
๑. บทสรุปผู้บริหาร
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยจำนวนข่าวเชิงบวก มีจำนวนมากกว่าข่าวเชิงลบประมาณ ๕ ต่อ ๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ป่วนยะลาบึ้ม ๒ ลูก ตลาดนัดเจ็บ ๖ และดักบึ้มทหารเจ็บ ๑ ที่หนองจิก) และประเด็นพูดคุยเพื่อสันติสุข (เส้นทางมืดมนสันติสุขใต้?)
ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (“แพนเค้ก” ควง “สารวัตรหมี” เลี้ยงเด็กที่นราธิวาส), ประเด็นการเยียวยา (ผบ.ทร.เป็นปธ.พิธีสวดพระอภิธรรมศพ จ่าเอก จิตตพล ปูนบำเหน็จ ๑๐ ขั้น), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ใช้เฮลิคอปเตอร์ติดตระกร้าขนน้ำ๕๐๐ ลิตรดับไฟป่านราฯ), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัยพ์สิน (จนท.ทำลายระเบิดหนัก ๘๐ ก.ก. หลังพบซุกใต้ถนนที่นราธิวาส), ประเด็นการศึกษา (แห่สมัครเรียน มรส.), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (ให้กำลังใจ!ดับไฟป่า 'พรุโต๊ะแดง' 'บิ๊กตู่'กำชับดูแลสุขภาพประชาชน), ประเด็นความร่วมมือไทย-มาเลย์ (กิจกรรมสานสายใยความรัก ไทย-มาเลเซีย เพื่อเด็กกำพร้า ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้) และประเด็นการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ (เยาวชน ๕ จว.ชายแดนใต้ เรียนทักษะชีวิต 'เดินทางหมื่นลี้ดีกว่าอ่านหนังสือหมื่นเล่ม')
จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงน้อยกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
ประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อมวลชนอาเซียน ให้ความสนใจนำเสนอในรอบสัปดาห์ มีประเด็นหลักๆ คือ ความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อท่าทีของคณะผู้แทนฝ่ายไทย ที่ยังไม่พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงกรอบแนวทางการพูดคุยฯ หรือ TOR กับ คณะตัวแทนกลุ่มผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาลไทย หรือ Party B และรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐภาคเหนือของมาเลเซียลาดตระเวณตรวจตราพรมแดนทิศเหนือติดแม่น้ำสุไหงโกลก เข้มงวดมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำแห้งขอด ขณะเดียวกันก็มีการตรวจจับการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี และน้ำมันเถื่อน
๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.
๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย.-๖ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นมาก (y = 7.9626ln(x) + 8.8866) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.15ln(x) + 8.3014) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙)
๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง
วัน/เดือน/ปี |
จำนวนข่าวเชิงบวก (1) |
จำนวนข่าวเชิงลบ (2) |
ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2) |
23/4/59 |
14 |
9 |
1.56 |
24/4/59 |
11 |
2 |
5.50 |
25/4/59 |
15 |
15 |
1.00 |
26/4/59 |
14 |
11 |
1.27 |
27/4/59 |
27 |
4 |
6.75 |
28/4/59 |
11 |
0 |
- |
29/4/59 |
30 |
18 |
1.67 |
30/4/59 |
33 |
12 |
2.75 |
1/5/59 |
42 |
13 |
3.23 |
2/5/59 |
18 |
2 |
9.00 |
3/5/59 |
19 |
11 |
1.73 |
4/5/59 |
24 |
15 |
1.60 |
5/5/59 |
35 |
5 |
7.00 |
6/5/59 |
32 |
3 |
10.67 |
หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย
๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙
๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง (y = 0.8727ln(x) - 0.6418)ในขณะที่ข่าวเชิงลบในประเด็นนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.2904ln(x) + 0.5488) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวกได้แก่ อาจารย์ใต้แนะอย่าหยุดชี้ทั่วโลกเจรจายุติขัดแย้ง, “อักษรา” ยันเดินหน้าถกสันติสุขใต้ และอื่นๆ ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ เส้นทางมืดมนสันติสุขใต้? โดยในภาพรวม ความถี่ในประเด็นนี้ มีความถี่ค่อนข้างต่ำ
๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.145ln(x) + 4.8332) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ ป่วนยะลาบึ้ม ๒ ลูก ตลาดนัดเจ็บ ๖ และ ดักบึ้มทหารเจ็บ ๑ ที่หนองจิก เป็นต้น
๓.๓ ประเด็นการเมือง
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (y = 0.0648ln(x) + 1.2406) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.1078ln(x) - 0.1225) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ โพลชี้แรงงานยุค “บิ๊กตู่. มีสุขแต่ยังเป็นหนี้ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ นักวิชาการ-ตัวแทน อปท. ถามหามาตรฐาน คสช.ปม คตง. เป็นต้น ในภาพรวมข่าวในประเด็นนี้ มีความถึ่ค่อนข้างต่ำ
๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -1.198ln(x) + 4.942) ในขณะที่ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ จนท.ทำลายระเบิดหนัก ๘๐ ก.ก. หลังพบซุกใต้ถนน ที่นราธิวาส เป็นต้น
๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก (y = 1.1052ln(x) + 2.0828) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลงเพียงเล็กน้อย (y = -0.075ln(x) + 0.8496) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙) โดยข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ มีความถี่ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ มาเลย์-สิงคโปร์ แห่เที่ยวเบตง เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ค้านสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา หวั่นไม่คุ้ม-ห่วงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ ๑ ข่าว ได้แก่ “บิ๊กแป๊ะ” สั่งเลื่อนถกบอร์ดตั้ง สว. - รอง ผบก.เป็น ๗ – ๙ พ.ค.นี้
๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙
๓.๑๐.๑ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera (www.aljazeera.com)
๓.๑๐.๒ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org) อย่างไรก็ตาม มีข่าวการจัดประชุม/ถกแถลงในหัวข้อ “การต่อสู้กับการก่อการร้ายสากล” โดยจัดให้มีขึ้นในช่วงวันที่ ๙ -๑๐ พ.ค.๕๙ ณ เมือง เจดดาห์ ประเทศซาอุดิอารเบีย
ที่มา: http://www.oic-oci.org/oicv3/topic/?t_id=11148&t_ref=4385&lan=en
๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/news)
๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/)
๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand)
๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง
เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าวที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้
ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ป่วนยะลาบึ้ม ๒ ลูก ตลาดนัดเจ็บ ๖ และ ดักบึ้มทหารเจ็บ ๑ ที่หนองจิก) และประเด็นพูดคุยเพื่อสันติสุข (เส้นทางมืดมนสันติสุขใต้?)
ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (“แพนเค้ก” ควง “สารวัตรหมี” เลี้ยงเด็กที่นราธิวาส), ประเด็นการเยียวยา (ผบ.ทร.เป็นปธ.พิธีสวดพระอภิธรรมศพ จ่าเอก จิตตพล ปูนบำเหน็จ ๑๐ ขั้น), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ใช้เฮลิคอปเตอร์ติดตระกร้าขนน้ำ๕๐๐ ลิตรดับไฟป่านราฯ), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัยพ์สิน (จนท.ทำลายระเบิดหนัก ๘๐ ก.ก. หลังพบซุกใต้ถนน ที่นราธิวาส), ประเด็นการศึกษา (แห่สมัครเรียน มรส.), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (ให้กำลังใจ!ดับไฟป่า'พรุโต๊ะแดง' 'บิ๊กตู่'กำชับดูแลสุขภาพประชาชน), ประเด็นความร่วมมือไทย-มาเลย์ (กิจกรรมสานสายใยความรัก ไทย-มาเลเซีย เพื่อเด็กกำพร้า ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้) และประเด็นการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ (เยาวชน ๕ จว.ชายแดนใต้ เรียนทักษะชีวิต 'เดินทางหมื่นลี้ดีกว่าอ่านหนังสือหมื่นเล่ม')
๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)
จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวก และเชิงลบในระดับสูง นำไปสู่แนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว โดยในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙ พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.5517ln(x) + 0.6351) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงน้อยลงกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๓๐ เม.ย. – ๖ พ.ค.๕๙
มีประเด็นหลัก คือ ความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อท่าทีของคณะผู้แทนฝ่ายไทย ที่ยังไม่พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงกรอบแนวทางการพูดคุยฯ หรือ TOR กับ คณะตัวแทนกลุ่มผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาลไทย หรือ Party B และรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐภาคเหนือของมาเลเซียลาดตระเวณตรวจตราพรมแดนทิศเหนือติดแม่น้ำสุไหงโกลก เข้มงวดมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำแห้งขอด ขณะเดียวกันก็มีการตรวจจับการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี และน้ำมันเถื่อน
๕.๑ สำนักข่าวเบอนามา ของทางการมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ว่า พลเอกอักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะทำงานพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยืนยันว่า กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ ยังเดินหน้าต่อไป แม้ว่าการพบปะพูดคุยระหว่างตัวแทนฝ่ายรัฐบาลไทย หรือ Party A กับ ตัวแทนฝ่ายผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐไทย หรือ Party B ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ช่วงปลายเดือนเมษายน ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถลงนามบันทึกข้อตกลงกรอบแนวทางการพูดคุย หรือ TOR ได้
พลเอกอักษรา กล่าวว่า เขารายงานผลการพูดคุยฯให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบทุกครั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้บอกกับเขาว่า การพูดคุยต้องดำเนินต่อไป แต่ต้องใช้เวลา
สำหรับการพูดคุยครั้งต่อไป พลเอกอักษรา กล่าวว่า ยังไม่มีการกำหนดวัน เนื่องจากต้องมีการกำหนดวาระการพูดคุยเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะมีการกำหนดวันประชุม
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1241654
๕.๒ สำนักข่าว anadolu ในตุรกี สำนักข่าวนอกอาเซียน ก็ให้ความสนใจกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ เช่นกัน โดยรายงานเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ว่า นายกรัฐมนตรีของไทยหยุดชะงักกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ กับกลุ่มติดอาวุธมุสลิม ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ตีความท่าทีของผู้นำไทยว่า สะท้อนให้เห็นว่า ทหารไทยยังไม่สามารถคิดนอกกรอบ
Anadolu Agency สัมภาษณ์รุ่งระวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยที่มหาวิททยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ซึ่งให้ความเห็นว่า เร็วเกินไปที่จะตัดสินว่า กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข ถูกทำให้หยุดชะงัก แต่เธอบอกว่า ความเห็นของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สะท้อนว่า ทหารไทยยังไม่สามารถคิดนอกกรอบ
รุ่งระวี ให้ความเห็นว่า กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงล้วนแล้วแต่ต้องแปดเปื้อนกับการก่ออาชญากรรม ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการทางการเมือง ผ่านกลไกการเจรจาสันติภาพ
ที่มาข้อมูล ; http://aa.com.tr/en/world/thai-junta-freezes-talks-with-southern-rebels-report/565285
๕.๓ สำนักข่าวเบอนามา รายงานเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม รายงานคำให้สัมภาษณ์ของ อาหมัด มูฮัมหมัด ยูซุป เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติแห่งรัฐกลันตัน ระบุว่า รัฐกลันตันได้ขอการสนับสนุนทหารจากกองทัพมาเลเซีย รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เพื่อเสริมกำลังลาดตระเวณตรวจตราพรมแดนด้านที่ติดกับแม่น้ำสุงไหงโกลก ซึ่งอยู่ติดพรมแดนไทย ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแม่น้ำสุไหงโกลกที่แห้งขอด ทำให้ทางการรัฐกลันตันต้องเพิ่มความระมัดระวังการลักลอบเข้ามืองผิดกฏหมายและการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1241729
๕.๔ หนังสือพิมพ์ New Straits Times ในมาเลเซีย รายงานว่า เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงชายแดนแห่งรัฐเคดาห์ ได้จับกุมชายวัย ๓๖ ปี ขณะขับรถบรรทุกซุกซ่อนเครื่องดื่มชูกำลัง ๑๕๕ กล่องมูลค่าประมาณ ๑ หมื่นริงกิต บนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๑.๓
เครื่องดื่มชูกำลังหลากยี่ห้อที่ลักลอบนำเข้าจากประเทศไทย โดยไม่เสียภาษีนำเข้าอย่างถูกต้อง คาดว่าจะนำไปจำหน่ายให้กับคนงานไทยและเมียนมาร์ ที่ทำงานในกรุงกัวลัมเปอร์
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/05/144433/border-agency-foils-plan-smuggle-thai-energy-drinks
๕.๕ หนังสือพิมพ์ New Straits Times รายงานเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ว่า เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันทางทะเลของมาเลเซีย ได้จับกุมเรือประมงไทย ๒ ลำ ลักลอบขนน้ำมันจากมาเลเซีย จำนวนกว่า ๓ หมื่นลิตร ขณะลอยลำอยู่ในน่านน้ำมาเลเซีย โดยอำพรางเจ้าหน้าที่มาเลเซียด้วยการติดธงชาติมาเลเซีย แต่ก็ไม่สามารถเล็ดลอดการตรวจตราของเจ้าหน้าที่มาเลเซียไปได้ ทั้งนี้สันนิษฐานว่า เรือประมงไทยที่ลักลอบบรรทุกน้ำมันที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อจำหน่ายให้แก่ชาวมาเลเซียเท่านั้น ได้ซื้อน้ำมันจากเรือประมงมาเลเซีย ก่อนถูกจับกุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2016/05/143944/thai-boats-disguising-malaysian-vessels-busted-diesel-smuggling
เกณฑ์ในการอ่านกราฟเส้น
ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์ |
ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์ |
มากกว่า 2.00 |
เพิ่มมาก |
1.10 – 2.00 |
เพิ่มค่อนข้างมาก |
0.60 – 1.00 |
เพิ่มในระดับหนึ่ง |
0.10 – 0.50 |
เพิ่มเล็กน้อย |
0.02 – 0.09 |
เพิ่มเพียงเล็กน้อย |
0.00 – 0.01 |
ค่อนข้างคงที่ |
(-0.01) – 0.00 |
ค่อนข้างคงที่ |
(-0.09) – (-0.02) |
ลดเพียงเล็กน้อย |
(-0.50) – (-0.10) |
ลดเล็กน้อย |
(-1.00) – (-0.60) |
ลดในระดับหนึ่ง |
(-2.00) – (-1.10) |
ลดค่อนข้างมาก |
น้อยกว่า (– 2.00) |
ลดมาก |
Comment