สรุปสถานการณ์ 3 จชต. ๙ - ๑๕ ก.ค. ๕๙

 21 ก.ค. 2559 10:24 น. | อ่าน 2716
Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Google+
PDF DOWNLOAD

๑. บทสรุปผู้บริหาร
      ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ในขณะที่ข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้อง จชต. มีแนวโน้มความถี่ลดลง เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๕๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒ – ๘ ก.ค.๕๙)  
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ยิงอดีตทหารพรานสาหัส)
      ประเด็นที่ส่งผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (ขยายเวลาลดภาษีธุรกิจลงทุนจังหวัดชายแดนใต้), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ปั่นเฉลิมพระเกียรติ), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (พม.รุดช่วยชายชราชาวยะลาอยู่บ้านเพียงลำพัง), ประเด็นกีฬา (ยะลาถล่มหาดใหญ่ บอลดิวิชั่น ๒ โซนใต้), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (เปิดใช้รถไฟนราฯ วันแรกหลังโจรลอบบึ้ม  และ จนท.ลาดตระเวนสกัดบึ้มใต้ตรึงป่าชายเลน ปูพรมปิดล้อมภูเขากดดันหลังระเบิดถี่ช่วงรอมฎอน), และ ประเด็นการศึกษา (บิ๊กจิน ควง บิ๊กน้อยลงใต้สานฝันยกระดับการศึกษา)
      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ประเด็นที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น  ทำให้แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๐  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒ – ๘ ก.ค.๕๙) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วในระดับหนึ่ง
      ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ได้แก่  ภัยคุกคามจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า”รัฐอิสลาม” หรือ IS มีการเผยแพร่อุดมการณ์ ผ่าน สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้ภาษามาลายูเป็นภาษาสื่อสาร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญการก่อการร้ายในภูมิภาคเชื่อว่า IS มีเป้าประสงค์ต้องการขยายอิทธิพลในประเทศที่ใช้ภาษามลายู รวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยด้วย
      ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับจชต.ก็มี ประเด็นเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนที่เกิดขึ้นถี่ในประเทศมาเลเซีย ทำให้นักวิชาการและนักการเมืองมาเลเซียตั้งคำถามกับรัฐบาลและตำรวจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฏหมาย โดยเฉพาะการเข้มงวดตามแนวชายแดนที่ติดกับไทย ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นต้นทางของอาวุธปืนเถื่อนที่ถูกลักลอบเข้าไปขายในมาเลเซีย
      ขณะเดียวกันสื่อมวลชนมาเลเซียหลายสำนักรายงาน ว่า พาสปอร์ตมาเลเซียกำลังเป็นที่ต้องการของคนหลายประเทศโดยเฉพาะเอเชียใต้ และจีน ที่ต้องการนำไปปลอมแปลง และเฉพาะปีที่แล้วมีชาวต่างชาติที่ถือพาสปอร์ตมาเลเซียที่ถูกนำไปปลอมแปลง ถูกจับได้ในประเทศไทยถึง ๖๐ คน

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙
      ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

      ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.9701ln(x) + 11.526) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ในขณะที่ข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้อง จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -2.535ln(x) + 7.5619) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๕๕ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒ – ๘ ก.ค.๕๙)  

      ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
      เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วัน/เดือน/ปี

จำนวนข่าวเชิงบวก (1)

จำนวนข่าวเชิงลบ (2)

ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)

2016-07-02

11

9

1.22

2016-07-03

14

7

2.00

2016-07-04

6

0

6.00

2016-07-05

15

8

1.88

2016-07-06

17

5

3.40

2016-07-07

19

0

19.00

2016-07-08

21

0

21.00

สัดส่วนเฉลี่ย

7.79

2016-07-09

17

1

17.00

2016-07-10

6

0

6.00

2016-07-11

23

2

11.50

2016-07-12

24

2

12.00

2016-07-13

19

3

6.33

2016-07-14

10

4

2.50

2016-07-15

9

1

9.00

สัดส่วนเฉลี่ย

9.19

หมายเหตุ: ยิ่งค่าสัดส่วนระหว่างจำนวนข่าวเชิงบวก กับจำนวนข่าวเชิงลบ (3) มีค่าสูง ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) มีระดับสูงตามไปด้วย ในทำนองตรงกันข้าม หากค่าสัดส่วนฯ มีค่าต่ำ ก็จะมีผลทำให้ระดับผลกระทบเชิงบวก (Positive Awareness Level) จะมีระดับต่ำตามลงไปด้วย

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙
      ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

            ในช่วง ๓ สัปดาห์ที่ผ่านมา (๒๕ มิ.ย. – ๑๕ ก.ค.๕๙) ไม่ปรากฏภาพข่าวทั้งเชิงบวก และ เชิงลบในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข 
      ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

      ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -2.661ln(x) + 6.5745) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๙๖ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒ – ๘ ก.ค.๕๙) ภาพข่าวในประเด็นนี้ ได้แก่ ยิงอดีตทหารพรานสาหัส  ป็นต้น

      ๓.๓ ประเด็นการเมือง

      ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 0.4353ln(x) + 0.2167) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ  ๘๐ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ก็มีแนวโน้มคงที่ (y = 0.0116ln(x) + 0.122) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว  (๒ – ๘ ก.ค.๕๙) ภาพข่าวเชิงบวกได้แก่ ซูเปอร์โพลชี้ ปชช. ๑๕ จว.ยังเชื่อมั่นรัฐบาล-คสช. เป็นต้น ในส่วนของภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดาในสายตาของมาราปาตานี เป็นต้น

      ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

      ในช่วงวันที่ ๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีแนวโน้มความถี่ลดลง (y = -0.471ln(x) + 2.0615) เฉลี่ยลดลงร้อยละ ๓๐ ในขณะที่ข่าวเชิงลบก็มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน (y = -0.142ln(x) + 0.3269) โดยไม่มีภาพข่าวเชิงลบปรากฏในสัปดาห์นี้ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ เปิดใช้รถไฟนราฯ วันแรกหลังโจรลอบบึ้ม  และ จนท.ลาดตระเวนสกัดบึ้มใต้ตรึงป่าชายเลน ปูพรมปิดล้อมภูเขากดดันหลังระเบิดถี่ช่วงรอมฎอน เป็นต้น

      ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

      ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ข่าวเชิงบวกในประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ มีแนวโน้มความถี่เพิ่มขึ้น (y = 1.093ln(x) + 1.8904) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๕ ในขณะข่าวเชิงลบมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ (y = -0.045ln(x) + 0.2947) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (๒ – ๘ ก.ค.๕๙) สำหรับภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ขยายเวลาลดภาษีธุรกิจลงทุนจังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ อียูบี้หนักกดดันไล่เช็กบิลประมงผิด กม. เป็นต้น

      ๓.๖ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
            ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบในประเด็นนี้
      ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบในประเด็นนี้
      ๓.๘ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.
            ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๙ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย
            ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นนี้
      ๓.๑๐ สรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. จากเว็บไซด์สำคัญ ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕  ก.ค.๕๙
            ๓.๑๐.๑
 ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ Aljazeera  (www.aljazeera.com)
            ๓.๑๐.๒  ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จชต. ในเว็บไซด์ OIC (www.oic-oci.org) อย่างไรก็ตามมีข่าวเลขาธิการทั่วไป OIC ประฌามการก่อการร้ายในเมือง นีซ ประเทศฝรั่งเศส ที่ทำมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
ที่มา: http://www.oic-oci.org/oicv3/topic/?t_id=11366&t_ref=4464&lan=en​
            ๓.๑๐.๓ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ United Nations (http://www.un.org/news)
            ๓.๑๐.๔ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ คณะกรรมการกาชาดฯ ICRC (http://www.icrc.or.th/)
            ๓.๑๐.๕ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญเกี่ยวข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Human Right Watch (https://www.hrw.org/asia/thailand)
            ๓.๑๐.๖ ในสัปดาห์นี้ ไม่มีข่าวสำคัญเกี่ยวกับข้องกับ จชต. ปรากฏในเว็บไซด์ Time (http://www.time.com)

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
      ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้สูง

 

      เมื่อนำข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ที่ปรากฏในพื้นที่ข่าวมาวิเคราะห์ค่าผลกระทบต่อการรับรู้ สามารถสรุปประเด็นข่าวที่มีระดับผลกระทบสูง ดังนี้

ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ เป็นข่าวใน ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (ยิงอดีตทหารพรานสาหัส) สำหรับ ประเด็นที่ส่งผลกระทบในเชิงบวก เป็นข่าวในประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (ขยายเวลาลดภาษีธุรกิจลงทุนจังหวัดชายแดนใต้), ประเด็นความร่วมมือของภาคประชาชน (ปั่นเฉลิมพระเกียรติ), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (พม.รุดช่วยชายชราชาวยะลาอยู่บ้านเพียงลำพัง), ประเด็นกีฬา (ยะลาถล่มหาดใหญ่ บอลดิวิชั่น ๒ โซนใต้), ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (เปิดใช้รถไฟนราฯ วันแรกหลังโจรลอบบึ้ม  และ จนท.ลาดตระเวนสกัดบึ้มใต้ตรึงป่าชายเลน ปูพรมปิดล้อมภูเขากดดันหลังระเบิดถี่ช่วงรอมฎอน), และ ประเด็นการศึกษา (บิ๊กจิน ควง บิ๊กน้อยลงใต้สานฝันยกระดับการศึกษา)

      ๔.๒ แนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

      จากจำนวนข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ ซึ่งก่อให้เกิดค่าสัดส่วนฯ และค่าระดับผลกระทบการรับรู้ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในระดับสูง นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวโน้มระดับผลกระทบการรับรู้เชิงบวก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้รับข่าวสารให้เป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว  โดยในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙  พบว่าแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level) ในสัปดาห์นี้ในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (y = 0.6611ln(x) + 0.9483) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๐  เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว (๒ – ๘ ก.ค.๕๙ ) จากแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ภาพลักษณ์เชิงบวกของสถานการณ์ ๓ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วในระดับหนึ่ง

. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วงวันที่ ๙ – ๑๕ ก.ค.๕๙
      เฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้และความมั่นคง มีประเด็นหลัก คือ ภัยคุกคามจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า”รัฐอิสลาม” หรือ
IS มีการเผยแพร่อุดมการณ์ ผ่าน สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้ภาษามาลายูเป็นภาษาสื่อสาร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญการก่อการร้ายในภูมิภาคเชื่อว่า IS มีเป้าประสงค์ต้องการขยายอิทธิพลในประเทศที่ใช้ภาษามลายู รวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยด้วย
      ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับจชต.ก็มี ประเด็นเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนที่เกิดขึ้นถี่ในประเทศมาเลเซีย ทำให้นักวิชาการและนักการเมืองมาเลเซียตั้งคำถามกับรัฐบาลและตำรวจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฏหมาย โดยเฉพาะการเข้มงวดตามแนวชายแดนที่ติดกับไทย ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นต้นทางของอาวุธปืนเถื่อนที่ถูกลักลอบเข้าไปขายในมาเลเซีย
      ขณะเดียวกันสื่อมวลชนมาเลเซียหลายสำนักรายงาน ว่า พาสปอร์ตมาเลเซียกำลังเป็นที่ต้องการของคนหลายประเทศโดยเฉพาะเอเชียใต้ และจีน ที่ต้องการนำไปปลอมแปลง และเฉพาะปีที่แล้วมีชาวต่างชาติที่ถือพาสปอร์ตมาเลเซียที่ถูกนำไปปลอมแปลง ถูกจับได้ในประเทศไทยถึง ๖๐ คน
      ๕.๑ สื่อภาษาอังกฤษในมาเลเซียหลายแห่ง อ้างรายงานจากสื่อหนังสือพิมพ์ภาษามาลายูชื่อ Berita Harian ฉบับวันจันทร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ระบุว่า กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “รัฐอิสลาม” หรือ IS ได้ตีพิมพ์สื่อภาษามลายู เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อว่า Al-Fatihin เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน
      รายงานข่าวระบุว่า สิ่งพิมพ์จำนวน ๒๐ หน้าได้ถูกเผยเผยแพร่ในภาคใต้ของฟิลิปินส์ และขณะเดียวกันก็มีการนำไปเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์อีกด้วย โดยมีเป้าหมายเผยแพร่อุดมการณ์กับกลุ่มประชาชนที่สื่อสารด้วยภาษามาลายู ซึ่งรวมถึงชาวบรูไน สิงคโปร์ และภาคใต้ของประเทศไทย ด้วย Bilveer Singha ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายในภูมิภาค แห่ง
 Centre of Excellence for National Security at RSIS ที่สิงคโปร์ เตือนว่า มีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่ม IS จะขยายการปฏิบัติการเข้ามาในอาเซียน หลังจากสูญเสียฐานพื้นที่ยึดครองหลายแห่งในอิรัก และซีเรีย
ที่มาข้อมูล
; http://www.thestar.com.my/news/in-other-media/2016/07/11/kelantan-dress-code-fast-food/
                   http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/al-fatihin-a-newspaper-for-malay-speaking-is-militants
      ๕.๑.๑ หนังสือพิมพ์ The Star รายงานเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม อ้างความเห็นจาก Ahmad El-Muhammady นักวิชาการด้านการก่อการร้ายแห่ง International Islamic Univeristy Malaysia ระบุว่า มาเลเซียอย่ามองข้ามความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่ง Ahmad บอกว่า มีประชาชนจำนวนไม่น้อยสนับสนุนอุดมการณ์ของ IS
      Ahmad บอกว่า จากการพูดคุยกับประชาชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้และการสังเกตการณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ เขาพบว่า สมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดน จชต.ไม่ได้สนับสนุนการก่อการการร้ายตามแบบของ IS แต่พวกเขายอมรับอุดมการร์ของ IS
      Ahmad บอกว่า อุดมการณ์ของ IS สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน คือ BRN, PULO และ Bersatu ที่ต่อสู้เพื่อเอกราชจากรัฐไทย แต่เขาก็ยังเชื่อว่า กลุ่มเหล่านิ้ไม่เป็นภัยต่อมาเลเซีย เนื่องจากพวกเขายังต้องพึ่งพามาเลเซียเป็นที่หลบซ่อน และเส้นทางผ่าน
      อย่างไรก็ตาม Ahmad บอกว่า เขาไม่พบว่าสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนใน จชต.เดินทางไปร่วมรบกับ IS ในประเทศอิรัก และซีเรีย เนื่องจากพวกเขาเชื่อมั่นในเนวทางการต่อสู้ของพวกเขาเอง
ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/07/15/dont-overlook-situation-in-southern-thailand/
      ๕.๑.๒ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว Mohamed Nazri Abdul Aziz บอกว่า เขาไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่เห็นว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการวีซ่ากับผู้ถือพาสปอร์ตจากประเทศในตะวันออกกลาง เพื่อใช้เป็นหนึ่งมาตรการป้องกันภัยจากกลุ่ม IS  โดย Mohammed ให้ความเห็นว่า วีซ่าไม่สามารถป้องกันภัยการก่อการร้ายได้ เช่นเดียวกัน สมาชิกกลุ่ม IS ไม่ได้ถือหนังสือเดินทางที่ออกโดยประเทศในตะวันออกกลางเท่านั้น ดังนั้นมาตรการรับมือการก่อการร้ายที่ดีที่สุด คือ การใช้มาตรการป้องกันภัยก่อการร้าย และการบังคับใช้กฏหมายที่เข้มงวด
      รัฐมนตรีวัฒนธรรมและท่องเที่ยวมาเลเซีย บอกว่า  IS ไม่ได้พุ่งเป้าก่อการร้ายในประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่มีเป้าหมายโจมตีมนประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน คือ อินโดนีเซียและไทย ด้วย
ที่มาข้อมูล ; http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/07/14/no-visa-for-middle-easterners-nazri-poor-enforcement-more-to-blame-for-is-threat-than-entry-requirem/
      ๕.๒ สื่อมาเลเซียหลายสำนัก ตีพิมพ์รายงานข่าวสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับ คดีอาชญากรรมจากอาวุธปืนที่เกิดขึ้นถี่ ซึ่ง นักการเมืองและนักวิชาการมาเลเซียเชื่อว่า อาวุธปืนที่ใช้ก่อเหตุถูกลักลอบนำเข้ามามาจากประเทศไทย
            ๕.๒.๑ The Star ตีพิมพ์บทความของ Akhbar Satar ผู้อำนวยการสถาบันอาชญากรรมและและอาชญวิทยา แห่ง Help University ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการเผยแพร่ที่ Malaysiakini เมื่อสัปดาห์ก่อน
      Akhbar บรรยายถึงคดีอาชญากรรมด้วยอาวุธปืนที่เพิ่มสูงในมาเลเซีย หลายคดีเป็นคดีอุกอาจ สะเทือนขวัญ พร้อมทั้งมีข้อสังเกตุว่า หลายคดีเป็นการสังหารที่ลงมือ โดยมือปืนรับจ้าง ซึ่งมีราคาค่างวดตั้งแต่ ๕ พันถึง ๑ แสนริงกิต ขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่า เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากแค่ไหน
      Akhbar บอกว่า รัฐบาลมาเลเซียได้ชี้นิ้วโทษว่า อาวุธปืนเหล่านี้ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศไทย และอ้างว่าการเพิ่มกำลังพลและการบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวดสามารถหยุดยั้งการลักลอบนำเข้าปืนเถื่อนตามแนวพรมแดน แต่แม้กระนั้นชาวมาเลเซียก็ยังไม่รู้สึกว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงตามแนวชายแดนได้ปฏิบัติหน้าที่เต็มที่แล้ว
      บทความชิ้นนี้ ระบุว่า การประกาศตั้งหน่วยปฏิบัติการปราบปรามตามแนวชายแดน (Anti Smuggling Unit) โดยการรวมสามหน่วยงานเข้าเป็นหนึ่งเดียวคือ ตำรวจ ตรวจคนเข้าเมือง และกรมศุลกากรและสรรพสามิต เป็นนโยบายที่ถูกต้อง แต่ยังไม่เพียงพอในการจัดการกับปัญหา ซึ่งบทความนี้เสนอว่า ควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความมั่นคงชายแดน ให้มีความรู้ในกระบวนการสอบสวน และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะต้องมีการจัดสรรงบประมาณและเทตโนโลยีให้เพียงพอรับมืออาชญากรรมและภัยความมั่นคงตามแนวชายแดน เช่น ต้องจัดหาอุปกรณ์ตรวจหาอาวุธปืนและวัตถุระเบิด และต้องเป็นอุปกรณ์ขนาดพกพาให้กับเจ้าหน้าที่ประจำด่านชายแดนที่ปาดังเบซาร์ บูกิตกายูฮิตัม และรันตูปันยัง รวมทั้งควรจัดหาอากาศยานบังคับทางไกล (Drone) ที่มีกล้องความคมชัดสูงสำหรับบินตรวจตราชายแดน และควรมีการก่อสร้างรั้วคอนกรึตและรั้วไฟฟ้าตามแนวพรมแดน อีกด้วย
ที่มาข้อมูล; บรรยายถึงคดีอาชญากรรมด้วยอาวุธปืนที่เพิ่มสูงในมาเลเซีย หลายคดีเป็นคดีอุกอาจ สะเทือนขวัญ พร้อมทั้งมีข้อสังเกตุว่า หลายคดีเป็นการสังหารที่ลงมือ โดยมือปืนรับจ้าง ซึ่งมีราคาค่างวดตั้งแต่ ๕ พันถึง ๑ แสนริงกิต ขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่า เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากแค่ไหน
      Akhbar บอกว่า รัฐบาลมาเลเซียได้ชี้นิ้วโทษว่า อาวุธปืนเหล่านี้ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศไทย และอ้างว่าการเพิ่มกำลังพลและการบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวดสามารถหยุดยั้งการลักลอบนำเข้าปืนเถื่อนตามแนวพรมแดน แต่แม้กระนั้นชาวมาเลเซียก็ยังไม่รู้สึกว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงตามแนวชายแดนได้ปฏิบัติหน้าที่เต็มที่แล้ว
      บทความชิ้นนี้ ระบุว่า การประกาศตั้งหน่วยปฏิบัติการปราบปรามตามแนวชายแดน (Anti Smuggling Unit) โดยการรวมสามหน่วยงานเข้าเป็นหนึ่งเดียวคือ ตำรวจ ตรวจคนเข้าเมือง และกรมศุลกากรและสรรพสามิต เป็นนโยบายที่ถูกต้อง แต่ยังไม่เพียงพอในการจัดการกับปัญหา ซึ่งบทความนี้เสนอว่า ควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความมั่นคงชายแดน ให้มีความรู้ในกระบวนการสอบสวน และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะต้องมีการจัดสรรงบประมาณและเทตโนโลยีให้เพียงพอรับมืออาชญากรรมและภัยความมั่นคงตามแนวชายแดน เช่น ต้องจัดหาอุปกรณ์ตรวจหาอาวุธปืนและวัตถุระเบิด และต้องเป็นอุปกรณ์ขนาดพกพาให้กับเจ้าหน้าที่ประจำด่านชายแดนที่ปาดังเบซาร์ บูกิตกายูฮิตัม และรันตูปันยัง รวมทั้งควรจัดหาอากาศยานบังคับทางไกล (Drone) ที่มีกล้องความคมชัดสูงสำหรับบินตรวจตราชายแดน และควรมีการก่อสร้างรั้วคอนกรึตและรั้วไฟฟ้าตามแนวพรมแดน อีกด้วย
ที่มาข้อมูล; http://www.thestar.com.my/opinion/letters/2016/07/13/block-up-smuggling-routes/
            ๕.๒.๒ Sim Tze Tzin สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จาก พรรค PKR ตั้งคำถามถึงคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญ ใช้อาวุธปืนยิงอย่างอุกอาจในเขตเมืองในมาเลเซีย รวมทั้งคดีสังหารหมู่สี่ศพทั้งครอบครัวรวมทั้งเด็กชายวัยสองขวบที่ปีนัง เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตุว่าในรอบ ๓๐ วัน มีคดีใช้อาวุธปืนลอบสังหารถึง ๘ คดีในมาเลเซีย เขาจึงคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับมาเลเซีย ที่กลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนเช่นเดียวกับประเทศไทยและฟิลิปินส์
      สส.จากพรรค PKR ตำหนิรัฐบาลว่าล้มเหลวในการควบคุมป้องกันการลักลอบนำอาวุธปืนและยาเสพติดเข้ามาทางชายแดน พร้อมทั้งระบุว่า รัฐสภาอนุมัติงบประมาณให้กับตำรวจมากเพียงพอ จึงไม่มีเหตุผลใดใดที่จะมากลบความล้มเหลวในการป้องกันอาชญากรรมจากอาวุธปืน
ที่มาข้อมูล ; https://www.malaysiakini.com/news/348389
            ๕.๒.๓ The Star รายงานเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม อ้างคำพูดจากเจ้าหน้าที่ชายแดนคนหนึ่ง บอกว่า อาวุธปืนที่ลักลอบนำเข้าจากประเทศไทย มักจะถอดแยกส่วนและนำเข้าเป็นชิ้น ไม่ได้นำเข้าเป็นอาวุธปืนทั้งกระบอก ทำให้ติดตามจับปุมได้ยาก นอกจากนี้ผู้ที่ลักลอบนำเข้าชื้นส่วนอาวุธปืนก็มีทุกรูปแบบ ทั้งบชาวบ้านทั่วไป หรือแม้กระทั่งคนขับรถโดยสาร
      สำหรับราคาปืนเถื่อน Baretta กระบอกละ ๗ พันริงกิต และราคาปืนรีวอลเวอร์ กระบอกละ ๒ ถึง ๓ พันริงกิต ส่วนแหล่งซื้อขายปืนเถื่อน สามารถซื้อหาได้ที่ด่านนอก และหาดใหญ่
ที่มาข้อมูล ;http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/07/14/guns-come-in-parts-from-thailand/
      ๕.๓ สื่อมาเลเซียหลายสำนัก อ้างคำให้สัมภาษณ์ของพลตรวจโทณัฐธร เพราะสุนทร ผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ที่ระบุว่า ขบวนการปลอมแปลงพาสปอร์ตสนใจพาสปอร์ตมาเลเซียมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมาเลเซียได้สิทธิไม่ต้องขอวีซ่าเข้าปลายประเทศ จึงเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติที่ต้องการปลอมแปลงพาสปอร์ต โดยเฉพาะคนจากประเทศในเอเชียใต้และจีน
      ทั้งนี้เฉพาะเดือนพฤษภาคม ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองไทยจับกุมชาวต่างชาติได้ ๒ คน พร้อมพาสปอร์ตมาเลเซียที่ถูกนำไปปลอมแปลง โดยคนหนึ่งเป็นหญิงชาวศรีลังกาถูกจับกุมที่สนามบินเชียงใหม่ และอีกคนเป็นชายชาวจีนถูกจับกุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
แหล่งข่าวระบุว่า ในปี ๒๕๕๘ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองไทย จับกุมชาวต่างชาติพร้อมพาสปอร์ตมาเลเซียปลอมแปลงได้จำนวน ๖๐ ราย
รายงานข่าวระบุว่า ราคาพาสปอร์ตมาเลเซียที่แก๊งค์มิจฉาชีพซื้อขายกันบางเล่มมีราคาสูงถึง ๒ หมื่นริงกิต
ที่มาข้อมูล ; https://www.malaysiakini.com/news/348325
                  http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1262456​
                  http://www.themalaymailonline.com/malaysia/article/thai-immigration-bureau-fake-malaysian-passports-in-high-demand​

เกณฑ์ในการอ่านค่าสัมประสิทธิ์กร๊าฟเส้น

ช่วงของค่าสัมประสิทธิ์

ความหมายของค่าสัมประสิทธิ์

มากกว่า 2.00

เพิ่มมาก

1.10 – 2.00

เพิ่มค่อนข้างมาก

0.60 – 1.00

เพิ่มในระดับหนึ่ง

0.10 – 0.50

เพิ่มเล็กน้อย

0.02 – 0.09

เพิ่มเพียงเล็กน้อย

0.00 – 0.01

ค่อนข้างคงที่

(-0.01) – 0.00

ค่อนข้างคงที่

(-0.09) – (-0.02)

ลดเพียงเล็กน้อย

(-0.50) – (-0.10)

ลดเล็กน้อย

(-1.00) – (-0.60)

ลดในระดับหนึ่ง

(-2.00) – (-1.10)

ลดค่อนข้างมาก

น้อยกว่า (– 2.00)

ลดมาก

 

Comment
SOUTHDEEPOUTLOOK.com - Thailand South Deep News

An Internal Error Has Occurred.

Error: An Internal Error Has Occurred.