
๑. บทสรุปผู้บริหาร
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ทั้งข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก โดยสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ ประมาณ ๖ ต่อ ๑
ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ยิงชาวบ้านดับ-บึ้มซ้ำ ตร.เจ็บ ๑ และ โจรใต้ยัดบึ้มใส่ปลากระป๋อง "ผญบ.-ชรบ."ยะลาเจ็บ ๔)
ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (บิ๊กตู่ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ร่วมปฏิบัติการดับไฟพรุโต๊ะแดงให้ทุกคนปลอดภัย และ ผบ.ตร.เคาะอีก ๘๙๐ เก้าอี้ บี้ 'นครบาล-บช.ก.' เร่งโผ), ประเด็นสิทธมนุษยชน (เคาะประตูแคมปัส: ม.อ.ปัตตานี เปิดรั้วรับชนกลุ่มน้อยเรียน), ประเด็นการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ (จิตรกรรมบนบังเกอร์ สีสันใหม่เมืองยะลา), ประเด็นการศึกษา (รมช.ศธ. ลงพื้นที่ยะลา สร้างขวัญกำลังใจครู-ติดตามผลการสอน), ประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต (พุทธศาสนา วิถีชีวิต วัฒนธรรม กิจกรรมบวชสามเณรภาคฤดูร้อน พื้นที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก), ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (ต้องเดินหน้าสันติภาพ, “อักษรา” ยันเดินหน้าถกสันติสุขใต้ และอื่นๆ), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (“บิ๊กตู่”ห่วงไฟป่า!สั่งเพิ่มกำลังทหารใช้ ฮ. ช่วยดับสกัดแนวไฟลาม), ประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิต (สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พื้นที่ขยายผลศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (ภาค ๔ แจงเหตุ ยึดรพ.ยิงฐาน โยนผิด ‘จนท.’), ประเด็นความร่วมมือไทย-มาเลย์ (กรมป่าไม้ผนึกกำลังประเทศเพื่อนบ้านร่วมปกป้อง-ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ), และประเด็นการเยียวยา (เยี่ยม ตร.เจ็บ)
จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูดีขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
ประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อมวลชนอาเซียน ให้ความสนใจนำเสนอในรอบสัปดาห์ มีจำนวนลดลงมากสอดคล้องกับ สถานการณ์ในรอบสัปดาห์ที่มีจำนวนข่าวเชิงบวก มากกว่าข่าวเชิงลบ ในสัดส่วน ๖ ต่อ ๑ ข่าว ส่งผลให้สัปดาห์นี้แทบไม่มีข่าวเกี่ยวกับ จชต.ในสื่ออาเซียนเลย มีเพียงสำนักข่าวเบอนามาของทางการมาเลเซีย เท่านั้น ที่รายงานข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงในจังหวัดปัตตานี ช่วงวันที่ ๑๑ และ ๑๒ พฤษภาคม ที่มีเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงชายหนุ่มสองคนเสียชีวิตที่อำเภอยะหริ่ง และเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืน ยิง ชรบ.วัย ๔๑ ปี เสียชีวิตที่อำเภอโคกโพธิ์
๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙
๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก (y = -4.194ln(x) + 34.547) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มลดลงมาก (y = -3.511ln(x) + 12.961) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๐ เม.ย.-๖ พ.ค.๕๙)
๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง
วัน/เดือน/ปี |
จำนวนข่าวเชิงบวก (1) |
จำนวนข่าวเชิงลบ (2) |
ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2) |
2016-04-30 |
33 |
12 |
2.75 |
2016-05-01 |
42 |
13 |
3.23 |
2016-05-02 |
18 |
2 |
9.00 |
2016-05-03 |
19 |
11 |
1.73 |
2016-05-04 |
24 |
15 |
1.60 |
2016-05-05 |
35 |
5 |
7.00 |
2016-05-06 |
32 |
3 |
10.67 |
ค่าสัดส่วนเฉลี่ย |
5.14 |
||
2016-05-07 |
31 |
4 |
7.75 |
2016-05-08 |
20 |
4 |
5.00 |
2016-05-09 |
39 |
13 |
3.00 |
2016-05-10 |
43 |
3 |
14.33 |
2016-05-11 |
16 |
2 |
8.00 |
2016-05-12 |
14 |
6 |
2.33 |
2016-05-13 |
12 |
0 |
- |
ค่าสัดส่วนเฉลี่ย |
6.74 |
หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย
๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙
๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่ลดลงค่อนข้างมาก (y = -1.186ln(x) + 3.206) ในขณะที่ข่าวเชิงลบในประเด็นนี้ มีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมาก (y = -1.626ln(x) + 3.7108) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวกได้แก่ ต้องเดินหน้าสันติภาพ, “อักษรา” ยันเดินหน้าถกสันติสุขใต้ และอื่นๆ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ สุดท้ายการดับไฟใต้ ที่ปลายด้ามขวานอาจไม่ได้อยู่ที่การพูดคุยกับ'บีอาร์เอ็น' เป็นต้น โดยในภาพรวม ความถี่ในประเด็นนี้ มีความถี่ค่อนข้างต่ำ
๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก (y = -2.362ln(x) + 7.2503) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ ยิงชาวบ้านดับ-บึ้มซ้ำ ตร.เจ็บ ๑ และ โจรใต้ยัดบึ้มใส่ปลากระป๋อง "ผญบ.-ชรบ."ยะลาเจ็บ ๔ เป็นต้น
๓.๓ ประเด็นการเมือง
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.387ln(x) + 1.4814)ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.1467ln(x) - 0.0497) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ทบ.เตรียมใช้มวลชน กอ.รมน. แจงร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ 'โพล'เผยการเมืองร้อน ทำ 'ความสุข'คนไทยลด เป็นต้น ในภาพรวมข่าวในประเด็นนี้ มีความถึ่ค่อนข้างต่ำ
๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลงค่อนข้างมาก (y = -1.775ln(x) + 4.4788) ในขณะที่ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ภาค ๔ แจงเหตุ ยึดรพ.ยิงฐาน โยนผิด ‘จนท.’ และ แม่ทัพ ๔ ตรวจจัดระเบียบหาดภูเก็ตเป็นต้น
๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.1389ln(x) + 4.3929) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (y = 0.0727ln(x) + 0.5121) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙) โดยข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ มีความถี่ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ เปิดประตูค้าชายแดนนราธิวาสปั้น ‘รังนก-ยางพารา’ สินค้าพรีเมียมชายแดนใต้ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ชาวเรือประมงโอดไม่คุ้มค่าน้ำมัน ชี้อากาศร้อน ปลาหนีออกชายฝั่ง เป็นต้น
๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙
๓.๑๐.๑ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera (www.aljazeera.com)
๓.๑๐.๒ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org) อย่างไรก็ตาม มีข่าวการจัดประชุมระหว่างองค์กรสหประชาชาติ (UN) กับ OIC เพื่อทบทวนรูปแบบ และโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม มนุษยธรรม และ สิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ ๑๓ โดยจัดให้มีขึ้นในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๓ พ.ค.๕๙ ณ สำนักงานสหประชาชาติ ประจำเมืองเยนีวา
ที่มา: http://www.oic-oci.org/oicv3/topic/?t_id=11172&t_ref=4395&lan=en
๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/news)
๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/) อย่างไรก็ตาม มีข่าว “วันกาชาดโลก – พร้อมเสมอเพื่อภารกิจมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด”
ที่มา: http://www.icrc.or.th/blogs/834
๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand)
๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง
เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าวที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้
ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ยิงชาวบ้านดับ-บึ้มซ้ำ ตร.เจ็บ ๑ และ โจรใต้ยัดบึ้มใส่ปลากระป๋อง "ผญบ.-ชรบ."ยะลาเจ็บ ๔)
ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (บิ๊กตู่ห้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ร่วมปฏิบัติการดับไฟพรุโต๊ะแดงให้ทุกคนปลอดภัย และ ผบ.ตร.เคาะอีก ๘๙๐ เก้าอี้ บี้ 'นครบาล-บช.ก.' เร่งโผ), ประเด็นสิทธมนุษยชน (เคาะประตูแคมปัส: ม.อ.ปัตตานี เปิดรั้วรับชนกลุ่มน้อยเรียน), ประเด็นการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ (จิตรกรรมบนบังเกอร์ สีสันใหม่เมืองยะลา), ประเด็นการศึกษา (รมช.ศธ. ลงพื้นที่ยะลา สร้างขวัญกำลังใจครู-ติดตามผลการสอน), ประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต (พุทธศาสนา วิถีชีวิต วัฒนธรรม กิจกรรมบวชสามเณรภาคฤดูร้อน พื้นที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก), ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (ต้องเดินหน้าสันติภาพ, “อักษรา” ยันเดินหน้าถกสันติสุขใต้ และอื่นๆ), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (“บิ๊กตู่”ห่วงไฟป่า!สั่งเพิ่มกำลังทหารใช้ ฮ. ช่วยดับสกัดแนวไฟลาม), ประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิต (สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พื้นที่ขยายผลศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (ภาค ๔ แจงเหตุ ยึดรพ.ยิงฐาน โยนผิด ‘จนท.’), ประเด็นความร่วมมือไทย-มาเลย์ (กรมป่าไม้ผนึกกำลังประเทศเพื่อนบ้านร่วมปกป้อง-ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ), และประเด็นการเยียวยา (เยี่ยม ตร.เจ็บ)
๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)
จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวก และเชิงลบในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว โดยในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙ พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.2284ln(x) + 1.6776) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูดีขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๓ พ.ค.๕๙
ในรอบสัปดาห์นี้มีข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสื่อภูมิภาคอาเซียน และมีเพียงสื่อมาเลเซียเท่านั้นที่รายงานข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ เหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงชายหนุ่มสองคนเสียชีวิตขณะขี่มอเตอร์ไซค์ในอำเภอยะหริ่งเหตุเกิดกลางวันวันที่ ๑๒ พฤษภาคม และเหตุคนร้ายลอบยิงเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ที่อำเภอโคกโพธิ์
นอกจากนี้สื่อมาเลเซียรายงานข่าวว่า มีชาวมาเลเซียที่มีสถานภาพบุคคลสองสัญชาติ ประสงค์จะสละสัญชาติอื่นเพื่อถือสัญชาติมาเลเซียสัญชาติเดียวอีกเป็นจำนวนมาก
๕.๑ สำนักข่าวเบอนามา ของทางการมาเลเซียรายงานเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม อ้างข้อมูลคำให้สัมภาษณ์ของพลตำรวจตรีทนงศักดิ์ วังสุภา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ ๑๑ นาฬิกา วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ได้เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงชายหนุ่มสองคนอายุ ๑๘ และ ๒๑ ปี ขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์ในพื้นที่อำเภอยะหริ่ง เป็นเหตุให้เสียชีวิตทั้งสองคน ขณะที่ก่อนหน้านี้ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ก็เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ที่อำเภอโคกโพธิ์ เสียชีวิตขณะขี่มอเตอร์ไซค์กลับบ้าน ทั้งสองเกตุการณ์เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้สรุปสาเหตุและแรงจูงใจ
๕.๒ สำนักข่าวเบอนามา และหนังสือพิมพ์ New Straits Times รายงานว่า ชาวมาเลเซียที่ถือสองสัญญชาติจำนวนมากแสดงความประสงค์ต้องการสละสัญชาติอื่นเพื่อให้สอดคล้องกับกฏหมายมาเลเซีย ที่ไม่อนุญาตให้ถือครองสองสัญชาติรายงานระบุว่า ชาวมาเลเซียจำนวนไม่น้อยเลือกสละสัญชาติอื่นๆเพราะเห็นว่า การปฏิบัติตามกฏหมายมาเลเซีย จะได้สิทธิประโยชน์มากกว่าการสละสัญชาติมาเลเซียเพื่อถือสัญชาติอื่น
รายงานชิ้นนี้ ยกตัวอย่างอาหมัด ชายชาวมาเลซียวัย ๒๔ ปี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ Pengkalan Hulu ซึ่งมีแม่เป็นคนสัญชาติไทยมีถิ่นพำนักอยู่ที่อำเภอเบตง และมีพ่อเป็นชาวมาเลเซีย อาหมัดเกิดที่ประเทศมาเลเซียมีใบเกิดระบุสัญชาติมาเลเซีย ต่อมาแม่ของอาหมัดได้พาเขามาทำใบเกิดที่อำเภอเบตง เพื่อให้มีสัญชาติไทยอีกสัญชาติหนึ่ง อาหมัดเรียนหนังสือในประเทศมาเลเซีย จนกระทั่งอายุ ๑๘ ปี เขาจึงตัดสินใจสละสัญชาติไทย เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฏหมายมาเลเซีย และเขาเห็นว่าการถือสัญชาติมาเลเซีย ได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่า
เกณฑ์ในการอ่านกราฟเส้น
ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์ |
ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์ |
มากกว่า 2.00 |
เพิ่มมาก |
1.10 – 2.00 |
เพิ่มค่อนข้างมาก |
0.60 – 1.00 |
เพิ่มในระดับหนึ่ง |
0.10 – 0.50 |
เพิ่มเล็กน้อย |
0.02 – 0.09 |
เพิ่มเพียงเล็กน้อย |
0.00 – 0.01 |
ค่อนข้างคงที่ |
(-0.01) – 0.00 |
ค่อนข้างคงที่ |
(-0.09) – (-0.02) |
ลดเพียงเล็กน้อย |
(-0.50) – (-0.10) |
ลดเล็กน้อย |
(-1.00) – (-0.60) |
ลดในระดับหนึ่ง |
(-2.00) – (-1.10) |
ลดค่อนข้างมาก |
น้อยกว่า (– 2.00) |
ลดมาก |
Comment