สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๑๙ - ๒๕ พ.ย. ๕๙

 28 พ.ย. 2559 11:03 น. | อ่าน 2361
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกมีความถี่ลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ประมาณร้อยละ ๑๔ ในส่วนของข่าวเชิงลบมีความถี่ลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ประมาณร้อยละ ๔๖
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (คนร้ายวางระเบิดในสวนยางข้างโรงเรียนใน อ.มายอ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ชุด รปภ. แต่เกิดระเบิดขึ้นก่อน จึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต)   
      ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ (ปัดฝุ่น “โครงการอุโมงค์ทางหลวง สตูล-เปอร์ลิส”ขยายการค้าชายแดนใต้), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (เครือข่ายสตรีชายแดนใต้เปิดศูนย์ให้คำปรึกษายุติรุนแรง), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (เจ้าหน้าที่สนธิกำลังปะทะแกนนำอาร์เคเคระดับคุมกองกำลัง ทำให้แกนนำเสียชีวิต ๒ ศพ ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (พล.ต.ชุมพล แก้วล้วน รอง ผอ.ศูนย์สันติวิธี เป็นประธานพิธีมอบฟันเทียม สร้างรอยยิ้ม ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (กองทัพเรือ รับศพสมเกียรติ พ.จ.อ.ธีระพงษ์ พลีชีพชายแดนใต้), ประเด็นการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งขับเคลื่อนการทำงานอย่างเข้มข้น ในการส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านการศึกษาให้แก่เยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ทิ้งความสามารถเฉพาะทางอย่างด้านการกีฬา ที่กระทรวงศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงดำเนินภารกิจโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง), ประเด็นการการพูดคุยเพื่อสันติสุข (พล.อ.อักษรา เกิดผล ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขยืนยันว่ายังคงดำเนินการเรื่องพูดคุยเพื่อสันติสุขอยู่ โดยจะมีการพูดคุยครั้งต่อไปภายในเดือนธันวาคม และยืนยันว่าทางกลุ่มบีอาร์เอ็น ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกกลุ่มตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด), ประเด็นการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ (แม่ทัพภาค ๔ นำทหารกว่า ๒ พันนาย รวมพลังแสดงความภักดีปฏิญาณตนเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์), ประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิต (สาธารณสุขจังหวัดยะลาลุยป้องกันไข้มาลาเรีย ออกพ่นยา-กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง), ประเด็นกีฬา (เลขาธิการสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย กล่าวว่าสมาคมกีฬาปันจักสีลัตได้เปิดรับสมัครคัดเลือกนักกีฬาเพื่อร่วมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๙ ที่มาเลเซีย รับสมัครถึงวันที่ ๒๐ ธ.ค.นี้ และคัดเลือกตัววันที่ ๒๓ – ๒๕ ธ.ค. ที่สถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา จ.ยะลา), และประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต (นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานกิจกรรมอาซูรอสัมพันธ์ ประจำปี ๒๕๕๙ โดยตัวแทนพิพิธภัณฑ์ริบลีส์ เชื่อหรือไม่! มอบเกียรติบัตรรับรองกระทะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐.๒ เมตร ที่โรงเรียนศรีชีวันวิทยา บ้านเจาะกาโป หมู่ ๖ ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา)
      จากแนวโน้มดังที่กล่าว ทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๙ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย
      สัปดาห์นี้ข่าวสารเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปรากฏในรายงานข่าวของสื่อในภูมิภาคอาเซียน มีประเด็นที่เกี่ยวกับความมั่นคงเพียง ๒ ประเด็น คือ รายงานข่าวของสำนักข่าวเบนาร์นิวส์ (benarnews.org) ที่อ้างแหล่งข่าวจากหน่วยความมั่นคงของไทย ระบุว่าสภาองค์กรนำของขบวนการบีอาร์เอ็น ได้แต่งตั้งนายสะแปอิง บาซอ เป็นประธานสภาองค์กรนำ และนายดูนเลาะห์ แวมะนอ เป็นเลขาธิการ
      ประเด็นที่ ๒ เป็นรายงานข่าวเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ความมั่นคงวิสามัญฆาตกรรม ๒ แกนนำระดับปฏิบัติการของอาร์เคเค ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน รายงานข่าวนี้ เขียนโดยสำนักข่าว AP และถูกนำไปเผยแพร่ต่อในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์จาการ์ตาร์โพสต์ ในอินโดนีเซีย
      นอกจากนี้ ตัวแทนภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีโอกาสกล่าวในที่ประชุมว่าด้วยการปกป้องชนกลุ่มน้อยในห้วงเวลาที่เผชิญกับวิกฤติทางด้านมนุษย์ธรรม ที่สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์อินเตอร์เน็ตขององค์การประชาชาติ (UN Web TV)
      ขณะเดียวกัน Human Right Watch (HRW) เผยแพร่แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณี ที่นางรอฮานา ซาลีลาเตะ ภรรยานายอีรอเฮง ร้องเรียนศูนย์ทนายความมุสลิมว่า นายอีรอเฮง ถูกทหารซ้อมทรมานระหว่างถูกจับกุมที่บ้าน และนำตัวไปสอบถามเพิ่มเติมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.4743ln(x) + 19.932) เนื่องจากในช่วงกลาง และปลายสัปดาห์มีระดับความถี่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงต้นสัปดาห์ มีความถี่ของจำนวนข่าวลงลด ดังนั้นถึงแม้แนวโน้มความถี่จะเพิ่มขึ้น แต่ภาพรวมของจำนวนความถี่ของข่าวเชิงบวกจะน้อยกว่าสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ประมาณร้อยละ ๑๔ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.1631ln(x) + 2.3494) ) เนื่องจากในช่วงกลาง และปลายสัปดาห์ มีระดับความถี่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงต้นสัปดาห์ มีความถี่ของจำนวนข่าวลงลด แต่ภาพรวมของจำนวนความถี่ของข่าวเชิงลบจะน้อยกว่าสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ประมาณร้อยละ ๔๖

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
            เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-11-12

16

1

16.00

2016-11-13

22

0

22.00

2016-11-14

16

7

2.29

2016-11-15

25

2

12.50

2016-11-16

25

2

12.50

2016-11-17

22

6

3.67

2016-11-18

31

6

5.17

คำสัดส่วนเฉลี่ย

10.59

2016-11-19

23

2

11.50

2016-11-20

19

1

19.00

2016-11-21

8

0

8.00

2016-11-22

19

2

9.50

2016-11-23

22

1

22.00

2016-11-24

25

5

5.00

2016-11-25

18

2

9.00

คำสัดส่วนเฉลี่ย

12.00

      หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

      ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.4291ln(x) - 0.4149) กล่าวคือ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ไม่มีทั้งข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข แต่ในสัปดาห์นี้ จำนวนข่าวเชิงบวก จำนวน ๕ ข่าว ภาพข่าวเชิงบวกได้แก่ พล.อ.อักษรา เกิดผล ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข ยืนยันว่า ยังคงดำเนินการเรื่องพูดคุยเพื่อสันติสุขอยู่ โดยจะมีการพูดคุยครั้งต่อไปภายในเดือนธันวาคม และยืนยันว่าทางกลุ่มบีอาร์เอ็น ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกกลุ่มตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด เป็นต้น

      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.4465ln(x) + 0.6252) เนื่องจากในช่วงกลาง และปลายสัปดาห์มีระดับความถี่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงต้นสัปดาห์ มีความถี่ของจำนวนข่าวลงลด แต่ภาพรวมของจำนวนความถี่ของข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวันจะน้อยกว่าสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ประมาณร้อยละ ๓๓ ภาพข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ คนร้ายวางระเบิดในสวนยางข้างโรงเรียนใน อ.มายอ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ชุด รปภ. แต่เกิดระเบิดขึ้นก่อน จึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เป็นต้น

      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. มีแนวโน้มลดลง (y = -0.088ln(x) + 0.4445) กล่าวคือ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ในทำนองเดียวกัน ในสัปดาห์นี้ไม่ปรากฏภาพข่าวเชิงลบในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต.

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙  ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.6649ln(x) + 0.4464) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๖  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ เจ้าหน้าที่สนธิกำลังปะทะแกนนำอาร์เคเคระดับคุมกองกำลัง ทำให้แกนนำเสียชีวิต ๒ ศพ ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา เป็นต้น ในช่วง ๒ สัปดาห์ที่ผ่านมา (๑๒ – ๒๕ พ.ย.๕๙) ไม่ปรากฏภาพข่าวเชิงลบในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙  ข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.9164ln(x) + 1.1946) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๙ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.246ln(x) + 0.7999) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่  ปัดฝุ่น “โครงการอุโมงค์ทางหลวง สตูล-เปอร์ลิส” ขยายการค้าชายแดนใต้ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ กรมชลประทานยกเลิกการส่งน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ทั้งการปลูกข้าวและปลูกพืชไร่ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และการปลูกพืชใช้น้ำน้อย (ยกเว้นข้าว) เท่านั้น ได้แก่ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์, เขื่อนศรีนรินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี และภาคใต้ ๒ แห่ง ได้แก่ เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จ.ยะลา เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
            ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ๑ ข่าว ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล

      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙  มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ๑ ข่าว ภาพข่าว ได้แก่ น.ส.นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ หรือ "เมย์" อายุ ๒๕ ปี เจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการเด็กและเยาวชน หลานสาวพลทหารวิเชียร เผือกสม ซึ่งเป็นพลทหารที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วสมัครเข้าเป็นทหาร และเสียชีวิตในระหว่างการฝึกที่ค่ายทหารในพื้นที่ จ.นราธิวาส เหตุเกิดเมื่อปี ๒๕๕๔ ได้ร้องกองปราบ ให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ๘ นาย ที่เข้าจับกุม น.ส.นริศราวัลถ์ ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน เมื่อวันที่ ๒๖ ก.ค.ที่ผ่านมา ตามที่ถูกนายทหาร ซึ่งเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาของพลทหารวิเชียร แจ้งความดำเนินคดีไว้ โดย น.ส.นริศราวัลถ์ ระบุว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในคดีนี้
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.

            ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙  ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙  ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (คนร้ายวางระเบิดในสวนยางข้างโรงเรียนใน อ.มายอ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ชุด รปภ. แต่เกิดระเบิดขึ้นก่อน จึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต)   
      ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ (ปัดฝุ่น “โครงการอุโมงค์ทางหลวง สตูล-เปอร์ลิส” ขยายการค้าชายแดนใต้), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (เครือข่ายสตรีชายแดนใต้เปิดศูนย์ให้คำปรึกษายุติรุนแรง), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (เจ้าหน้าที่สนธิกำลังปะทะแกนนำอาร์เคเคระดับคุมกองกำลัง ทำให้แกนนำเสียชีวิต ๒ ศพ ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (พล.ต.ชุมพล แก้วล้วน รอง ผอ.ศูนย์สันติวิธี เป็นประธานพิธีมอบฟันเทียม สร้างรอยยิ้ม ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช), ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (กองทัพเรือ รับศพสมเกียรติ พ.จ.อ.ธีระพงษ์ พลีชีพชายแดนใต้), ประเด็นการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งขับเคลื่อนการทำงานอย่างเข้มข้น ในการส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านการศึกษาให้แก่เยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ทิ้งความสามารถเฉพาะทางอย่างด้านการกีฬา ที่กระทรวงศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงดำเนินภารกิจโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง), ประเด็นการการพูดคุยเพื่อสันติสุข (พล.อ.อักษรา เกิดผล ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข ยืนยันว่ายังคงดำเนินการเรื่องพูดคุยเพื่อสันติสุขอยู่ โดยจะมีการพูดคุยครั้งต่อไปภายในเดือนธันวาคม และยืนยันว่าทางกลุ่มบีอาร์เอ็น ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกกลุ่มตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด), ประเด็นการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์ (แม่ทัพภาค4นำทหารกว่า๒ พันนาย รวมพลังแสดงความภักดีปฏิญาณตนเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์), ประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิต (สาธารณสุขจังหวัดยะลาลุยป้องกันไข้มาลาเรีย ออกพ่นยา-กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง), ประเด็นกีฬา (เลขาธิการสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมกีฬาปันจักสีลัตได้เปิดรับสมัครคัดเลือกนักกีฬาเพื่อร่วมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๙ ที่มาเลเซีย ปีหน้า ทั้งหมด ๔ ประเภท คือ การต่อสู้ ชาย-หญิง, เดี่ยวปันจักลีลา ชาย-หญิง, คู่ปันจักลีลา ชาย-หญิง และทีมปันจักลีลา ชาย-หญิง รับสมัครถึงวันที่ ๒๐ ธ.ค.นี้ และคัดเลือกตัววันที่ ๒๓ – ๒๕ ธ.ค. ที่สถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา จ.ยะลา), และประเด็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิต (นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานกิจกรรมอาซูรอสัมพันธ์ ประจำปี ๒๕๕๙ โดยตัวแทนพิพิธภัณฑ์ริบลีส์ เชื่อหรือไม่! มอบเกียรติบัตรรับรองกระทะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐.๒ เมตร ที่โรงเรียนศรีชีวันวิทยา บ้านเจาะกาโป หมู่ ๖ ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน)

      ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้ ของผู้รับข่าวสาร ให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙  พบว่า แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.1198ln(x) + 2.2209) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๙ จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว (๑๒ – ๑๘ พ.ย.๕๙) เล็กน้อย

๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑๙ – ๒๕ พ.ย.๕๙
     
สัปดาห์นี้ข่าวสารเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปรากฏในรายงานข่าวของสื่อในภูมิภาคอาเซียน มีประเด็นที่เกี่ยวกับความมั่นคงเพียง ๒ ประเด็น คือ รายงานข่าวของสำนักข่าวเบนาร์นิวส์ (benarnews.org) ที่อ้างแหล่งข่าวจากหน่วยความมั่นคงของไทย ระบุว่า สภาองค์กรนำของขบวนการบีอาร์เอ็นได้แต่งตั้งนายสะแปอิง บาซอ เป็นประธานสภาองค์กรนำ และนายดูนเลาะห์ แวมะนอ เป็นเลขาธิการ      ประเด็นที่ ๒ เป็นรายงานข่าวเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ความมั่นคงวิสามัญฆาตกรรม ๒ แกนนำระดับปฏิบัติการของอาร์เคเค ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน รายงานข่าวนี้ เขียนโดยสำนักข่าว AP และถูกนำไปเผยแพร่ต่อในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์จาการ์ตาร์โพสต์ ในอินโดนีเซีย
      นอกจากนี้ตัวแทนภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีโอกาสกล่าวในที่ประชุมว่าด้วยการปกป้องชนกลุ่มน้อยในห้วงเวลาที่เผชิญกับวิกฤติทางด้านมนุษย์ธรรม ที่สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์อินเตอร์เน็ตขององค์การประชาชาติ (UN Web TV)
      ขณะเดียวกัน Human Right Watch (HRW) เผยแพร่แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณี ที่นางรอฮานา ซาลีลาเตะ ภรรยานายอีรอเฮง ร้องเรียนศูนย์ทนายความมุสลิมว่า นายอีรอเฮง ถูกทหารซ้อมทรมานระหว่างถูกจับกุมที่บ้าน และนำตัวไปสอบถามเพิ่มเติมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
      ๕.๑ สำนักข่าวเบนาร์นิวส์ รายงานเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน อ้างแหล่งข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงของไทย ให้ข้อมูลพร้อมเอกสารประกาศแต่งตั้งคณะผู้บริหารขบวนการบีอาร์เอ็น โดยสภาองค์กรนำ หรือ DPP (Dewan Pimpinan Parti) มีคำสั่งตั้งแต่เดือนกันยายน ที่ผ่านมาแต่งตั้งให้นายสะแปอิง บาซอ เป็นประธานสภาองค์กรนำ และนายดูนเลาะห์ แวมะนอ เป็นเลขาธิการสภาองค์กรนำ
     
รายงานของสำนักข่าวเบนาร์นิวส์ชิ้นนี้ พลเอกอักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะทำงานพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เอกสารที่มีการเผยแพร่ในเบนาร์นิวส์ เป็นเอกสารปลอมและยืนยันว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในขบวนการบีอาร์เอ็น ดังที่ปรากฏเป็นข่าว
ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/thai/news/TH-BRN-11212016135835.html
http://www.benarnews.org/english/news/thai/BRN-DPP-11212016184626.html

      ๕.๒ เว็บไซต์สื่อสิงพิมพ์ภาษาอังกฤษในอินโดนีเซีย The Jakarta Post รายงาน เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน โดยอิงกับรายงานข่าว AP ระบุว่า ได้เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจยิงปะทะกับคนร้าย ๒ คน ที่มีส่วนพัวพันการก่อเหตุไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกับอ้างคำให้สมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุ คนร้ายทั้งสองคนที่เสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารมีหมายจับติดตัวหลายคดีที่เชื่อมโยงกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาวมุสลิม

(Two men suspected of involvement with violent unrest in southern Thailand were killed Friday in a shootout with police and soldiers who had been tracking them, security officials said. Police Deputy Inspector Weeradech Sukjroong said the two men killed in Yala province had been subjects of several arrest warrants in connection with violent events attributed to Muslim separatists.)
ที่มาข้อมูล ; http://www.thejakartapost.com/seasia/2016/11/25/thai-police-say-2-separatist-suspects-killed-in-shootout-.html

      ๕.๓ UN Web TV สถานีโทรทัศน์ทางอินเตอร์เน็ตขององค์การสประชาชาติ ถ่ายทอดสดการประชุมการปกป้องชนกลุ่มน้อยในห้วงเวลาที่เผชิญกับวิกฤติทางด้านมนุษย์ธรรม (Protecting minority rights during humanitarian crises - 9th session of the Forum on Minority Issues) ที่ สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน โดยผู้แทนจากภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับเชิญไปร่วมประชุม และได้มีโอกาสกล่าวถึงปัญหาวิกฤติการณ์ด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ จชต. ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- ผู้แทนที่กล่าวในที่ประชุม แนะนำตัวว่าชื่ออารีด้า (Arida) เป็นตัวแทนของชนกลุ่มน้อยเชื้อสายมลายูจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งมีประชากรเชื้อสายมลายูมุสลิมอาศัยประมาณ ๓ ล้านคนจากประชากรทั้งประเทศจำนวน ๖๐ ล้านคน
- อารีด้า บอกว่า ดินแดนที่เธออาศัยอยู่กำลังประสบวิกฤติการณ์มนุษยธรรม ที่ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่ามีวิกฤติทางด้านมนุษยธรรม ทำให้ไม่สามารถใช้กลไกทางกฏหมายเข้าไปแก้ปัญหาได้
- อารีด้า กล่าวต่อที่ประชุมว่า ๑๒ ปีที่ผ่านมาดินแดนแห่งนี้เกิดการณ์ไม่สงบจำนวน ๑๘,๐๐๐ ครั้ง มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๖,๐๐๐ คน และได้รับบาดเจ็บประมาณ ๑๒,๐๐๐ คน ซึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณร้อยละ ๔๐ เป็นชาวมุสลิม และร้อยละ ๖๐ ของผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นชาวมุสลิม ส่วนนักโทษคดีความมั่นคงที่ถูกคุมขังประมาณ ๔๐๐ คน ทั้งหมดเป็นชาวมุสลิม
- อารีด้า กล่าวว่า ในฐานะคนไทย เธอตระหนักดีว่า เรื่องความมั่นคงของชาติมีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ แต่เธอก็เชื่อว่า วิธีลดความรุนแรงที่ได้ผล คือ การเคารพสิทธิชนกลุ่มน้อย และการดำเนินโยบายที่ถูกต้องต่อชนกลุ่มน้อย เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงในพื้นที่ จชต.
- ท้ายที่สุด อารีด้า บอกว่า เธอเชื่อว่าภาคประชาสังคมและชนกลุ่มน้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ
(หมายเหตุอารีด้า ตัวแทนภาคประชาสังคม จชต. น่าจะหมายถึงอารีด้า สาเมาะ ซึ่งใช้ชื่อโปรไฟล์ใน Facebook ว่า A Binti Usman)

      ๕.๔ Human Right Watch เผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินกระบวนการสอบสวนอย่างเป็นธรรมโดยทันทีต่อกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการซ้อมทรมานคนมลายูมุสลิม รวมทั้งขอให้เพิกถอนการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาและการข่มขู่คุกคามทุกรูปแบบ กับนักสิทธิมนุษยชนที่จัดทำรายงานข้อกล่าวหาเจ้าหน้าที่ ที่มีพฤติกรรมซ้อมทรมาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

(The Thai government should promptly and impartially investigate the alleged torture of an ethnic Malay Muslim suspected of involvement in insurgency, Human Rights Watch said today. The government should also instruct the army to immediately withdraw its criminal complaints and end other forms of harassment against activists who have publicized allegations of torture by security officials in Thailand’s southern border provinces.)

      HRW ระบุว่า นางรอฮาน่า ซาลีลาเตะ ได้ร้องเรียนศูนย์ทนายความมุสลิมว่า สามีของเธอคือนายอีรอเฮง ได้ทหารพรานจากกรมทหารพรานที่ ๔๓ ทุบตีอย่างทารุน ขณะที่บุกเข้าตรวจค้นบ้านของนางและสามีที่อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน โดยกล่าวหาทหารพรานว่า ซ้อมนายอีรอเฮง เพื่อบีบบังคับให้รับสารภาพว่าให้ที่พักพิงแก่คนร้าย ซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าของปืน AK 47 ที่เจ้าหน้าที่ทหารพบในบริเวณรอบบ้าน นอกจากนี้ยังมีการกล่าวหาทหารว่า มีการใช้ด้ามปืนไรเฟิลกระแทกที่หน้าอกและช่องท้อง ระหว่างสอบปากคำที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ต่อมานายอีรอเฮงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล จ.ปัตตานีเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน เนื่องจากมีอาการเจ็บที่หน้าอกและช่องท้อง
      แบรด อาดัมส์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย ของ HRW กล่าวว่า เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคง มีการซ้อมทรมานเป็นปกติในพื้นที่ จชต. รวมทั้งมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมกับผู้ต้องสงสัยว่าพัวพันกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งยังได้รับการละเว้นการลงโทษ เขาบอกว่า รัฐบาลจำเป็นต้องมีการสอบสวนทุกกรณี ที่มีการกล่าวหาและนำผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินคดีตามกฏหมาย

(On November 22, 2016, Rohana Salilatae reported to the Muslim Attorney Council that her husband, Eroheng Salilatae, was brutally beaten by soldiers when they raided their house in Pattani province’s Nong Chik district on the morning of November 18. Soldiers from the army’s 43rd Taharn Pran Unit allegedly punched, slapped, and kicked Eroheng, demanding that he confess that he provided a hiding place for insurgents and was the owner of two AK-47 assault rifles that soldiers said they found outside his house. They also allegedly struck him on the chest with rifle butts during the interrogation. On November 20, Eroheng was transferred from a detention facility at Ingkayuthboriharn Camp in Pattani province to the Pattani Provincial Hospital after he complained about severe pain in his chest and abdomen. “Thai security officials have now made torture routine in Thailand’s restive southern region, mistreating suspected insurgents with impunity,” said Brad Adams, Asia director at Human Rights Watch. “For the government’s response to be credible, the authorities need to seriously investigate these cases and bring all involved to justice.”)
ที่มาข้อมูล ; https://www.hrw.org/news/2016/11/22/thailand-investigate-alleged-army-torture

เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

 

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.