สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๒๐ ส.ค. - ๒๖ ส.ค. ๕๙

 29 ส.ค. 2559 10:46 น. | อ่าน 2612
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๗ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๓ – ๑๙ ส.ค.๕๙)  
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ มีประเด็นเหตุร้ายรายวัน (คาร์บอมบ์ 100 กิโล ถล่มโรงแรมเซาท์เทิรน์วิว เสียชีวิต ๑ บาดเจ็บ ๓๐) และประเด็นการเมือง (แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงความจริงเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่ ๗ จังหวัดภาคใต้)     
      ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (นัดคุยสันติสุขกับกลุ่มมาราปาตานี ต้น ก.ย.นี้), ประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน (มทภ.๔ ขอเวลาอีก ๑๐ วัน ยืนยันผู้ก่อเหตุระเบิดโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (คสช. ให้ ชะลอการแต่งตั้งโยกย้ายนายพลตำรวจ ๓ นาย ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้อง หรือละเลยเรื่องการค้ามนุษย์), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (พสกนิกรไทยจากทั่วทุกภาค ร่วมใจถวายพระพรในหลวง), ประเด็นยาเสพติด (แถลงผลการจับกุมยาบ้า มูลค่า ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งลำเลียงจากฝั่งประเทศลาว มาสู่พื้นที่จังหวัดสงขลา), ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)  เพิ่มศูนย์ให้บริการแก่เอสเอ็มอีให้กับจังหวัดปัตตานี), ประเด็นการศึกษา (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการโครงการอ่านสร้างสุขยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชนในพื้นที่ จชต.), ประเด็นกีฬา (เทศบาลนครยะลา จัดการแข่งขันปิงปอง มีนักกีฬาจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า ๓๐๐ คน), ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (พล.ต.ต.ทนงศักดิ์ ผบก.ภ.จว.ปัตตานี เปิดเผยว่ากำลังรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของผู้ต้องสงสัยก่อเหตุระเบิดโรงแรมจากกล้องวงจรปิด), ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต (ใช้ ม.๔๔ กำหนดมาตรการอุปภัมถ์ และคุ้มครองศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (เทศบาลนครยะลาได้ทำหนังสือไปยัง ศอ.บต.และ ผวจ.ยะลา ในการที่จะขอฝนหลวง บริเวณเหนือเขื่อนบางลาง)     
      จากประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๗ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๓ – ๑๙ ส.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย  
      ประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อมวลชนอาเซียนให้ความสนใจนำเสนอมี ๓ ประเด็น คือ เหตุการณ์กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบลอบวางระเบิดและใช้ระเบิดรถยนต์ก่อเหตุ ที่โรงเรมเซาท์เทิร์นวิว จ.ปัตตานี คืนวันที่ ๒๓ สิงหาคม และรายงานข่าวเกี่ยวกับการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กำหนดจัดขึ้นต้นเดือนกันยายน หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับร่างระเบียบวิธีกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข หรือ TOR นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับผู้บัญชาการตำรวจรัฐเคดาห์ เข้มงวดมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบเข้าเมือง และนำเข้าสินค้าผิดกฏหมาย ด้วยมาตรการขอความร่วมมือเจ้าของที่ดินติดชายแดนไทย ให้ซ่อมแซมและก่อสร้างแนวรั้วให้แข็งแรง

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.493ln(x) + 14.244) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๗ ในขณะที่ข่าวเชิงลบ ที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.5007ln(x) + 2.742) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๓ – ๑๙ ส.ค.๕๙)  

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
      เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-08-13

13

3

4.33

2016-08-14

15

2

7.50

2016-08-15

16

4

4.00

2016-08-16

13

5

2.60

2016-08-17

12

3

4.00

2016-08-18

14

2

7.00

2016-08-19

14

5

2.80

สัดส่วนเฉลี่ย

4.60

2016-08-20

12

2

6.00

2016-08-21

14

6

2.33

2016-08-22

11

1

11.00

2016-08-23

15

3

5.00

2016-08-24

11

9

1.22

2016-08-25

8

3

2.67

2016-08-26

19

3

6.33

สัดส่วนเฉลี่ย

4.94

หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

      ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ทั้งข่าวเชิงบวกและข่าวเชิงลบ ในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.4168ln(x) - 0.3928 และ y = 0.2061ln(x) - 0.2279 ตามลำดับ) หลังจากที่ไม่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ นัดคุยสันติสุขกับกลุ่มมาราปาตานี ต้น ก.ย.นี้ เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ประเด็นที่ พล.อ.อักษรา ต้องตระหนักในฐานะหัวหน้าคณะทำงานพูดคุยฯ เป็นต้น

      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.8068ln(x) - 0.3088) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒๐ ภาพข่าว ได้แก่ คาร์บอมบ์ ๑๐๐ กิโล ถล่มโรงแรมเซาท์เทิรน์วิว เสียชีวิต ๑ บาดเจ็บ ๓๐ เป็นต้น

       ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.295ln(x) + 1.3172) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๗๘ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลงเช่นเดียวกันกับข่าวเชิงบวก (y = -0.248ln(x) + 1.4454) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๖๐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๓ – ๑๙ ส.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันร่าง รธน. ไม่มีแบ่งแยกศาสนา เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงความจริงเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่ ๗ จังหวัดภาคใต้ เป็นต้น

       ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก ในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ค่อนข้างคงที่ (y = 0.0352ln(x) + 2.8653) ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.1971ln(x) + 0.0739) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๐ (สัปดาห์ที่แล้วมี ๒ ข่าว ในสัปดาห์นี้มี ๔ ข่าว) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๓ – ๑๙ ส.ค.๕๙)  ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ มทภ.๔ ขอเวลาอีก ๑๐ วัน ยืนยันผู้ก่อเหตุระเบิดโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ฝ่าฝืนกฏหมาย ขายน้ำมันเถื่อนในพื้นที่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ป็นต้น

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖  ส.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึน (y = 0.9971ln(x) + 2.1344) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๕ ในขณะข่าวเชิงลบ มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.239ln(x) + 0.7863) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๓ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๓ – ๑๙  ส.ค.๕๙) สำหรับภาพข่าวเชิงบวก  ได้แก่  สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)  เพิ่มศูนย์ให้บริการแก่เอสเอ็มอีให้กับจังหวัดปัตตานี เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ชะตากรรมคนชายแดนใต้...หางานทำในพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑล หนีเหตุการณ์ระเบิด และราคายางตกต่ำ เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
            ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
            ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหา จชต.
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฏหมาย

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

      เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าว ที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้

ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (คาร์บอมบ์ 100 กิโล ถล่มโรงแรมเซาท์เทิรน์วิว เสียชีวิต ๑ บาดเจ็บ ๓๐) และประเด็นการเมือง (แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงความจริงเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่ ๗ จังหวัดภาคใต้)  ในส่วนของประเด็นเชิงบวก ได้แก่ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (นัดคุยสันติสุขกับกลุ่มมาราปาตานี ต้น ก.ย.นี้), ประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน (มทภ.๔ ขอเวลาอีก ๑๐ วัน ยืนยันผู้ก่อเหตุระเบิดโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (คสช. ให้ ชะลอการแต่งตั้งโยกย้ายนายพลตำรวจ ๓ นายที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้อง หรือ ละเลยเรื่องการค้ามนุษย์), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (พสกนิกรไทยจากทั่วทุกภาค ร่วมใจถวายพระพรในหลวง), ประเด็นยาเสพติด (แถลงผลการจับกุมยาบ้า มูลค่า ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งลำเลียงจากฝั่งประเทศลาว มาสู่พื้นที่จังหวัดสงขลา), ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)  เพิ่มศูนย์ให้บริการแก่เอสเอ็มอีให้กับจังหวัดปัตตานี), ประเด็นการศึกษา (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการโครงการอ่านสร้างสุขยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชนในพื้นที่ จชต.), ประเด็นกีฬา (เทศบาลนครยะลา จัดการแข่งขันปิงปอง มีนักกีฬาจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า ๓๐๐ คน), ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต. (พล.ต.ต.ทนงศักดิ์ ผบก.ภ.จว.ปัตตานี เปิดเผยว่ากำลังรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของผู้ต้องสงสัยก่อเหตุระเบิดโรงแรมจากกล้องวงจรปิด), ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต (ใช้ ม.๔๔ กำหนดมาตรการอุปภัมถ์ และคุ้มครองศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (เทศบาลนครยะลาได้ทำหนังสือไปยัง ศอ.บต.และ ผวจ.ยะลา ในการที่จะขอฝนหลวง บริเวณเหนือเขื่อนบางลาง)

        ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่  ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙  พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวม มีแนวโน้มลดลง (y = -0.191ln(x) + 2.1307) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๗ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๑๓ – ๑๙ ส.ค.๕๙  ) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ ลดลงกว่าสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย

๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๒๐ – ๒๖ ส.ค.๕๙
      ๕.๑ ประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สื่อมวลชนอาเซียนให้ความสนใจนำเสนอมี ๓ ประเด็น คือ เหตุการณ์กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบลอบวางระเบิดและใช้ระเบิดรถยนต์ก่อเหตุ ที่โรงเรมเซาท์เทิร์นวิว จ.ปัตตานี คืนวันที่ ๒๓ สิงหาคม และรายงานข่าวเกี่ยวกับการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กำหนดจัดขึ้นต้นเดือนกันยายน หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับร่างระเบียบวิธีกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข หรือ TOR นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวกับผู้บัญชาการตำรวจรัฐเคดาห์ เข้มงวดมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบเข้าเมือง และนำเข้าสินค้าผิดกฏหมาย ด้วยมาตรการขอความร่วมมือเจ้าของที่ดินติดชายแดนไทย ให้ซ่อมแซมและก่อสร้างแนวรั้วให้แข็งแรง
            ๕.๑.๑ เหตุการณ์การลอบวางระเบิดและคาร์บอมส์ ที่หน้าโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อ.เมือง ปัตตานี เป็นประเด็นข่าวที่สื่อมวลชนในภูมิภาคอาเซียนรายงานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสื่อมวลชนมาเลเซีย รวมทั้งสื่อมวลชนเวียดนาม ซึ่งปกติไม่ค่อยรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ จชต.
            เนื้อหาในรายงานข่าว ส่วนใหญ่รายงานข้อเท็จจริง เช่น รายงานข่าวของสำนักข่าว AFP ที่ถูกนำไปรายงานต่อในหนังสือพิมพ์ The Star บรรยายว่า เกิดเหตุคาร์บอมส์ในย่านบันเทิงยามราตรีในพื้นที่ จชต. เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย และบาดเจ็บอีกกว่า ๓๐ คน เหตุรุนแรงครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้ามีเหตุระเบิดในหลายจังหวัด ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เหตุระเบิดครั้งนี้ เกิดจากระเบิดน้ำหนัก ๙๐ กิโลกรัม ที่ซ่อนไว้ในรถพยาบาลที่ระเบิดขึ้น หลังจากที่ผู้ก่อความไม่สงบใช้ระเบิดขนาดเล็ก ก่อเหตุระเบิดหน้าสถานบันเทิงใกล้ๆ กับคาร์บอมส์ ทั้งนี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากระเบิดลูกแรก

(A car bomb exploded in a nightlife district in Thailand’s deep south, killing one and wounding more than 30, in a nation already on edge after a bombing spree that targeted tourist towns.
The 90kg bomb was hidden inside a stolen hospital vehicle and detonated shortly after a smaller explosive at a nearby bar. The first blast did not cause any injuries.)
ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/regional/2016/08/25/bomb-hits-nightlife-area-one-killed-and-more-than-30-hurt-in-latest-thailand-attack/
                  http://vietnamnews.vn/world/301651/one-dead-dozens-wounded-in-thai-car-bombing.html#ulLTlrAWj41tC88O.97

            ๕.๑.๒ สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง อ้างความเห็นนักวิเคราะห์สถานการณ์ จชต.ที่เชื่อว่า เหตุระเบิดและคาร์บอมส์ที่โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อ.เมือง ปัตตานีมีความเชื่อมโยงกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.
            “มีความเป็นไปได้ที่เหตุระเบิดเชื่อมโยงกับความไม่แน่นอนของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข”, ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าว
            ขณะเดียวกันรุ่งระวี เฉลิมศรีภิญโญรัตน์ นักวิเคราะห์อิสระ ให้ความเห็นว่า เหตุระเบิดหลายครั้งในเดือนนี้ น่าจะเป็นฝีมือของบีอาร์เอ็น ซึ่งใช้รูปแบบการก่อเหตุแบบเดียวกันในอดีต พร้อมทั้งระบุแรงจูงใจในการก่อเหตุว่า “พวกเขาคงต้องการส่งสัญญานถึงรัฐบาลไทย ให้จริงจังกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุข จชต.ให้มากกว่านี้"

("It's possible that it is related to uncertainty about the peace talks," said Srisompop Jitpiromsri, an expert on the conflict who runs the Pattani-based Deep South Watch, which monitors violence.
Rungrawee Chalermsripinyorat, an independent analyst who has written two books on the conflict, said the blasts this month were likely the work of the Barisan Revolusi Nasional (National Revolutionary Front, or BRN), which has carried out "similar patterns of attack" in the past.
"They could be sending a message to the government to take the peace dialogue more seriously," she said.)
ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/world/2016/08/24/one-killed-30-wounded-by-explosions-in-southern-thailand--police/

      ๕.๒ สำนักข่าวเบอนามา รายงานเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม อ้างแหล่งข่าววงในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข ระบุว่าตัวแทนรัฐบาลไทยและกลุ่มมาราปาตานีมีกำหนดประชุมในเดือนกันยายน ภายหลังการพูดคุยหยุดชะงักไปตั้งแต่เดือนเมษายน
      แหล่งข่าวบอกว่า กระบวนการพูดคุยมีความก้าวหน้า พร้อมทั้งระบุว่า การพูดคุยในเดือนกันยายน อาจจะเป็นการเริ่มต้นการพูดคุยอย่างเป็นทางการ ภายหลังทั้งสองฝ่าย สามารถตกลงกันได้ในรายละเอียด TOR

Thai Government and the Patani Syura Consultative Council (MARA Patani) is set to resume in September after the last round came to a halt in April.
Internal sources, in revealing this latest positive development, said that the September talks would be the start of a formal dialogue after both sides agreed on issues raised in the Terms of Reference (TOR).
“Tentatively, the official rounds (of the peace talk) would resume early September. It’s the start of formal dialogue (between both sides). The issues raised in the TOR has be solved,” the source told Bernama today.
ที่มาข้อมูล ; http://www.themalaymailonline.com/world/article/southern-thai-official-peace-talks-to-resume-in-september#sthash.DLFpvM6r.dpuf​

            ๕.๒.๑ benarnews.org เว็ปไซต์ข่าวที่ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ อ้างคำให้สัมภาษณ์ของอาบูฮาฟิซ อัลฮากิม โฆษกกลุ่มมาราปาตานี ระบุว่า คณะทำงานด้านเทคนิคของทั้งสองฝ่าย มีการประชุมกันเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม และมีการพูดจากันอย่างอะลุ้มอะล่วย ทำให้การพูดคุยเกี่ยวกับ TOR มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ
ฮาฟิซ บอกว่า วันพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.ครั้งต่อไป กำหนดไว้คร่าวๆ โดยรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวก ในวันที่ ๑ หรือ ๒ กันยายน นี้
            ทางด้านแหล่งข่าวจาก กอ.รมน. ให้ข้อมูลสอดคล้องกันว่า ภายหลังทั้งสองฝ่ายตกลงในรายละเอียด TOR ได้เรียบร้อยแล้ว การประชุมเต็มคณะ มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ ๒ กันยายน นี้

            (“Both technical teams made significant progress in the TOR discussion on 16/8/16 through a compromise approach,” Abu Hafiz Al-Hakim, a spokesman for MARA Patani, a panel representing rebel groups and factions, told BenarNews.
            “We are set to kick start the process formally soon,” he said, adding that neighboring Malaysia, which has been brokering peace efforts in the Deep South, was to confirm the date of the next meeting in the Malaysian capital.
            The meeting has tentatively been set for Sept. 1 or 2, Hafiz said.
            A source within the Internal Security Operations Command, which oversees military operations across the Deep South, gave similar information.
            “After the sub-committees agreed on the TOR, next, there will be a full delegate talk, tentatively on Sept. 2. Malaysia will be the facilitator,” the source told BenarNews on condition of anonymity.)
            ขณะที่ Zachary Abuza นักวิชาการแห่ง National War Collage ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. บอกว่า เขามองการพูดคุยเพื่อสันติสุขในแง่ลบ โดยให้เหตุผลว่า “การลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เป็นที่ชัดเจนว่า ปิดทางการกระจายอำนาจการปกครอง หรือการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ นอกจากนี้การให้ความสำคัญกับศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง” Abuza กล่าวพร้อมทั้งให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ที่ผ่านมาทหารไทย มีจุดยืนที่พยายามด้อยค่ากลุ่มติดอาวุธ โดยอธิบายความรุนแรงที่เกิดขึ้นว่า เป็นเพียงการก่ออาชญากรรม ขณะที่กระบวนการสร้างสันติภาพ ไม่มีการตกลงที่สำคัญใดใดเลย”

            (“Even if the two sides meet, I am really pessimistic,” Zachary Abuza, an expert on the Deep South and professor at the National War College in Washington, told BenarNews on Tuesday.
            “The charter that was just approved in that shambolic referendum, completely precludes any devolution of power or regional autonomy. The enshrinement of Buddhist nationalism is, furthermore, an anathema to the interests of the Malay community,” he said, adding, “The Thai military's position has always been to degrade the insurgency to the point that they could ascribe the violence to mere criminality without having to make any significant concessions in a peace process.”)
ที่มาข้อมูล ; http://www.benarnews.org/english/news/thai/peace-talks-08232016162001.html​

      ๕.๓ สื่อมาเลเซียหลายสำนักรายงานข่าว การตรวจพื้นที่ชายแดนมาเลเซีย-ไทยของ Zamri Yahya ผู้บัญชาการตำรวจรัฐเคดาห์ และได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า เขาพบว่าหลายพื้นที่ตามแนวพรมแดน เป็นที่ดินของเอกชน ที่ไม่มีรั้วป้องกัน จึงเป็นช่องทางลักลอบเข้าเมือง และนำเข้าสินค้าผิดกฏหมาย ผู้บัญชาการตำรวจรัฐเคดาห์ บอกว่า เขาได้พบพูดคุยกับเจ้าของที่ดินหลายแห่ง เพื่อขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมหรือก่อสร้างรั้วลวดหนาม รวมทั้งขุดคูน้ำในบางจุด เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองและนำเข้าสินค้าผิดกฏหมาย
ที่มาข้อมูล ;http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/08/26/ditches-to-keep-smuggling-at-bay-special-border-task-force-meeting-moots-measures-to-cut-off-rat-tra/
               http://www.nst.com.my/news/2016/08/168296/smugglers-lanes-rife-along-malaysia-thai-border-say-kedah-police

      ๕.๔ ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ
            ๕.๔.๑ สำนักข่าว Aljazeera รายงานข่าวเหตุระเบิดคาร์บอมส์ ที่หน้าโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อ.เมือง ปัตตานี และมีสมมติฐานเหมือนกับสำนักข่าวต่างประเทศส่วนใหญ่ คือ พยายามเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ระเบิดหลายจุดใน ๗ จังหวัด ช่วงระหว่างวันที่ ๑๑ และ ๑๒ กันยายน พร้อมทั้งระบุว่าแม้ไม่มีกลุ่มใดออกมาแสดงความรับผิดชอบ แต่นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงหลายคนเชื่อว่า เป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน

            (A series of bombings across central and southern Thailand on August 11 and 12 left four people dead and more than 30 injured.
No group has claimed responsibility for the attacks but some security experts have blamed southern secessionist groups.)
            นอกจากนี้ รายงานข่าวของอัลจาซีร่า ยังพูดถึงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า มีการลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอย่างท่วมท้น ตรงข้ามกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่มีการลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ
            (The three provinces soundly rejected a referendum earlier this month on a new military-backed constitution, which passed convincingly in most of the rest of Thailand.)
ที่มาข้อมูล ; http://www.aljazeera.com/news/2016/08/blasts-hit-southern-thailand-pattani-killing-160824045735263.html

            ๕.๔.๒ Human Right Watch องค์กรสิทธิมนุษยชน ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มหานครนิวยอร์ค แถลงการณ์กลุ่มที่ก่อเหตุระเบิดคาร์บอมส์ ที่โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อ.เมือง ปัตตานี ว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่าย “อาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติ” แถลงการณ์เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ระบุว่า การก่อเหตุระเบิดระลอกใหม่ในประเทศไทยโดยฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน มีเป้าหมายต่อพลเรือนอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการกระทำที่เข้าข่ายอาชญากรสงคราม
            Brad Adams ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ HRW บอกว่า เหตุระเบิดระลอกล่าสุด จากข้อมูลการสืบสวนของตำรวจพบหลักฐาน ที่มีน้ำหนักบ่งชี้ว่า เหตุระเบิดช่วงวันที่ ๑๑ และ ๑๒ สิงหาคม เป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน และเมื่อพิจารณาเหตุระเบิดทั้งสองช่วงเวลาในเดือนนี้ พบว่ามีการวางแผนโจมตีและประสงค์ต่อชีวิตพลเรือน ซึ่งเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
            (“The renewed bombings by Thailand’s separatists show incredible depravity towards civilians,” said Brad Adams, Asia director at Human Rights Watch. “Such attacks are war crimes, but the apparent planning behind them suggests crimes against humanity.”
            The recent bombings used methods of attack long employed by armed separatist groups in predominantly ethnic Malay Muslim areas of southern Thailand, Human Rights Watch said. A police investigation also found evidence strongly suggesting that separatist groups were responsible for a string of explosions and arson attacks in seven tourist towns on August 11 and 12, that killed 4 civilians and wounded 35 others. Taken together, these attacks indicate a deliberate plan to attack and kill civilians that amount to crimes against humanity, Human Rights Watch said.)
            แถลงการณ์ฉบับนี้ในตอนท้าย HRW แสดงความกังวลต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนใน จชต. โดยกล่าวหา หน่วยงานความมั่นคงว่า มีการกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งการสังหาร การซ้อมทรมานและการบังคับบุคคลสูญหาย
            (Human Rights Watch also remains deeply concerned by violations of international human rights law and the laws of war by Thai government security forces and militias. Killings, enforced disappearances, and torture cannot be justified as reprisals for insurgent attacks on the Thai Buddhist population and security personnel.)
ที่มาข้อมูล; https://www.hrw.org/news/2016/08/24/thailand-insurgents-target-civilians-south

เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น
 

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.