3 + 3 + 3 Model เพื่อขับเคลื่อน หนองจิก-เบตง-โกลก สู่ 3 Prototype City

 01 ส.ค. 2559 22:12 น. | อ่าน 3911
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+

      จากการที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อมาติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งการรื้อฟื้นโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ และมุ่งเดินหน้าโครงการดังกล่าวอย่างเต็มที่ ภายใต้แนวทาง “สานพลังประชารัฐ” เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และต่อเนื่อง ทั้งนี้ สร้าง Impact ผ่านการลงทุนขนาดใหญ่ ในลักษณะ Big Push  ให้กับพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งถือว่าเป็นการใช้มิติทางเศรษฐกิจ ผสมผสานกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้กับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับประเทศโลกมุสลิม

3 ที่หนึ่ง 3 พลังประชารัฐ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในมิติทางเศรษฐกิจ
      ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ศอ.บต.นั้น เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ทำให้การบริหารและการแก้ไขปัญหา เป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัว ทันต่อสถานการณ์ อีกทั้งมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน มีรัฐมนตรี 17 คน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 11 คน ผู้แทนภาคประชาชน 5 คน เป็นกรรมการ มีเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นเลขานุการ ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนงาน/โครงการ/งบประมาณ รวมทั้งเร่งรัด กำกับ ติดตาม การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับหอการค้า และสภาอุตสาหกรรม ก็จะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ คือ ศอ.บต. กับภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามแนวทาง “สานพลังประชารัฐ”

3 ที่สอง 3 Model อุตสาหกรรมและบริการ
      การพัฒนาทั้ง 3 เมือง จะใช้ต้นทุนทางด้านทรัพยากร และความได้เปรียบในเชิงพื้นที่ ของแต่ละเมือง เป็นจุดแข็งในการพัฒนาสู่การเป็นเมืองต้นแบบ

      อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้า ผสมผสาน มุ่งเน้นการพัฒนาการค้าขาย วิสาหกิจชุมชน การเกษตร การทำการตลาดแบบ e-Market เชื่อมไปยังเมืองอื่นๆ  โดยอาศัยความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐานของเกษตรอุตสาหกรรม ที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว ได้แก่ การลงทุนของเอกชนขนาดใหญ่ และเอกชนในพื้นที่ ที่ลงทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นโรงสกัดน้ำมันปาลม์  โรคไฟฟ้า Bio Gas และโรงปุ๋ย โดยเงินลงทุนดังกล่าว เป็นเงินลงทุนดอกเบี้ยต่ำ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ การพัฒนาต่อยอดให้เป็นเมืองต้นแบบนั้น คาดว่าจะมีการลงทุนเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 12,000 – 15,000 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจรในอีก 4 กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากปาล์ม การแปรรูปพืชเกษตรอื่นๆ การแปรรูปสินค้าประมง และการพลังด้านพลังงาน

      อำเภอเบตง จังหวัดยะลา กรรมการหอการค้า อ.เบตง จังหวัดยะลา โดยนายหัสดี แซ่เยี่ยง กรรมการหอการค้า อ.เบตง จังหวัดยะลา เปิดเผยว่า จากกรณีนี้ที่ผ่านมาทางหอการค้าจังหวัดยะลา ได้มีประชุมหารือร่วมกับทาง ศอ.บต. ถึงเรื่องพลังงานอย่างยั่งยืน เพราะในปีที่ผ่านมาอำเภอเบตง ประสบกับปัญหาเรื่องของไฟฟ้าดับ ประมาณ 16-18 ชั่วโมง ทำผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ จึงทำหนังสือถึง ศอ.บต. และได้มีการผลักดันนำเสนอไปยังรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหา จนกระทั่งรัฐบาลเตรียมผลักดันโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยให้พัฒนา อ.เบตง จ.ยะลา ให้เป็นเมืองที่พึ่งตนเอง ด้านพลังงานแบบยั่งยืน
      สำหรับพลังงานที่เบตงทุกวันนี้ ได้รับมาจากโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลางเพียงอย่างเดียว ซึ่งเบตงเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของทางจังหวัดยะลา มีนักท่องเที่ยว นักลงทุน เดินทางเข้ามาในพื้นที่ อ.เบตง จำนวนมาก ถ้าพลังงานไม่มีความมั่นคง จะส่งผลกระทบให้การลงทุน และนักท่องเที่ยวในพื้นที่ จ.ยะลา และ อ.เบตง ในอนาคตในพื้นที่ อ.เบตง ขณะนี้มีการขออนุญาตในการดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล จำนวน 2 โรง คือ โรงที่ 1 อยู่ที่ กม.19 ต.ตาเนาะแมเราะ ในพื้นที่กว่า 100 ไร่ ขนาดกำลังผลิต 5 MW ซึ่งขณะนี้ในอนุญาตเรียบร้อยแล้ว กำลังดำเนินการก่อสร้าง และโรงที่ 2 คือที่ กม.11 ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการขอใบอนุญาต โดยโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล จะใช้วัตถุดิบจากเศษไม้ยางพาราในพื้นที่ ที่มีอยู่จำนวนมาก มาเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า คาดจะเป็นแหล่งพลังงานเพิ่มให้กับอำเภอเบตงได้ ซึ่งหากโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลทั้ง 2 โรงเกิดขึ้น จะทำให้ความเชื่อมั่นด้านการลงทุน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจในพื้นที่ มีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น จะมีนักลงทุนเดินทางเข้ามาในพื้นที่ จ.ยะลา และ อ.เบตง มากยิ่งขึ้น


      อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส จะพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพของการให้เป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนระหว่างประเทศที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน จังหวัดนราธิวาส มีการค้าชายแดนระหว่างไทย – มาเลเซีย โดยมีช่องทางผ่านเข้า – ออก 3 ช่องทาง คือ ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก, ด่านศุลกากรตากใบ และด่านบูเก๊ะ โดยมีมูลค่าการค้าชายแดน ไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาทต่อไป  โดยในขั้นต้น  พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้เปิดด่านบูเก๊ะตา ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส ภายในปี 2560 โดยให้เร่งรัดการพัฒนาด่านศุลกากรบูเก๊ะตา ตามข้อเสนอของจังหวัดนราธิวาส 

3 ที่สาม 3 ปี สองระยะ
      รัฐบาลมีแผนปฏิบัติการที่จะขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วง 2560-2562 จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่พิเศษ จัดตั้งกองทุนส่งเสริมนักธุรกิจรุ่นใหม่ ออกพันธบัตรพัฒนาชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรับปรุงท่าเรือปัตตานี ขยายสถานีรถไฟโคกโพธิ์ ปรับปรุงระบบประปา ไฟฟ้า และการขนส่ง เป็นต้น ส่วนระยะที่ 2 ช่วง 2563 - 2565 จะเชื่อมโยงการขนส่งจาก 3 จังหวัด ไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์
      เพื่อให้การขับเคลื่อนโมเดล 3 + 3 + 3 Prototype City เมืองต้นแบบ บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่ ศอ.บต. เสนอ ในส่วนของข้อเสนอเงื่อนไขของภาคเอกชน เพื่อจูงใจธุรกิจขนาดใหญ่ และเอกชนที่มีศักยภาพ นายกรัฐมนตรีรับข้อเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวบรวมข้อเสนอ แล้วนำเสนอผ่านสำนักส่งเสริมการลงทุนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง
      การริเริ่มโครงการ 3 เมืองต้นแบบดังกล่าว ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเวอร์ชั่น 3 จชต. 4.0 ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งประเทศไทย 4.0 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้  

ที่มา: 1. http://www.jpp.moi.go.th                             3. http://nwnt.prd.go.th/
        2. http:// www.posttoday.com                           4. http://www.sbpac.go.th    

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.