคโปร์ และเดินทางมาทำธุระที่หาดใหญ่ เป็นประจำ เขาถูกยิงจนเสียชีวิตขณะขี่มอเตอร์ไซค์กลับโรงแรมที่พัก เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เขาถูกยิงจนเสียชีวิต
ที่มาข้อมูล http://www.nst.com.my/news/2016/05/145958/penangite-gunned-down-hatyai
                http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/05/17/malaysian-shot-dead-while-riding-back-to-thai-hotel/
              

                                                                        เกณฑ์ในการอ่านกราฟเส้น 

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

 

Comment