สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๑๑- ๑๘ ก.พ. ๖๐

 25 ก.พ. 2560 23:51 น. | อ่าน 2325
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

  1. บทสรุปผู้บริหาร
          
    ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ข่าวเชิงบวกมีความถี่ลดลง ร้อยละ ๑๑ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบมีความถี่ลดลงร้อยละ ๑๙ เมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว  (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐)
          ในสัปดาห์นี้ ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ คือ ประเด็นสิทธิมนุษยชน (แอมเนสตี้ย้ำไทยถอนฟ้อง ๓ นักปกป้องสิทธิฯ ที่เผยรายงานทรมานภาคใต้) และ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ได้แก่ ๑) เผาป่วน‘ยะลา’ โจรใต้ลงมือดักหน้า OIC ลงพื้นที่ รง.ไม้ยาง-บริษัทก่อสร้าง, ๒) คนร้ายลอบวางบึ้มใส่ชุดคุ้มครองครูที่ปัตตานี โชคดีไร้เจ็บตาย, และ ๓) โจรใต้จุดระเบิดดักสังหาร ชาวบ้านจะแนะเจ็บ ๓)
          ในส่วนของประเด็นเชิงบวก คือ ประเด็น รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (ได้แก่ ๑) พล.อ.อุดมเดช เตือน โจรใต้กลุ่มใหม่ แฝงหน่วยข้าราชการ., ๒) เบตงตรวจเข้มด่านชายแดน หลังมาเลย์รวบแก๊งไซซะนะ, และ ๓) มทภ.๔ ประชุมสันติสุข ๔ จว. เน้นลงพื้นที่หาความจริง ย้ำสถานการณ์ดีขึ้น),  ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (บิ๊กตู่ เนื้อหอม ชาวบ้านรัก อยากให้กุหลาบ วาเลนไทน์คึกคัก คู่รักแห่จัดวิวาห์), ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (นวัตกรรมกระบวนการสันติภาพในปี ๒๐๑๖ การรับฟังเสียงของผู้ไร้อำนาจและผู้คนชายขอบ), ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต (ปชช.แน่นงานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (อลังการงานสมโภชวัดกวนอิม เชื่อมสัมพันธ์ไทย-มาเลย์), ประเด็นการศึกษา (เปิดโลกมุสลิม ตอน : น้องใหม่ไคโร ๖๐), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (ภริยาท่านผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เคียงข้างท่านผู้ว่าฯ ช่วยเหลือประชาชนอย่างเข้มแข็ง), ประเด็นยาเสพติด (ปส.โชว์ผลงานจับยาบ้ากว่า ๑.๕ ล้านเม็ด ซิวต่างชาติซุกโคเคนในครีมทาผิว), และ ประเด็นกีฬา (ฟุตบอลสร้างสุขปัตตานีเชื่อมั่นไร้เหตุปั่นป่วน)
          จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ไม่แตกต่างจากเมื่อเทียบสัปดาห์ที่แล้ว        (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ไม่แตกต่างจากสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐)

    ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ สรุปได้ดังนี้
          ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง มีประเด็นดังนี้ คือ โฆษกกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ (Party B) ที่เรียกตัวเองว่า “มาราปาตานี” ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวของทางการมาเลเซียว่า คณะทำงานทำงานด้านเทคนิคได้มีการหารือและได้ข้อสรุปกรอบแนวทางการจัดสร้างพื้นที่ปลอดภัยใน จชต. แล้ว เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะพูดคุยสันติสุข จชต. พิจารณา ปลายเดือนกุมภาพันธ์ นี้
          นอกจากนี้ก็มีประเด็นความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน (Road Charge) ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียประกาศว่าจะจัดเก็บจากรถยนต์ทะเบียนต่างประเทศที่วิ่งผ่านเข้าประเทศด้านพรมแดนที่ติดกับประเทศไทยภายในกลางปี ๒๕๖๐ ล่าสุดมีความคืบหน้ารัฐบาลมาเลเซียตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคนิค และแรงกดดันจากภาคการเมืองและธุรกิจในรัฐยะโฮร์ให้เร่งจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนจากรถยนต์ที่เดินทางผ่านพรมแดนทางด้านประเทศไทยโดยเร็ว ทั้งนี้พวกเขามีความหวังว่าจะทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือลดค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่วิ่งเข้าประเทศจากมาเลเซีย และผู้เชี่ยวชาญด้านงานปราบปรามยาเสพติดและอาชญากรรม องค์การสหประชาชาติ เสนอแนะให้ประเทศอาเซียนร่วมมือแก้ปัญหาภัยการก่อการร้าย ด้วยการปรับปรุงระบบกฏหมายต่อต้านการก่อการร้ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

    ๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐
          ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

          ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -1.959ln(x) + 19.578) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๑๑ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.2844ln(x) + 3.0044) อย่างไรก็ตามในมิติของจำนวนข่าว มีจำนวนน้อยกว่าสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ร้อยละ ๑๙

          ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
                เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

    วัน/เดือน/ปี

    จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

    จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

     ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

    2017-02-04

    16

    4

    4.00

    2017-02-05

    17

    0

    17.00

    2017-02-06

    24

    2

    12.00

    2017-02-07

    12

    2

    6.00

    2017-02-08

    17

    5

    3.40

    2017-02-09

    17

    5

    3.40

    2017-02-10

    14

    8

    1.75

    ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

    6.79

    2017-02-11

    18

    6

    3.00

    2017-02-12

    22

    6

    3.67

    2017-02-13

    18

    2

    9.00

    2017-02-14

    23

    2

    11.50

    2017-02-15

    10

    4

    2.50

    2017-02-16

    17

    1

    17.00

    2017-02-17

    12

    5

    2.40

    2017-02-18

    2

    1

    2.00

    ค่าสัดส่วนเฉลี่ย

    6.38

    หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

    ๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐
          ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

          ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข ๑ ข่าว เท่ากับ สัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบฯ ไม่กฎข่าวเชิงลบมา ๒ สัปดาห์แล้ว (๔ – ๑๘ ก.พ.๖๐) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ นวัตกรรมกระบวนการสันติภาพในปี ๒๐๑๖ การรับฟังเสียงของผู้ไร้อำนาจและผู้คนชายขอบ เป็นต้น

          ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

          ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.2ln(x) + 1.4946) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๙ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ภาพข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) เผาป่วน‘ยะลา’ โจรใต้ลงมือดักหน้า OIC ลงพื้นที่ รง.ไม้ยาง-บริษัทก่อสร้าง, ๒) คนร้ายลอบวางบึมใส่ชุดคุ้มครองครูที่ปัตตานี โชคดีไร้เจ็บตาย, และ ๓) โจรใต้จุดระเบิดดักสังหาร ชาวบ้านจะแนะเจ็บ ๓ เป็นต้น

          ๓.๓ ประเด็นการเมือง

          ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.062ln(x) + 0.5826) อย่างไรก็ตามในมิติของจำนวนข่าว มีจำนวนข่าวมากกว่าสัปดาห์ที่แล้ว จำนวน ๑ ข่าว ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.1901ln(x) - 0.2202) กล่าวคือมีข่าวเชิงลบจำนวน ๑ ข่าว จากเดิมที่ไม่มีภาพข่าวเชิงลบมา ๗ สัปดาห์แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ภาพข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองฯ ได้แก่ ๑) โฆษกฯ ยืนยัน รัฐบาลไม่ละเลยวิถีชุมชนและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ชี้สร้างโรงไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ย้ำ กฟผ.ดำเนินการรัดกุมทุกขั้นตอน วอนผู้เห็นต่างแสดงความเห็นสร้างสรรค์ ไม่ก่อความวุ่นวาย และ ๒) มทภ.๔ เตรียมเชิญ แกนนำต้านโรงไฟฟ้า ถกหาทางออก เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ม็อบค้านโรงไฟฟ้ายันปักหลักชุมนุมรอคำตอบจากรัฐบาล เป็นต้น

          ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

          ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.272ln(x) + 0.6273) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็น รปภ.ฯ มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ (มีข่าวเชิงลบจำนวน ๑ ข่าว เท่ากับจำนวนข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐)) ภาพข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ฯ ได้แก่ ๑) อุดมเดช’เตือน โจรใต้กลุ่มใหม่ แฝงหน่วยขรก., ๒) เบตงตรวจเข้มด่านชายแดน หลังมาเลย์รวบแก๊งไซซะนะ, และ ๓) มทภ.๔ ประชุมสันติสุข ๔ จว. เน้นลงพื้นที่หาความจริง ย้ำสถานการณ์ดีขึ้น เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ยิงนายก อบต.ปิยามุมัง ยังไม่คืบ เร่งหาที่มารถคนร้าย เป็นต้น

          ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

          ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.803ln(x) + 4.0267) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๕๖ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) ในส่วนของข่าวเชิงลบ ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.215ln(x) + 0.6002) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๕๐ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ บิ๊กตู่ เนื้อหอม ชาวบ้านรัก อยากให้กุหลาบ วาเลนไทน์คึกคัก คู่รัแห่จัดวิวาห์    เป็นต้น สำหรับภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ผวาหวยเก๊! เหลือเต็มแผงลูกค้ากลัวไม่กล้าซื้อจี้ ตำรวจจับ เป็นต้น

          ๓.๖ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
                ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับ จชต. จำนวน ๑ ข่าว ได้แก่ ข่าว แอมเนสตี้ย้ำไทยถอนฟ้อง ๓ นักปกป้องสิทธิฯ ที่เผยรายงานทรมานภาคใต้
          ๓.๗ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล

                ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล ที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
          ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
                ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
          ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
                ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

    ๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
          ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

    ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ สรุปได้ดังนี้
    1. ประเด็นสิทธิมนุษยชน ได้แก่ แอมเนสตี้ย้ำไทยถอนฟ้อง ๓ นักปกป้องสิทธิฯ ที่เผยรายงานทรมานภาคใต้
    2. ประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) เผาป่วน‘ยะลา’ โจรใต้ลงมือดักหน้า OIC ลงพื้นที่ รง.ไม้ยาง-บริษัทก่อสร้าง, ๒) คนร้ายลอบวางบึ้มใส่ชุดคุ้มครองครูที่ปัตตานี โชคดีไร้เจ็บตาย, และ ๓) โจรใต้จุดระเบิดดักสังหาร ชาวบ้านจะแนะเจ็บ ๓
    ในส่วนของประเด็นเชิงบวก สรุปได้ดังนี้
    1. ประเด็น รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน ได้แก่ ๑) พล.อ.อุดมเดช เตือน โจรใต้กลุ่มใหม่ แฝงหน่วยข้าราชการ., ๒) เบตงตรวจเข้มด่านชายแดน หลังมาเลย์รวบแก๊งไซซะนะ, และ ๓) มทภ.๔ ประชุมสันติสุข ๔ จว. เน้นลงพื้นที่หาความจริง ย้ำสถานการณ์ดีขึ้น
    2. ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ ได้แก่ บิ๊กตู่ เนื้อหอม ชาวบ้านรัก อยากให้กุหลาบ วาเลนไทน์คึกคัก คู่รักแห่จัดวิวาห์
    3. ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข ได้แก่ นวัตกรรมกระบวนการสันติภาพในปี ๒๐๑๖ การรับฟังเสียงของผู้ไร้อำนาจและผู้คนชายขอบ
    4. ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ได้แก่ ปชช.แน่นงานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
    5. ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน ได้แก่ อลังการงานสมโภชวัดกวนอิม เชื่อมสัมพันธ์ไทย-มาเลย์
    6. ประเด็นการศึกษา ได้แก่ เปิดโลกมุสลิม ตอน : น้องใหม่ไคโร ๖๐
    7. ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ ภริยาท่านผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เคียงข้างท่านผู้ว่าฯ ช่วยเหลือประชาชนอย่างเข้มแข็ง
    8. ประเด็นยาเสพติด ได้แก่ ปส.โชว์ผลงานจับยาบ้ากว่า ๑.๕ ล้านเม็ด ซิวต่างชาติซุกโคเคนในครีมทาผิว
    9. ประเด็นกีฬา ได้แก่ ฟุตบอลสร้างสุขปัตตานีเชื่อมั่นไร้เหตุปั่นป่วน

          ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

          จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วน และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐ พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในภาพรวม มีแนวโน้มลดลง  (y = -0.25ln(x) + 2.395) อย่างไรก็ตามในมิติของค่าผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวกไม่แตกต่างไปจากสัปดาห์ที่แล้ว (๔ – ๑๐ ก.พ.๖๐) จากระดับผลกระทบดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ไม่แตกต่างจากสัปดาห์ที่แล้ว

    ๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑๑ – ๑๘ ก.พ.๖๐
          ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง มีประเด็นดังนี้ คือ โฆษกกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ (Party B) ที่เรียกตัวเองว่า “มาราปาตานี” ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวของทางการมาเลเซียว่า คณะทำงานทำงานด้านเทคนิคได้มีการหารือและได้ข้อสรุปกรอบแนวทางการจัดสร้างพื้นที่ปลอดภัยในจชต.แล้ว เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะพูดคุยสันติสุข จชต.พิจารณา ปลายเดือนกุมภาพันธ์ นี้
          นอกจากนี้ก็มีประเด็นความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน (Road Charge) ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียประกาศว่าจะจัดเก็บจากรถยนต์ทะเบียนต่างประเทศที่วิ่งผ่านเข้าประเทศด้านพรมแดนที่ติดกับประเทศไทยภายในกลางปี ๒๕๖๐ ล่าสุดมีความคืบหน้ารัฐบาลมาเลเซียตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคนิค และแรงกดดันจากภาคการเมืองและธุรกิจในรัฐยะโฮร์ให้เร่งจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนจากรถยนต์ที่เดินทางผ่านพรมแดนทางด้านประเทศไทยโดยเร็ว ทั้งนี้พวกเขามีความหวังว่าจะทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือลดค่าธรรมเนียมรถยนต์ที่วิ่งเข้าประเทศจากมาเลเซีย และผู้เชี่ยวชาญด้านงานปราบปรามยาเสพติดและอาชญากรรม องค์การสหประชาชาติ เสนอแนะให้ประเทศอาเซียนร่วมมือแก้ปัญหาภัยการก่อการร้าย ด้วยการปรับปรุงระบบกฏหมายต่อต้านการก่อการร้ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
          ๕.๑ สำนักข่าวเบอนามา ของทางการมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ว่า นายอาบูฮาฟิซ อัลฮากิม โฆษกกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ หรือ Party B ที่เรียกตัวเองว่า “มาราปาตานี” ให้สัมภาษณ์เบอนามา ว่า คณะทำงานด้านเทคนิคของ Party A และ Party B ได้มีการหารือเกี่ยวกับกรอบการจัดสร้างพื้นที่ปลอดภัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียบร้อยแล้ว
          อาบูฮาฟิซ บอกว่า ข้อสรุปของการหารือในประเด็นที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าของกระบวนการพูดคุย ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวจะนำเสนอให้คณะพูดคุยสันติสุขพิจารณา ในที่ประชุมปลายเดือนกุมภาพันธ์ นี้ พร้อมกับบอกว่า ทั้งสองฝ่ายอาจจะมีการออกแถลงการณ์ร่วมภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมพูดคุยสันติสุข
          อาบูฮาฟิซ ไม่ได้เปิดเผยสถานที่การจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมพูดคุยสันติสุข แต่คาดว่าน่าจะจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เหมือนเช่นครั้งก่อนๆ ก่อนหน้านี้อาบูฮาฟิซ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า โครงการนำร่องพื้นที่ปลอดภัยน่าจะเกิดขึ้นภายในปี ๒๕๖๐


    (Thai government and Mara Patani (Patani Consultative Council) negotiators have completed discussions on the technical aspects on the Safety Zones proposed for southern Thailand. Mara Patani's spokesman Dr Abu Hafiz al-Hakim said the conclusion of the talks marked a positive development on the contentious issue. "Both technical teams have completed discussions on the General Framework on Safety Zones Implementation. It will be forwarded to the Joint Working Group-Peace Dialogue Process (JWG-PDP) meeting at the end of this month," he told Bernama Saturday. Both sides according to him, will probably issue a joint statement to the media after the meeting later this month. He did not disclose the location of the meeting, but it will probably be held in Kuala Lumpur, similar to other meetings before this, in accordance with Malaysia's role as the facilitator to southern Thailand's peace process. Abu Hafiz had announced before this that a pilot project on Safety Zones in southern Thailand will be implemented within this year.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1330520​

          ๕.๒ สำนักข่าวเบอนามา รายงานเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ว่า ดาโต๊ะสรี อนิฟาห์ อามาน รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย ได้กล่าวในที่ประชุมว่า กระบวนการเจรจาต่อรอง ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ ว่า รัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความสำคัญกับบทบาทการเป็นคนกลางเจรจาต่อรองแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเป็นนโยบายที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมาผ่านช่องทางคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เพื่อเป็นเครืองมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เขาบอกว่า นโยบายนี้มีที่มาจากความปราถนาที่จะสร้างสันติภาพในภูมิภาคอาเซียน
          รมต.ต่างประเทศมาเลเซียบอกว่า มาเลเซียมีบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการเจรจาสร้างสันติภาพในภาคใต้ของฟิลิปินส์ในปี ๒๕๔๔ ซึ่งนำไปสู่การลงนามข้อตกลง Bangsamoro ระหว่างรัฐบาลฟิลิปินส์ กับกลุ่ม MILF ในปี ๒๕๕๗ และทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยตั้งแต่ปี ๒๕๕๖
          เขาบอกว่า สันติภาพและเสถียรภาพในพื้นที่ดังกล่าว จะสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการพัฒนา รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน รมต.ต่างประเทศ ย้ำถึงพื้นฐานของการทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพทั้งที่ฟิลิปินส์และไทยว่า มีหลักไม่กี่ประการ คือ ผู้อำนวยความสะดวกต้องเป็นนักการฑูตและนักเจรจาที่ผ่านการฝึกอบรม รวมทั้งต้องดำรงความไม่เป็นฝักเป็นฝ่ายและเป็นคนกลางที่ซื่อสัตย์ และที่สำคัญผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหา มิใช่ทำหน้าที่หยิบยื่นหรือเสนอทางแก้ปัญหาให้กับคู่เจรจา

    (Listing mediation as one of its priorities, Malaysia has throughout the two years on the UN Security Council consistently urged that mediation be used as a tool for resolving conflicts peacefully, said Foreign Minister Datuk Seri Anifah Aman.
    Sharing Malaysia's experience at the High-Level Conference on Mediation in Brussel, Belgium on Tuesday (Feb 14), Anifah said Malaysia's offer to mediate two peace processes at the regional level arose from its firm belief in mediation as the primary way to resolve conflicts peacefully.
    It also arose from a genuine desire to ensure that peace prevails in the Southeast Asian region.
    Malaysia was the Third Party Facilitator for the Southern Philippines Peace Process, a role its assumed in 2001, and the endeavour led to the signing of the Comprehensive Agreement on the Bangsamoro between the government of the Philippines and the Moro Islamic Liberation Front in 2014.
    Malaysia is also the facilitator to the Southern Thailand Peace Dialogue that has been on-going since 2013.
    "Peace and stability in these areas will contribute to the creation of an environment conducive for development, business and investment opportunities," Anifah said in his speech that was made available here today.
    He stressed that in mediating the two peace processes, Malaysia was guided by a few basic principles.
    "It is Malaysia's view that a good mediator has to be suitably experienced and be well trained in diplomacy and negotiation. He or she must be an impartial and honest broker.
    "He or she must also understand that the role of a mediator is to facilitate the resolution of issues rather than to impose a resolution upon the parties in conflict," he said.)\
    ที่มาข้อมูล ; http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1329294

          ๕.๓ themalaymailonline เผยแพร่บทความของ Jeremy Douglas ผู้แทนด้านปราบปรามยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งองค์การสหประชาติประจำสำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิค (UNODC) เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า ภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับภัยคุกคามการก่อการร้าย เห็นได้จากสถิติการจับกุมผู้ก่อการร้าย จำนวนผู้ก่อการร้ายที่เสียชีวิต และการก่อเหตุร้ายในปี ๒๕๕๙ รวมทั้งการประกาศขยายพื้นที่การก่อการร้ายในอาเซียน ของกลุ่ม ISIS
          ในส่วนที่เกี่ยวประเทศไทย Douglas มีข้อสังเกตุว่า ไทยมีสถานการณ์เช่นเดียวกับฟิลิปินส์ คือมีความขัดแย้งยาวนาน ทำให้เป็นแหล่งบ่มเพาะลัทธิความรุนแรงสุดโต่ง อีกทั้งการก่อการร้ายที่ยาวนานสร้างโอกาสให้กลุ่มา ISIS แปรความข่มขื่นที่ลงรากลึก เป็นแรงสนับสนุน และมีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่การควบคุม

    (Long running conflicts in both the Philippines and Thailand also provide fertile breeding grounds for violent extremism. Protracted insurgencies in both countries provide Daesh with the opportunity to exploit deep-rooted grievances to garner support, resources, and potentially start exercising control.)

          Douglas บอกว่า ทั้งภูมิภาคอาเซียนมีปัญหาร่วมคือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวนและกระบวนการยุติธรรม มีกรอบกลไกทางกฏหมายที่ไม่เหมาะสมกับภาวการณ์ ไม่สอดคล้องกับข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กลไกกฏหมายต่อต้านการก่อการร้าย และกฏหมายสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศ พร้อมทั้งเสนอแนะว่าประเทศอาเซียนควรมีการปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย โดยยกมาเลเซียเป็นตัวอย่างที่มีกฏหมายกำหนดให้การเดินทางที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการก่อการร้าย เป็นอาชญากรรม ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศอื่นๆไม่มีกฏหมายแบบนี้ Douglas บอกว่า หากไม่มีการปรัปปรุงแก้ไขกฏหมายเพื่อสนับสนุนการป้องกันปราบปรามการก่อการร้ายให้มีประสิทธิภาพ อาเซียนก็จะอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อภัยการก่อการร้าย

    (Throughout the region, counter terrorism investigators and prosecutors are hindered by inadequate legal frameworks. In-line with UN Security Council Resolutions, Universal Legal Instruments Against Terrorism, and International Human Rights Law, it is essential that Asean countries update their terrorism related legislation. Notably, travelling for the purpose of conducting or facilitating terrorist activities has only been criminalised by one Asean nation, Malaysia. Without this legal backing, Asean remains vulnerable to the movements of terrorists.)
    ที่มาข้อมูล ; http://www.themalaymailonline.com/what-you-think/article/aseans-rising-terrorism-threat-calls-for-urgent-actions-jeremy-douglas​

          ๕.๔ The Star สื่อสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษในเมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ว่า ภาคการเมืองและธุรกิจในรัฐยะโฮร์ ทางตอนใต้ของประเทศติดปับสิงคโปร์ ต่างพากันให้ความความเห็นว่า มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน กับรถยนต์ที่จดทะเบียนต่างประเทศทุกคันที่วิ่งผ่านชายแดนทางด้านรัฐยะโฮร์ เข้าสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ เป็นมาตรการที่ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัว เพราะมาตรการดังกล่าวส่งผลทำให้คนมาเลเซียที่ต้องเดินทางเข้าออกไปทำงานในประเทศสิงคโปร์เป็นประจำทุกวันมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น
          ทั้งนี้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมใช้ถนนของสิงคโปร์ เป็นมาตรการตอบโต้รัฐบมาเลเซียที่เริ่มจัดเก็บค่าธรรมเนียมกับรถยนต์สิงคโปร์ที่ผ่านพรมแดนเข้ามาทางด้านรัฐยะโฮร์ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ปี ๒๕๕๙ ในอัตราคันละ ๒๐ มาเลเซียริงกิต สิงคโปร์จึงประกาศจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกันบ้าง ด้วยเหตุผลว่า มาตรของมาเลเซียเข้าข่ายเลือกปฏิบัติ คือเก็บกับรถยนต์ที่จดทะเบียนต่างประเทศเฉพาะที่ผ่านเข้าประเทศด้านพรมแดนสิงคโปร์เท่านั้น
          ด้วยเหตุนี้ตอนนี้ภาคการเมืองและธุรกิจในรัฐยะโฮร์ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซีย จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน จากรถยนต์จดทะเบียนต่างประเทศที่ผ่านพรมแดนที่ติดกับไทย อินโดนีเซียและบรูไน โดยเร็ว โดยหวังว่าจะช่วยให้รัฐบาลสิงคโปร์ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนจากรถยนต์ ที่ผ่านเข้าประเทศจากมาเลเซีย
    ที่มา ; http://www.thestar.com.my/metro/community/2017/02/14/not-the-right-time-for-road-charge-politicians-and-business-leaders-hope-singapore-will-postpone-mov/​

                ๕.๔.๑ .ในสัปดาห์เดียวกัน The Star รายงานว่า รัฐบาลมาเลเซียได้แต่งตั้งบริษัท Dagang NeXchange เป็นที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคในการจัดทำระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมค่าผ่านทางการใช้ถนน สำหรับรถยนต์จดทะเบียนต่างประเทศ ที่ผ่านด่านพรมแดนติดกับประเทศไทยเข้าประเทศมาเลเซีย ก่อนหน้านี้รัฐมนตรีคมนาคม มาเลเซีย ประกาศว่า จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนสำหรับรถยนต์ที่ผ่านเข้ามาทางประเทศไทยภายในกลางปี ๒๕๖๐
    ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/business/business-news/2017/02/14/dagang-nexchange-gets-thai-border-vehicle-entry-permit-job/

          ๕.๕ สำนักข่าวเบอนามา และ New Straits Times รายงานเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ อ้างแหล่งข่าวจากกองบัญชาการตรวจปราปบรามยาเสพติดว่า มีการจับกุมผู้ต้องหาชายและหญิงรวม ๔ คน ได้ที่บ้านหลังหนึ่งในจังหวัดพัทลุง ซึ่งใช้เป็นที่พักยาเสพติดสำหรับเตรียมส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย ในการจับกุมครั้งนี้ได้ของกลางยาบ้า ๗ กว่าเม็ด ซึ่งเบอนามารายงานว่า เตรียมส่งไปพักที่อ.สุไหงโกลก เพื่อเตรียมส่งออกไปมาเลเซีย
    ที่มาข้อมูล ; http://www.nst.com.my/news/2017/02/212201/thai-police-seize-nearly-1-million-meth-pills-headed-sg-golok

    เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น 

    ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

    ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

    มากกว่า 2.00

    เพิ่มมาก

    1.10 – 2.00

    เพิ่มค่อนข้างมาก

    0.60 – 1.00

    เพิ่มในระดับหนึ่ง

    0.10 – 0.50

    เพิ่มเล็กน้อย

    0.02 – 0.09

    เพิ่มเพียงเล็กน้อย

    0.00 – 0.01

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.01) – 0.00

    ค่อนข้างคงที่

    (-0.09) – (-0.02)

    ลดเพียงเล็กน้อย

    (-0.50) – (-0.10)

    ลดเล็กน้อย

    (-1.00) – (-0.60)

    ลดในระดับหนึ่ง

    (-2.00) – (-1.10)

    ลดค่อนข้างมาก

    น้อยกว่า (– 2.00)

    ลดมาก

     

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.