ฮาลา บาลา...นกเงือก และ…สันติสุข ใน 3 จชต.

 01 ส.ค. 2559 22:32 น. | อ่าน 6738
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+

      ป่าบาลาฮาลา เป็นผืนป่าดงดิบที่กล่าวได้ว่าอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย เป็นแหล่งอาศัยของ สัตว์ป่าหายาก เช่น กระซู่ เซียมัง หรือชะนีดำใหญ่ ซึ่งเป็นสัตว์ชนิดใหม่ที่พบในเมืองไทย นกหายาก อย่างนกเงือกหัวแรด และนกชนหิน เป็นที่รวมการกระจายของพรรณไม้ป่าหายากนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นปาล์มบังสูรย์ สุดยอดพรรณไม้ แห่งป่าฮาลาบาลา ดงมหาสดำ เฟิร์นพันธุ์โบราณที่มีต้นขนาดใหญ่ ตลอดจนสัตว์ป่าอีกมากมาย ที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบ ประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2539 ครอบคลุมผืนป่าบริเวณทิวเขาสันกาลาคีรี อันเป็นเส้นทางธรรมชาติ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ประมาณ 270,725 ไร่ ประกอบ ด้วยผืนป่า 2 ส่วน คือ ป่าฮาลาในเขต อำเภอเบตง จ.ยะลา อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส และป่าบาลา ในเขตอำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
(ที่มา: http://pantip.com/topic/32274812)

Image credit: https://www.google.co.th/maps/@5.8045775,101.8186917,2996m/data=!3m1!1e3

ความสับสนระหว่าง ป่าบาลาฮาลา กับ ป่าฮาลาบาลา ???
 

Image credit: http://www.oknation.net/blog/localbetong/2012/11/03/entry-2

      เนื่องจากบางท่านก็เรียก “ป่าฮาลา-บาลา” แต่บางท่านก็เรียก “ป่าบาลา-ฮาลา” ดังนั้นจึงทำให้คนที่ได้ยินได้ฟัง เกิดความสับสนว่าแท้จริงแล้ว ชื่อที่ถูกต้องของป่าแห่งนี้ คือ อะไรกันแน่ หากไปดูป้ายของกรมป่าไม้ ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จะเขียนไว้ว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา” แต่ผู้คนกลับเรียกป่าแห่งนี้ว่า “ป่าบาลา-ฮาลา” อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาข้อมูลเชิงท้องถิ่นแล้ว พบว่าชาวบ้านในฝั่งอำเภอเบตง จังหวัดยะลา จะเรียกป่าแห่งนี้ว่า “ป่าฮาลา-บาลา และชาวบ้านฝั่งอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จะเรียกป่าแห่งนี้ว่า “ป่าบาลา-ฮาลา” ทั้งนี้คำว่า “บาลา”มาจากคำว่า “บาละห์” แปลว่าหลุดหรือปล่อย อันมาจาก ช้างหลุดเข้าป่าที่ป่าฝั่งอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส และ “ฮาลา” ก็คือ ทางผ่าน ทางอพยพ คนอพยพ คือ คนที่อพยพมาจากการแตกของเมืองปัตตานีในสมัยอดีต มาตั้งหลักทำกินเป็นหมู่บ้าน ชุมชนกลางป่าดงดิบแห่งนี้นั่นเอง สรุปแล้วก็คือ เป็นความพอใจของชาวบ้านในแต่ละฝั่ง (ฝั่งเบตง กับฝั่งแว้ง) ที่จะเรียกในแบบของตนนั่นเอง
(ที่มา:http://www.oknation.net/blog/localbetong/2012/11/03/entry-2)

อัญมณีมีปีก แห่ง ป่าฮาลา บาลา....

Image credit: http://i1.treknature.com/photos/8197/maleise_jaarvogel.jpg

      เนื่องจาก ผืนป่าฮาลา-บาลา เป็นผืนป่าที่ยังคงมีความสมบูรณ์ของป่า คงความบริสุทธิ์ เป็นอาณาจักรพงไพรที่คุ้มภัยให้แก่สัตว์ป่าทั้งน้อยใหญ่มากกว่า 600 ชนิด รวมทั้งยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่รอการสำรวจค้นพบใหม่ ดังเช่น รายงานการค้นพบ ชะนีดำใหญ่ หรือเซียงมัง (Hylobates syndactylus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเฉพาะในป่าแห่งนี้ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของกระซู่ ( Dicerorhinus sumatrensis) สัตว์ที่เคยคาดว่าได้สูญพันธุ์ไปจากป่าแห่งนี้ไปแล้ว ที่ยังพบร่องรอยอยู่ในป่าพื้นที่รอยต่อชายแดนไทยและมาเลเซีย
      เทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน้อยใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชุมชนในภาคใต้ตอนล่าง  เช่น  แม่น้ำบางนรา  แม่น้ำสายบุรี  แม่น้ำปัตตานี  แม่น้ำเทพา  คลองฮาลา  คลองโต๊ะโม๊ะ เป็นต้น  ด้วยตำแหน่งที่ตั้ง  และมีปริมาณน้ำฝนที่ตกเกือบตลอดทั้งปี  โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,560 มิลลิเมตร และอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส  ทำให้ป่าแห่งนี้ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นที่มีลักษณะพิเศษ  โดยพรรณไม้เกือบทั้งหมดจัดเป็นเขตพืชพรรณของมาเลเซีย  ซึ่งจะไม่พบในป่าแห่งอื่นของประเทศไทย  โครงสร้างป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์แบบ ประกอบด้วยเรือนยอดหลายชั้นซ้อนทับกัน  มีไม้เด่นเป็นไม้ในวงศ์ยาง (Dipterocarpaceae)  เช่น ต้นสยา ( Shorea spp.) ซึ่งต้นไม้ใหญ่ เป็นที่อาศัยทำรังที่สำคัญของเหล่านกเงือกหลากหลายชนิด  บางชนิดไม่พบอีกแล้วในผืนป่าแห่งอื่น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกที่มีขนาดใหญ่   การมีนกเงือกในพื้นที่มากแสดงให้เห็นว่าพื้นที่นั้นมีความอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณ และความหลากหลายของพืชและสัตว์มากพอที่จะรองรับประชากรของนกเงือกจำนวนมากได้ นกเงือกจึงถูกใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า  (Indicator species) เป็นสัญลักษณ์ของป่าดิบ ซึ่งในอดีตพบได้เกือบทั่วทุกหนแห่งในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันหากต้องการเห็นนกเงือกต้องเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น เมื่อนกเงือกลดจำนวนลงไป ก็จะส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศของป่า สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆก็จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจทำให้พันธุ์ไม้ที่เป็นอาหารหลักของนกเงือกหายไปจากป่า เนื่องจากไม่มีสัตว์ที่ช่วยกระจายพันธุ์ไม้ให้
(ที่มา: http://paro6.dnp.go.th/Hornbill/hornbill3.htm)

ฮาลา-บาลา..นกเงือก...และ อัตลักษณ์แห่ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
      ความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าฮาลา – บาลา ซึ่งเป็นระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่สามารถตั้งสมญานามได้ว่าเป็น “Amazon of Asian” สามารถชี้วัดด้วยการดำรงอยู่ของนกเงือก ซึ่งถือเป็นอัญมณีแห่งป่าฮาลา – บาลา ในทำนองเดียวกัน “สันติสุข” ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เกิดขึ้นจากความสมดุลของระบบนิเวศน์ของผู้คนในพื้นที่ที่ถูกหลอมรวมเชื่อมโยงโดยมิติทางวัฒนธรรม หาก “สันติสุข” ในพื้นที่ขาดตกบกพร่องไป ก็สะท้อนให้เห็นว่าเกิดความผิดปกติในระบบนิเวศน์ของผู้คนในพื้นที่...การสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศน์นี้ เพื่อนำสันติสุขกลับมา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฟื้นคืนกลับมาโดยเร็ว

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.