วันจันทร์ที่ 05 มิถุนายน พ.ศ.2566 peaceMOVING FORWORD TO PEACE
logo

สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๒๓ - ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙

 02 พ.ค. 2559 10:49 น. | อ่าน 3293
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ทั้งข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบใกล้เคียงกัน
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้เชิงลบสูง เป็นข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน (จยย.บอมบ์ ๒ จุดกลางเมืองนรา เจ็บ ๑๓ ราย สาหัส ๑ และ โจรใต้วางระเบิด ซุกเสาไฟที่ระแงะ) และประเด็นพูดคุยเพื่อสันติสุข (ไทยไม่รับเงื่อนไขคู่เจรจาถกสันติสุขใต้ล่ม)
      ประเด็นส่งที่ผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวกสูง เป็นข่าวใน ประเด็นการเมือง (มองมุมใหม่: จังหวัดจัดการตนเอง : นวัตกรรมของภาคประชาสังคม), ประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน (กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า จัดนิทรรศการแสดงผลงานรอบ ๖ เดือน), ประเด็นการเยียวยา (มอบเหรียญบางระจัน! ทพ.ถูกวางระเบิด ขณะช่วยสร้างบ้านผู้ยากไร้ที่ยะลา), ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (หลักฐานวงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายขว้างระเบิด ทพ. เจ็บ ๒), ประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต (สุขใจที่อัยเยอร์เวง), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ชมรมผู้รู้คุณแผ่นดิน พร้อมคณะ ซ่อมฐาน-มอบที่นอนให้ทหารใต้), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (หนังสั้นเรื่อง “กลัว”), และประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (เก็บตกข่าวฮาประสาทหาร: ให้กำลังใจ)
      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ และประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวก และในเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น  ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
      ประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อมวลชนอาเซียน ให้ความสนใจนำเสนอในรอบสัปดาห์ เป็นประเด็นที่สอดคล้องกับประเด็นข่าวที่สื่อมวลชนในประเทศให้ความสนใจและเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ คือ ข่าวมอเตอร์ไซค์บอมส์ที่จังหวัดนราธิวาส มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๓ คน และการประชุมของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่จบลงโดยที่หัวหน้าคณะพูดคุยของฝ่ายรัฐบาลไทย หรือ Party A แจ้งให้ตัวแทนคณะพูดคุยของฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐไทย หรือ Party B ทราบว่า ยังไม่สามารถให้ความเห็นชอบ TOR หรือบันทึกข้อตกลงร่วม ทำให้การพูดคุยไม่สามารถยกระดับจาก “การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ” (confidence building) ขึ้นสู่ “การพูดคุยอย่างเป็นทางการ”

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก (y = 1.8198ln(x)+14.797) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.5739ln(x) + 7.1101) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙)  

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
      เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วน ดังแสดงในตารางด้านล่าง
 

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

16 เม.ย. 59

5

5

1.00

17 เม.ย. 59

24

6

4.00

18 เม.ย. 59

23

12

1.92

19 เม.ย. 59

22

14

1.57

20 เม.ย. 59

24

9

2.67

21 เม.ย. 59

11

4

2.75

22 เม.ย. 59

22

5

4.40

23 เม.ย. 59

14

9

1.56

24 เม.ย. 59

11

2

5.50

25 เม.ย. 59

15

15

1.00

26 เม.ย. 59

14

11

1.27

27 เม.ย. 59

27

4

6.75

28 เม.ย. 59

11

0

-

29 เม.ย. 59

30

18

1.67


หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่  ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙
     ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

      ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่ลดลงเพียงเล็กน้อย y = -0.073ln(x) + 0.3459 ในขณะที่ข่าวเชิงลบในประเด็นนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.5707ln(x) - 0.3841) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙) ภาพข่าวเชิงลบได้แก่ ไทยไม่รับเงื่อนไขคู่เจรจาถกสันติสุขใต้ล่ม โดยในภาพรวม ความถี่ในประเด็นนี้ มีความถี่ค่อนข้างต่ำ

      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นมาก (y = 2.0619ln(x) - 0.2102) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ จยย.บอมบ์ ๒ จุดกลางเมืองนรา เจ็บ ๑๓ ราย สาหัส ๑ และ โจรใต้วางระเบิด ซุกเสาไฟที่ระแงะ ป็นต้น

      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง (y = 0.9422ln(x) - 0.9096)  ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย (y = -0.427ln(x) + 1.054) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่  มองมุมใหม่: จังหวัดจัดการตนเอง : นวัตกรรมของภาคประชาสังคม เป็นต้น ไม่มีภาพข่าวเชิงลบในสัปดาห์นี้ ในภาพรวมข่าวในประเด็นนี้ มีความถึ่ค่อนข้างต่ำ

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๒๓ - ๒๙ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก (y = 1.2954ln(x) + 1.312) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลงเพียงเล็กน้อย (y = -0.053ln(x) + 0.1668) อย่างไรก็ตามข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้มีความถี่ต่ำมาก สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า จัดนิทรรศการแสดงผลงานรอบ ๖ เดือน เป็นต้น และในสัปดาห์นี้ไม่มีภาพข่าวเชิงลบ

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก (y = 1.7172ln(x) + 0.5529) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (y = 0.0695ln(x) + 0.7321) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙) โดยข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ มีความถี่ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ 100 ปี สหกรณ์ไทย ร้อยใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ รอเก้อ! ปิดฉากนิคมฮาลาลปะนาเระ ๑๒ ปี ไร้เงานักลงทุน-ชงพื้นที่ "หนองจิก" พร้อม เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
             
ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
             ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
             ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
             ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙
             ๓.๑๐.๑ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera (www.aljazeera.com) อย่างไรก็ตามมีการกล่าวถึง “รูปแบบการก่อความไม่สงบที่เป้าหมายไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อโรงเรียน, ครู และนักเรียน” เป็นรูปแบบที่ใช้ในการเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศต่างๆ กว่า ๓๐ ประเทศ เช่น อาฟกานิสถาน, ปากีสถาน, ซีเรีย, ซูดานใต้, ยูเครน, เยเมน และ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ที่มา: http://www.aljazeera.com/indepth/opinion/2016/04/schools-students-spoils-war-160425123045539.html
             ๓.๑๐.๒  ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org) อย่างไรก็ตามมีข่าวการจัดประชุม/ถกแถลงในหัวข้อ “ผลจากการเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่สตรีที่มีต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศสมาชิก OIC” โดยจัดให้มีขึ้นในช่วงวันที่ ๑ – ๕ พ.ค.๕๙ ณ เมือง เจดดาห์ ประเทศซาอุดิอารเบีย
ที่มา: http://www.oic-oci.org/oicv3/topic/?t_id=11126&t_ref=4377&lan=en
             ๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/news)
             ๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/)
             ๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand)

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าวที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (จยย.บอมบ์ ๒ จุดกลางเมืองนรา เจ็บ ๑๓ ราย สาหัส ๑ และ โจรใต้วางระเบิด ซุกเสาไฟที่ระแงะ) และประเด็นพูดคุยเพื่อสันติสุข (ไทยไม่รับเงื่อนไขคู่เจรจาถกสันติสุขใต้ล่ม)
      ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวใน  ประเด็นการเมือง (มองมุมใหม่: จังหวัดจัดการตนเอง : นวัตกรรมของภาคประชาสังคม), ประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน (กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า จัดนิทรรศการแสดงผลงานรอบ ๖ เดือน), ประเด็นการเยียวยา (มอบเหรียญบางระจัน! ทพ.ถูกวางระเบิด ขณะช่วยสร้างบ้านผู้ยากไร้ที่ยะลา), ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (หลักฐานวงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายขว้างระเบิด ทพ. เจ็บ ๒), ประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต (สุขใจที่อัยเยอร์เวง), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ชมรมผู้รู้คุณแผ่นดิน พร้อมคณะ ซ่อมฐาน-มอบที่นอนให้ทหารใต้), ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (หนังสั้นเรื่อง “กลัว”), และประเด็นการบำรุขวัญกำลังพล (เก็บตกข่าวฮาประสาทหาร: ให้กำลังใจ)

      ๔.๑ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (
Awareness Level: AI)

       จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วน และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวก และเชิงลบในระดับสูง นำไปสู่แนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙  พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย (y = -0.407ln(x) + 2.0355) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงกว่าสัปดาห์ที่แล้ว

. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วงวันที่ ๒๓ – ๒๙ เม.ย.๕๙
      ประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สื่อมวลชนอาเซียน ให้ความสนใจนำเสนอในรอบสัปดาห์ เป็นประเด็นที่สอดคล้องกับประเด็นข่าวที่สื่อมวลชนในประเทศให้ความสนใจและเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ คือ ข่าวมอเตอร์ไซค์บอมส์ที่จังหวัดนราธิวาส มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๓ คน และการประชุมของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่จบลงโดยที่หัวหน้าคณะพูดคุยของฝ่ายรัฐบาลไทย หรือ Party A แจ้งให้ตัวแทนคณะพูดคุยของฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐไทย หรือ Party B ทราบว่า ยังไม่สามารถให้ความเห็นชอบ TOR หรือบันทึกข้อตกลงร่วม ทำให้การพูดคุยไม่สามารถยกระดับจาก “การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ” (confidence building) ขึ้นสู่ “การพูดคุยอย่างเป็นทางการ”
      ๕.๑ The Straits Times สื่อสิงคโปร์ รายงานเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน โดยอ้างข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ระบุว่า เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ได้เกิดเหตุระเบิดมอเตอร์ไซค์บอมส์ ๒ จุด ในพื้นที่อำเภอเมืองนราธิวาส จุดแรกใกล้กับสถานีตำรวจ สภ.เมือง และอีกจุดที่ร้านขายสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งชายเจ้าของร้านเห็นชายคนหนึ่ง ขี่มอเตอร์ไซค์มาจอดที่หน้าร้าน และซ้อนมอเตอร์ไซค์อีกคันออกไปทันที เมื่อพบพิรุธจึงโทรศัพท์แจ้งตำรวจทันที แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งระเบิดมอเตอร์ไซค์ได้ เนื่องจากเกิดระเบิดก่อนที่ตำรวจจะมาตรวจสอบมอเตอร์ไซค์คันดังกล่าว เหตุระเบิดทั้งสองจุดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย ๑๓ คน
ที่มาข้อมูล ; http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/13-hurt-as-twin-bombs-go-off-in-thai-south
      ๕.๒ สำนักข่าวเบอนามา ของทางการมาเลเซีย รายงาน เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ระบุว่า หน่วยงานความมั่นคงได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เศรษฐกิจอำเภอหาดใหญ่อย่างเข้มข้น เนื่องจากหน่วยงานข่าวกรองได้ข้อมูลว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบภายใต้การนำของนายเสรี แวมามุ ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และพื้นที่อำเภอเทพ อำเภอจะนะ มีแผนก่อเหตุไม่สงบในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1238657
      ๕.๓ สำนักข่าวเบอนามา รายงานเมื่อวันที ๒๕ เมษายน อ้างคำให้สัมภาษณ์ของเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งรัฐกลันตัน ระบุว่า มีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณตรวจตราพรมแดน ที่ติดกับแม่น้ำโกลก เนื่องจากขณะนี้น้ำในแม่น้ำแห้งขอด จึงต้องมีการเพิ่มการระมัดระวังมากเป็นพิเศษ พร้อมกันนั้นก็มีการขอความร่วมมือชาวบ้านในพื้นที่ให้เป็นหูเป็นตาแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ที่มีพบเห็นการกระทำผิดกฏหมายทั้งการค้าของเถื่อนและการลักลอบเข้าเมือง
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1239247 และ http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/tightened-security-control-to-curb-smuggling-due-to-receding-water-levels-i
      ๕.๔ สื่อมวลชนมาเลเซียและสิงคโปร์ รายงานข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงพบกลุ่มชาวโรฮีนจาหลบหนีเข้าเมืองที่ริมทางหลวงในจังหวัดชุมพร จำนวน ๑๔ คน ทั้งหมดถูกแก๊งค์ค้ามนุษย์ไล่ลงจากรถยนต์ก่อนถึงด่านตรวจบนถนนหลวง ชาวโรฮีนจากลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มแรกที่เจ้าหน้าที่ไทยพบ ภายหลังการค้นพบค่ายพักทาสแรงงานชาวโรฮีนจาและหลุมศพหมู่ที่ชายแดนด้านปาดังเบซาร์เมื่อปี ๒๕๕๘ นำไปสู่การปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์และการลาดตระเวณตรวจตราทางทะเลอย่างเข้มงวดส่งผลให้การค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจาลดฮวบ และไม่พบว่ามีการลักลอบเข้าเมือง เพื่อหาทางลักลอบเข้ามาเลเซีย ผ่านทางจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกเลย จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ ๒๗ เมษายน ที่พบชาวโรฮีนจา ๑๔ คนที่ข้างถนนในจังหวัดชุมพร ชาวโรฮีนจากลุ่มนี้ให้ข้อมูลกับตำรวจทางหลวงว่า เดินทางมาจากเมือง Mottama ในภาคตะวันออกของรัฐมอญ ผ่านเข้ามาทางชายแดนด้านจังหวัดกาญจนบุรี ก่อนที่จะมีนายหน้าค้ามนุษย์รับตัวเดินทางลงภาคใต้ เพื่อลักลอบเข้ามาเลเซีย แต่ก็มาถูกจับกุมเสียก่อนที่จังหวัดชุมพร
ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/regional/2016/04/27/rohingya-found-abandoned-in-forest-a-year-on-from-thai-crackdown/http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/14-rohingya-refugees-found-abandoned-in-forest-in-thailand-a-year-on-from-human และ http://www.themalaymailonline.com/world/article/rohingya-refugees-found-abandoned-in-forest-a-year-on-from-thai-crackdown
      ๕.๕ สำนักข่าวเบอนามา รายงานเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ระบุว่า พลเอกอักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ยืนยันว่าความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาภายในของไทย
      พลเอกอักษรา ระบุว่า องค์กรระหว่างประเทศทั้งองค์การความร่วมมือแห่งอิสลาม หรือ OIC องค์การสหประชาชาติ รวมทั้งสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน ต่างก็ให้การสนับสนุนกระบวนการพูดคุย และการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีเพื่อยุติความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1239518​
      ๕.๖ สื่อมาเลเซีย และสื่อที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนดำเนินงานจากรัฐบาลอเมริกัน รายงาน ผลการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ระบุว่า ฝ่ายรัฐบาลไทยหรือ Party B ไม่ให้ความเห็นชอบร่าง TOR ส่งผลให้กระบวนการพูดคุยหยุดชะงัก
      สำนักข่าวเบอนามา และ benarnews.org รายงานว่า เวทีการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.ครั้งล่าสุดที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ Party B ไม่ให้ความเห็นชอบร่าง TOR ซึ่งคณะอนุกรรมการจัดทำร่าง TOR ซึ่ง Party A นำโดยพลโทนักรบ บุญบัวทอง และParty B นำโดยมะสุกรี ฮารี ได้ให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้ ทำให้นายอาบูฮาฟิซ อัลฮากิมโฆษกของกลุ่ม Party B เชื่อว่า การปรับเปลี่ยนพลโทนักรบ พ้นจากเลขานุการคณะพูดคุยฯ ส่งผลต่อกระบวนการพูดคุยฯ
      ผู้แทนเจรจาฝ่ายมาราปาตานี กล่าวแก่เบนาร์นิวส์ ในวันพฤหัสบดีนี้ว่า คณะอนุกรรมการทางเทคนิคร่วมของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข และของฝ่ายมาราตานี ได้มีมติเห็นชอบในร่างแนวทางการแก้ปัญหาหรือ terms of reference ในก่อนหน้า และคาดว่าคณะเจรจาชุดใหญ่ จะสามารถลงนามรับรองได้ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมานี้
      “ฝ่ายไทยไม่พร้อมที่จะลงนามรับรองทีโออาร์” นายอาบู ฮาฟิซ อัล-ฮากิม โฆษกของมาราปาตานี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของกองกำลังแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในการเจรจากับรัฐบาลทหาร
      “เราไม่แน่ใจว่าปาร์ตี้เอ (รัฐบาลไทย) ต้องการพิจารณาทบทวนทีโออาร์นี้อีกครั้งหรือใหม่ หรือว่าจะร่างฉบับใหม่ หรือว่าจะยุติการเจรจาชั่วคราวไปก่อน เราได้รับการบอกกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไทยยังไม่ได้อนุมัติเห็นชอบต่อร่างทีโออาร์ฉบับนี้”
      “ทีโออาร์เป็นเหมือนกฎกติกา ที่หากไม่มีเสียแล้ว ก็ไม่สามารถมีการแข่งขันกีฬานั้นๆ ได้” นายอาบู ฮาฟิซ กล่าว
      “ไม่ว่าจะเป็นเพราะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ เราก็จะให้เวลา และไม่รีบรัด ในการพิจารณาและตัดสินใจใหม่อีกครั้ง” อาบู ฮาฟิซ กล่าว
      นอกจากนั้น อาบู ฮาฟิซ ยังได้กล่าวถึงการที่พลโทนักรบ ไม่ได้เข้าร่วมเจรจาในการพบปะกันอย่างสั้นๆ เมื่อวันพุธว่า “เขาเป็นเครื่องจักรของทีมเจรจาของไทยผู้ที่กอปรไปด้วยความรู้ และเข้าใจการพูดคุยในกระบวนการสันติภาพ”
      “ก่อนหน้าที่จะถูกโยกย้าย เขามีความหวังว่า ปาร์ตี้เอจะเห็นชอบต่อทีโออาร์ ทำให้เรารู้สึกว่าเมื่อไม่มีเขาในการเจรจา ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการพูดคุยอย่างมากมีเดียว” อาบู ฮาฟิซ กล่าวเพิ่มเติม
“สัญญาณที่ไม่ดี”
      ในประเทศไทย นักวิเคราะห์ เอ็นจีโอ และชาวบ้านต่างได้ให้ทัศนะต่อการสะดุดลงของการพูดคุยเพื่อสันติสุขอย่างกังวลใจ
      “แน่นอนว่ามันเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเลย สำหรับการเจรจาสันติภาพ” รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิเคราะห์อิสระเกี่ยวกับสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวแก่เบนาร์นิวส์
      รุ่งรวี ยังให้ความเห็นว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรที่จะให้คำอธิบายว่าทำไมประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขการพูดคุย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางคณะพูดคุยฯ ได้พยายามทำร่วมกันกับฝ่ายผู้เห็นต่างให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยใช้เวลานานหลายเดือน
      “ถึงตอนนี้ แนวโน้มที่รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจานั้นดูไม่สดใสนัก” รุ่งรวีกล่าว “พัฒนาการล่าสุดนี้ ได้ก่อให้เกิดความสงสัยต่อรัฐบาลทหารว่า มีความจริงจังในการดำเนินการพูดคุย ที่มีความหมายจริงจังหรือไม่ กระบวนการพูดคุยที่มีอยู่ในขณะนี้ มีความสำคัญต่อการค้นหาทางออกในการขจัดความขัดแย้งที่มีอยู่ในภาคใต้ให้หมดไป”
รอยร้าวในกลุ่มแบ่งแยกดินแดน
      นายโมฮัด อซิซุดดิน โมฮัด ซานิ ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย (Universiti Utara Malaysia) กล่าวถึง จุดหักเหของการเจรจาแก่เบนาร์นิวส์ว่า การเจรจาไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในขณะที่มีเหตุการณ์รุนแรง นายโมฮัด กล่าวว่า ในทัศนะของตน พัฒนาการของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าฝ่ายแบ่งแยกดินแดนเสียงแตก โดยต้องการที่จะแสดงการต่อต้านกระบวนการสันติภาพที่นำโดยมาราปาตานี ผ่านการก่อความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ในขณะที่กลุ่มฮาร์ดคอร์ได้เรียกร้องให้ใช้ไม้แข็งถึงขั้นการเรียกร้องเอกราช เหนือดินแดนปัตตานีจากประเทศไทย “การไม่เห็นด้วยต่อทีโออาร์ ยังมีสาเหตุมาจากการที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปในขบวนการแบ่งแยกดินแดน ต่างๆ แม้ว่าจะมีการจัดตั้งองค์กรมาราปาตานีขึ้นมา ในขณะนี้ มีกลุ่มขบวนการบางหมู่เหล่า ที่รู้สึกว่าตนไม่ได้ถูกยอมรับในกระบวนการพูดคุย”  นายโมฮัด กล่าว
ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/english/news/thai/Deep-South-peace-04282016070504.html
                  http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1240337
                  http://www.themalaymailonline.com/world/article/thai-pm-yet-to-approve-southern-thailand-peace-talks-terms-of-reference

      ๕.๕.๑ benarnews.org รายงานเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน เกี่ยวกับท่าทีและเหตุผลของ Party A ที่ไม่รับร่าง TOR
ในวันศุกร์ (29 เมษายน 2559)  พลเอกอักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยฯ ว่า ปัจจุบันการพูดคุยฯ ยังคงเดินหน้าอยู่ แม้ว่าคณะพูดคุยฯ จากไทยและองค์กรมารา ปาตานี จะมีความเห็นและข้อเสนอบางเรื่องที่ไม่ตรงกันก็ตาม
พลเอกอักษรา เปิดเผยว่า ข้อเสนอขอคณะพูดคุยฯ ฝ่ายไทย คือ ต้องการให้ฝ่ายเห็นต่างฯ ยุติการสร้างความรุนแรง และกำหนดพื้นที่ปลอดภัย เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับทั้งคณะพูดคุยฯ และประชาชน ขณะที่อีกฝ่ายเสนอให้รัฐบาลไทยทำบันทึกข้อตกลงร่วมเพื่อรับรองสถานะ และชื่อเรียกของกลุ่ม “มีเรื่องเดียวที่ฝ่ายเราและฝ่ายผู้เห็นต่างยังมองไม่ตรงกัน คือ ผมตั้งคณะทำงานเทคนิคให้ไปช่วยกันกำหนดพื้นที่ปลอดภัยเพื่อสร้างความไว้วางใจกับประชาชน แต่ทางฝ่ายผู้เห็นต่างอยากได้บันทึกข้อตกลงร่วม” พลเอกอักษรา กล่าวแก่สื่อมวลชนในกรุงเทพ
“หากยังมีเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ สังคมจะไม่ไว้ใจกระบวนการพูดคุยฯ เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องยุติความรุนแรงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้ได้ก่อน แล้วจึงมาร่วมกันจัดทำข้อตกลงให้ครอบคลุมการปฏิบัติในห้วงเวลาของระยะการสร้างความไว้วางใจ” พล.อ.อักษรา กล่าวเพิ่มเติม
                     

Comment