
๑. บทสรุปผู้บริหาร
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก ที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก นอกจากนั้นสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบมีสัดดส่วนที่ต่ำมากที่สุด จากแนวโน้ม และสัดส่วนดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
ข่าวเชิงลบ ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ค่อนข้างมาก เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ได้แก่ ยิงถล่มกำนันดังดับคารถฝีมือกลุ่มก่อความไม่สงบ และ จยย.บอมบ์เทพาตาย ๑ เจ็บระนาว บึ้มหลังสถานีรถไฟเด็ก ๑๑ ขวบรับเคราะห์), ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (ป่วนไม่เลิก โจรใต้ทำลายหลักฐาน เผากล้องวงจรปิด ๓ ตัวที่ปัตตานี), ประเด็นการเมือง (ปัตตานี และยะลา เป็นจังหวัดในหลายๆ จังหวัดที่มีสถานที่จัดอบรมเพื่อปรับทัศนคตินักการเมือง) และประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติ (๔ อำเภอสงขลาป่วนเชิงสัญลักษณ์ เชื่อฝีมือกลุ่มคัดค้านพูดคุยดับไฟใต้)
สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นกีฬา (โฟกัสลูกหนังไทย), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (รวบ ๒ ผู้ต้องหาสั่งการบึ้มหน้าสถานีรถไฟจะนะ), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (รองประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาและเยียวยาเด็กกำพร้าในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จัดโครงการรุ่งอรุณสานฝันให้น้อง), ประเด็นยาเสพติด (รวบพ่อค้ายาแก้ไอเถื่อน พร้อมใบกระท่อม ขายวัยรุ่นชายแดนใต้), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (กสม.ประณามเหตุบึ้มชายแดนใต้ จี้รัฐเร่งล่าคนร้าย), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (เตรียมรับภัยแล้ง), ประเด็นการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ (ไทยมองไทย: รักโรงเรียนเหมือนบ้าน), ประเด็นการศึกษา (เคาะประตูแคมปัสเบตงเปิดรั้ว ร.ร.ฝึกเพาะเห็ดช่วยครัวเรือนสู้วิกฤตยางพารา) และ ประเด็นการเยียวยา (อัญเชิญพวงมาลาหลวงวางหน้าศพ ร.ต.อ. ดับ เหตุไม่สงบใต้)
ประเด็นหลักๆเกี่ยวกับ จชต.จากสื่อมวลชนในอาเซียน มี ๒ ประเด็น คือ เหตุลอบวางระเบิด ๓ จุด ที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน และ กรณีที่มีรายงานข่าวว่าหน่วยงานความมั่นคง สิงคโปร์ แจ้งเตือนหน่วยงานความมั่นคงไทยให้จับตาชาวตุรกีเชื้อสายอุยกูร์ ๓ คน ซึ่งต่อมาพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่พบบุคคลผู้ต้องสงสัยว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายทั้ง ๓ คนใน ประเทศไทย
๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙
๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลงมาก
(y = -3.973ln(x) + 28.363) ในขณะที่ข่าวเชิงลบ (เส้นปะสีแดง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก (y = 1.1387ln(x) + 6.9511) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๙ – ๑๕ เม.ย.๕๙)
๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ และระดับผลกระทบต่อการรับรู้เฉลี่ยในแต่ละวัน
วันที่ |
จำนวนข่าวเชิงบวก (1) |
จำนวนข่าวเชิงลบ (2) |
ค่าสัดส่วน (3) = (1)/(2) |
ระดับผลกระทบฯ (4) |
9 เม.ย.59 |
25 |
4 |
6.250 |
2.31 |
10 เม.ย.59 |
33 |
1 |
33.000 |
3.09 |
11 เม.ย.59 |
21 |
12 |
1.750 |
1.06 |
12 เม.ย.59 |
22 |
15 |
1.467 |
0.49 |
13 เม.ย.59 |
26 |
9 |
2.889 |
1.54 |
14 เม.ย.59 |
22 |
12 |
1.833 |
0.91 |
15 เม.ย.59 |
20 |
19 |
1.053 |
0.18 |
16 เม.ย.59 |
5 |
5 |
1.000 |
(-0.10) |
17 เม.ย.59 |
24 |
6 |
4.000 |
2.03 |
18 เม.ย.59 |
23 |
12 |
1.917 |
0.83 |
19 เม.ย.59 |
22 |
14 |
1.571 |
0.86 |
20 เม.ย.59 |
24 |
9 |
2.667 |
1.42 |
21 เม.ย.59 |
11 |
4 |
2.750 |
1.40 |
22 เม.ย.59 |
19 |
4 |
4.750 |
2.22 |
๒.๓ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)
เมื่อนำค่าระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวกเฉลี่ยในในแต่ละวัน (ในคอลัมน์ที่ ๕) ข้อ ๒.๒ มาคำนวณหาการเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงแนวโน้ม พบว่า ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาหนี้มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย (y = -0.407ln(x) + 2.0355) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๙ – ๑๕ เม.ย.๕๙) โดยมีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวกในสัปดาห์นี้มีค่าเท่ากับ (+๑.๒๔) ซึ่งลดลงจากเดิม ที่มีค่าเท่ากับ (+๑.๔๒) ในสัปดาห์ที่แล้ว จากแนวโน้ม และค่าเฉลี่ยที่ลดลงดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์ ของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ดูรุนแรงกว่าสัปดาห์ที่แล้ว
๒.๔ เปรียบเทียบระดับผลกระทบต่อการรับรู้ของข่าวในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙
เมื่อนำค่าผลกระทบต่อการรับรู้ของข่าวในแต่ละประเด็นที่ปรากฏในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ มาคำนวณหาค่าผลกระทบต่อการรับรู้เฉลี่ยในแต่ละประเด็น พบว่าประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ในเชิงลบ ดังแสดงในแผนภาพข้างต้น เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ได้แก่ ยิงถล่มกำนันดังดับคารถฝีมือกลุ่มก่อความไม่สงบ และ จยย.บอมบ์เทพาตาย ๑ เจ็บระนาว บึ้มหลังสถานีรถไฟเด็ก ๑๑ ขวบรับเคราะห์), ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (ป่วนไม่เลิก!โจรใต้ทำลายหลักฐาน เผากล้องวงจรปิด ๓ ตัวที่ปัตตานี), ประเด็นการเมือง (ปัตตานี และยะลา เป็นจังหวัดในหลายๆ จังหวัดที่มีสถานที่จัดอบรมเพื่อปรับทัศนคตินักการเมือง) และประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติ (๔ อำเภอสงขลาป่วนเชิงสัญลักษณ์ เชื่อฝีมือกลุ่มคัดค้านพูดคุยดับไฟใต้)
สำหรับประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก ดังแสดงในแผนภาพข้างต้น เป็นข่าวใน ประเด็นกีฬา (โฟกัสลูกหนังไทย), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (รวบ ๒ ผู้ต้องหาสั่งการบึ้มหน้าสถานีรถไฟจะนะ), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (รองประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาและเยียวยาเด็กกำพร้าในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จัดโครงการรุ่งอรุณสานฝันให้น้อง), ประเด็นยาเสพติด (รวบพ่อค้ายาแก้ไอเถื่อน พร้อมใบกระท่อม ขายวัยรุ่นชายแดนใต้), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (กสม.ประณามเหตุบึ้มชายแดนใต้ จี้รัฐเร่งล่าคนร้าย), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (เตรียมรับภัยแล้ง), ประเด็นการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ (ไทยมองไทย: รักโรงเรียนเหมือนบ้าน), ประเด็นการศึกษา (เคาะประตูแคมปัสเบตงเปิดรั้ว ร.ร.ฝึกเพาะเห็ดช่วยครัวเรือนสู้วิกฤตยางพารา) และ ประเด็นการเยียวยา (อัญเชิญพวงมาลาหลวงวางหน้าศพ ร.ต.อ. ดับ เหตุไม่สงบใต้)
๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙
๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.215ln(x) + 0.8869) ในขณะที่ข่าวเชิงลบในประเด็นนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.3043 ln(x) - 0.3333) ในช่วงปลายสัปดาห์ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๙ – ๑๕ เม.ย.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวกได้แก่ เลขาฯ สมช.เชื่อ จักรยานยนต์บอมบ์เทพาเป็นกลุ่มเดิม ในส่วนของข่าวเชิงลบได้แก่ ๔ อำเภอสงขลาป่วนเชิงสัญลักษณ์ เชื่อฝีมือกลุ่มคัดค้านพูดคุยดับไฟใต้ โดยในภาพรวม ความถี่ในประเด็นนี้ มีความถี่ค่อนข้างต่ำ
๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลงในระดับหนึ่ง (y = -0.855ln(x) + 5.2527) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๙ – ๑๕ เม.ย.๕๙) อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ดังแสดงในแผนภาพ) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ ยิงถล่มกำนันดังดับคารถฝีมือกลุ่มก่อความไม่สงบ และ จยย.บอมบ์เทพาตาย ๑ เจ็บระนาว บึ้มหลังสถานีรถไฟเด็ก ๑๑ ขวบรับเคราะห์ เป็นต้น
๓.๓ ประเด็นการเมือง
ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลงเล็กน้อย (y = -0.485ln(x) + 1.3006)ในขณะที่ข่าวเชิงลบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (y = 0.0608ln(x) + 0.6049) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒ – ๘ เม.ย.๕๙) สำหรับในสัปดาห์นี้ไม่ปรากฏภาพข่าวเชิงบวก ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ปัตตานี และยะลา เป็นจังหวัดในหลายๆ จังหวัดที่มีสถานที่จัดอบรมเพื่อปรับทัศนคตินักการเมือง เป็นต้น ในภาพรวมข่าวในประเด็นนี้มีความถึ่ค่อนข้างต่ำ
๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลงเพียงเล็กน้อย (y = -0.035ln(x) + 3.9917) อย่างไรในก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างคงที่ ในระดับที่ต่ำมาก (y = -0.000006 ln(x) + 0.2153) ภาพข่าวเชิงบวกได้แก่ สนธิกำลัง ๓ ฝ่ายบุกรวบ ๒ มือบึ้มสถานีรถไฟจะนะ เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบได้แก่ นักวิชาการชี้ปัญหาใต้แนวโน้มรุนแรงมากขึ้น เป็นต้น
๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลงในระดับหนึ่ง (y = -0.868ln(x) + 5.6329)ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (y = 0.3633ln(x) - 0.0109) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๙ – ๑๕ เม.ย.๕๙) โดยข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ มีความถี่ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ยุบนิคมฮาลาลปัตตานี ตั้งเป็นศูนย์สินค้าโอทอปแทน เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะโอด สุดช้ำเบิกเงินกองทุนคืนไม่ได้ เป็นต้น
๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้ 1 ประเด็น ได้แก่ ป่วนไม่เลิก!โจรใต้ทำลายหลักฐาน เผากล้องวงจรปิด ๓ ตัวที่ปัตตานี
๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙
๓.๑๐.๑ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera (www.aljazeera.com)
๓.๑๐.๒ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org)
๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/news/)
๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/ )
๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand)
๓.๑๑. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๒ เม.ย.๕๙
ประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ๒ ประเด็น คือ เหตุลอบวางระเบิด ๓ จุด ที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน และ กรณีที่มีรายงานข่าวว่าหน่วยงานความมั่นคง สิงคโปร์ แจ้งเตือนหน่วยงานความมั่นคงไทยให้จับตาชาวตุรกีเชื้อสายอุยกูร์ ๓ คน ซึ่งต่อมาพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่พบบุคคลผู้ต้องสงสัยว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายทั้ง ๓ คนใน ประเทศไทย
๓.๑๑.๑ สำนักข่าวเบอนามา (bernama) ของทางการมาเลเซีย และมาเลเซียกินี่ (malaysiakini) เวปไซต์ข่าวเอกชนที่ได้รับความนิยมสูง รายงานเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ได้เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดแสวงเครื่อง ๓ จุด ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รัฐได้รับบาดเจ็บ ๑๐ คน จากเหตุระเบิด พลตำรวจตรีภัทรวุฒิ อังคนาวิน ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดนราธิวาส บอกว่า เหตุระเบิดที่อำเภอตากใบ ช่วงเวลา ๑๖.๓๐ น. ทำให้เจ้าหน้าที่ อส.อำเภอตากใบ ๕ คนได้รับบาดเจ็บ ก่อนหน้านี้ประมาณหนึ่งชั่วโมง คนร้ายก็ได้ลอบจุดระเบิดขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังลาดตระเวณในพื้นที่ระหว่างอำเภอหนองจิก กับ อำเภอเมือง เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ ๕ คนและบ่ายวันเดียวกัน ก็เหตุระเบิดที่คนร้ายลอบวางไว้ที่อำเภอบันนังสตาร์ จังหวัดยะลา แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1237489
https://www.malaysiakini.com/news/338599
๓.๑๑.๒ Straits Times สื่อสิงคโปร์รายงานเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน รายงานว่า หน่วยงานความมั่นคงของไทยได้รับการแจ้งเตือนจากหน่วยงานความมั่นคงสิงคโปร์ให้จับตาชาวตุรกีเชื้อสายอุยกูร์ ๓ คน ซึ่งต้องสงสัยว่าอาจก่อเหตุโจมตีผลประโยชน์ของชาวจีนในประเทศไทย
สื่อมวลชนสิงคโปร์ อ้างรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ ๒๑ เมษายน และอ้างรายงานข่าวจากสื่อภาษาอังกฤษของไทยอีกฉบับคือ The Nation ซึ่งระบุชื่อผู้ต้องสงสัยชาวตุรกีคนหนึ่ง ชื่อ Ali Yalcin วัย ๓๖ ปี ซึ่งพบว่ามีการเดินทางเข้าออกประเทศไทย ๒ ครั้งในปีนี้ ขณะที่ผู้ต้องสงสัยอีก ๒ คน ไม่ได้ระบุชื่อกำลังถูกเจ้าหน้าทีตรวจคนเข้าเมืองของไทยจับตาเฝ้าระวัง ต่อมาในวันเดียวกัน สำนักข่าวเบอนามา ของมาเลเซีย รายงานอ้างคำพูดของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันกับผู้สื่อข่าวว่า ไม่พบว่าบุคคลผู้ต้องสงสัยทั้ง ๓ คน ในประเทศไทย
ที่มาข้อมูล ; http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/thailand-puts-two-turkish-nationals-on-watchlist-after-singapore-alert
เกณฑ์ในการอ่านกราฟเส้น
ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์ |
ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์ |
มากกว่า 2.00 |
เพิ่มมาก |
1.10 – 2.00 |
เพิ่มค่อนข้างมาก |
0.60 – 1.00 |
เพิ่มในระดับหนึ่ง |
0.10 – 0.50 |
เพิ่มเล็กน้อย |
0.02 – 0.09 |
เพิ่มเพียงเล็กน้อย |
0.00 – 0.01 |
ค่อนข้างคงที่ |
(-0.01) – 0.00 |
ค่อนข้างคงที่ |
(-0.09) – (-0.02) |
ลดเพียงเล็กน้อย |
(-0.50) – (-0.10) |
ลดเล็กน้อย |
(-1.00) – (-0.60) |
ลดในระดับหนึ่ง |
(-2.00) – (-1.10) |
ลดค่อนข้างมาก |
น้อยกว่า (– 2.00) |
ลดมาก |
Comment